ครม.ไฟเขียว “สินเชื่ออิ่มใจ” ผ่านธ.ออมสิน เพิ่มสภาพคล่องร้านอาหาร

รมว.คลัง เผยครม. เห็นชอบมาตรการสินเชื่ออิ่มใจ วงเงิน 2 พันล้านบาท ให้ธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อ ช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นร้านจำหน่ายแบบถาวร เช่น ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า ร้านที่เปิดในห้องแถวหรืออาคารพาณิชย์ ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้มีสภาพคล่องที่เพียงพอทำธุรกิจ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ที่กลับมามีความรุนแรงและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะวิกฤติด้านสาธารณสุข นำไปสู่การออกประกาศกำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมไปถึงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการสั่งปิดสถานที่และระงับการให้บริการของสถานบริการต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ มีรายได้ลดลงและขาดสภาพคล่อง

วันนี้(6 กรกฎาคม 2564) คณะรัฐมนตรี(ครม.) จึงได้มีมติเห็นชอบมาตรการสินเชื่ออิ่มใจ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่มให้มีสภาพคล่องที่เพียงพอสำหรับการดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

มาตรการสินเชื่ออิ่มใจ วงเงิน 2,000 ล้านบาท โดยธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นร้านจำหน่ายแบบถาวร เช่น ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารที่เปิดในห้องแถวหรืออาคารพาณิชย์ ภัตตาคาร ร้านที่มีลักษณะเป็นบูธ เป็นต้น ด้วยหลักเกณฑ์ที่ผ่อนปรนกว่าสินเชื่อปกติวงเงินสินเชื่อต่อรายสูงสุด 100,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 3.99 ต่อปี (Effective Rate) ระยะเวลากู้ไม่เกิน 5 ปี ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564

สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นร้านแบบเคลื่อนที่ได้ เช่น หาบเร่ แผงลอย รถเข็น เป็นต้น สามารถเข้าร่วมมาตรการสินเชื่อผ่อนปรนของรัฐบาลที่มีอยู่ ได้แก่ มาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 โดยธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อวงเงิน 10,000 บาทต่อราย ดอกเบี้ยร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ระยะเวลากู้ 3 ปี ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนแรก รับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 หรือโครงการอื่น ๆ ที่ธนาคารออมสินดำเนินการเอง เช่น สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน สินเชื่อ Street Food เป็นต้น

กระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญกับการดูแลประชาชนและผู้ประกอบการให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั่วถึง และเพียงพอ โดยได้มีการติดตามผลการดำเนินมาตรการอยู่เป็นระยะ รวมถึงพิจารณาข้อจำกัด ปัญหาอุปสรรคของการดำเนินมาตรการ และผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอด เพื่อปรับปรุงและออกมาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อดูแลประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงทีต่อไป

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทรัมป์ลั่นจะเก็บภาษีปท.ที่เข้าข้าง”บริกส์”เพิ่มอีก 10%
"กปน." ยันอุบัติเหตุงานก่อสร้างถังเก็บน้ำใส สถานีสูบจ่ายน้ำมีนบุรี ไม่กระทบโครงสร้างอาคาร เร่งดูแล ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
"หมอวรงค์" ถาม "อ.พนัส" ไม่รู้จริงหรือ "นายกฯอิ๊งค์" คุย "ฮุน เซน" นินทา มท.ภ.2 ผิดจริยธรรมข้อไหน
"ดร.สามารถ" ทวงแรง "โครงการแลนด์บริดจ์" คืบหน้าถึงไหนแล้ว รัฐบาลประกาศจะเปิดประมูลปลายปี 68
วันนี้ "หมอตุลย์" นัดยื่นหนังสือ "ผบ.ตร." ค้านเลื่อนขั้น 2 แพทย์ใหญ่ โดนแพทยสภาชี้ผิดจริยธรรม เอื้อ"ทักษิณ" นอนชั้น 14
"เครือข่ายกัญชา" บุก สธ.วันนี้ เตรียมปักหลักค้าง เปิดเวทีอภิปราย "สมศักดิ์" ปมสมุนไพรควบคุม
ประชุมนัดแรกวันนี้ "บช.ก." เดินหน้าสอบคำร้อง "สมชาย" พร้อมคณะ เอาผิด "นายกฯอิ๊งค์" ปมคลิปเจรจา "ฮุน เซน"กระทบความมั่นคงรัฐ
"กรมอุตุฯ" เตือน ฝนตกหนัก เช็ก 39 จว.อ่วม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก กทม.ก็โดนด้วย
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) “นาจา 2” สร้างสถิติหนังจีนทำรายได้ในต่างประเทศสูงสุดรอบ 20 ปี
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ชมปรากฏการณ์ 'แม่น้ำสองสี' หลังฝนตกหนักในฉงชิ่ง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น