No data was found

ต่ออายุ “พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” อีกจริงหรือ หลังสิ้นสุด 31 พ.ค. นี้

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

กดติดตาม TOP NEWS

ต่ออายุ "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน" หลังใกล้จะสิ้นสุดในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 นี้ อีกจริงหรือไม่ งานนี้ วิษณุ เครืองาม แย้มแล้ว พร้อมตอบสื่อถึงการรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่น

“พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” ขยาย พร ก ฉุกเฉิน ต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่ประชาชนให้การจับตามองอยู่ไม่ใช่น้อย สำหรับการบังคับใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ซึ่งใกล้จะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 นี้แล้ว ทำให้หลายคนต่างพากันรอคำตอบว่าจะมีกาาต่อเวลาอีกหรือไม่ ซึ่งล่าสุดทางด้าน วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้แย้มแล้วว่า รอสมช. พิจารณา ติดตามเรื่องราวนี้ที่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“พ.ร.ก.ฉุกเฉิน” โดยเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 มีรายงานว่า ที่ห้างสรรพสินค้าสยาม พารากอน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมขยายระยะเวลาการบังคับใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 อีก หลังจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร คราวที่ 17 จะสิ้นสุดในวันที่ 31 พฤษภาคม นี้ ว่า สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จะมีการพิจารณา ซึ่งเท่าที่ตนทราบเบื้องต้น เขายังไม่ได้เริ่มพูดคุยกันถึงเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ในช่วงการเตรียมลดระดับให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น ก็คงจะทำให้ความจำเป็นต้องลดลงด้วย โดยอาจต่อเวลาการบังคับใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ไปอีกสักระยะหนึ่งซึ่งคงเป็นเวลาสั้น ๆ แล้วค่อยหายไปในที่สุดก็ได้

 

 

เมื่อถามว่าแสดงว่าน่าจะต่อเวลาการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ ไปอีกประมาณ 1 เดือน ใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า อะไรทำนองนั้น แต่ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ สมช. เมื่อถามอีกว่าในการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.ชุดใหญ่) ในวันที่ 20 พฤษภาคม นี้ จะมีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวด้วยหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่แน่ใจ

 

 

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

 

 

 

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ยังไม่มีการประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โรคติดต่อ พ.ศ.2558 แม้คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 นายวิษณุ กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะประกาศใช้เป็น พ.ร.ก. หรือนำไปจัดเป็นร่าง พ.ร.บ.โรคติดต่อฯ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม เพราะจากสถานการณ์ขณะนี้ทำให้เห็นว่ามีความจำเป็นน้อยลงจากที่คิดไว้ตอนแรก ๆ และอาจต้องนำพ.ร.ก.ดังกล่าวมาปรับแก้ไขบางส่วนอีกครั้ง เนื่องจาก ตอนที่จัดทำร่าง พ.ร.ก. นั้นยังไม่เกิดการระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน และคำว่า โรคประจำถิ่น ยังไม่มีอยู่ในกฎหมายฉบับใดเลย แต่ตอนนี้เรากำลังจะประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น จึงทำให้ยังไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร และสามารถใช้มาตรการใดได้บ้าง จึงอาจทำให้ต้องบรรจุมาตรการบางอย่างลงไปใน พ.ร.ก. ดังกล่าวก่อนจะนำไปประกาศใช้

 

 

 

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

 

 

 

เมื่อถามว่าเมื่อไหร่จึงจะมีความชัดเจนว่าต้องแก้ไข พ.ร.ก.โรคติดต่อฯ หรือไม่ อย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า ต้องรอฟังจากฝ่ายแพทย์และกระทรวงสาธารณสุขก่อน เมื่อถามอีกว่าถ้า พ.ร.ก. นี้ได้รับการแก้ไขอีกครั้งแล้ว จะต้องเสนอขอความเห็นชอบจากที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่อีกหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ต้องส่งที่ประชุมศบค. สามารถเสนอต่อที่ประชุมครม.ได้เลย นายวิษณุ กล่าวอีกว่า พ.ร.ก.โรคติดต่อฯ ที่ได้ผ่านครม.ไปแล้วนั้น มีมาตรการระดับสูง เพราะตอนนั้นคาดหวังว่าจะนำมาใช้แทน พ.ร.ก. ฉุกเฉินฯ แต่ขณะนี้สถานการณ์โรคโควิด-19 ทั่วโลกได้ลดระดับลง เพราะฉะนั้น พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ที่เรามีอยู่แล้ว อาจใช้ต่อไปได้ หรือนำมาปรับแก้ด้วยการจัดทำเป็นร่าง พ.ร.บ.ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งสิ่งเหล่านี้เรากำลังคิดกันอยู่

 

 

 

พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ญี่ปุ่นกั้นฉากบังวิวถ่ายรูป "ภูเขาไฟฟูจิ" แก้ปัญหานทท.พฤติกรรมแย่
"นายกฯ" สั่งหน่วยงานราชการ-รัฐวิสาหกิจ ลดธงครึ่งเสา ไว้อาลัย "ประธานาธิบดีอิหร่าน"
“บิ๊กต่าย” ตั้ง “ประจวบ” รักษาการรองผบ.ตร. จับตาโยกย้ายใหญ่ต.ค.นี้
ตร.บุกรวบ กรรมการบริษัททัวร์ "ก้าวเจริญ 30 ทัวร์" ขายทัวร์ทิพย์ พบเหยื่อหลงเชื่อเพียบ
ไอเดียบรรเจิด สภ.นิคมพัฒนา ระยอง โชว์ห้องขังสีเขียว ว่างหลุดจอง แต่ไม่อยากให้เข้ามาอยู่
"ปคบ." ลุยเอาผิด "ลอตเตอรี่พลัส" ชี้หนีเปิดแอปเลี่ยงไม่พ้นคดี จ่อสอบฟอกเงินด้วย
อังกฤษฉาว ทำผู้ป่วยเสียชีวิตหลายพันคน ด้วยเลือดติดเชื้อ
มือปล่อยคลิปลับ "พิมพ์ กรกนก" เข้ามอบตัว อ้างเจอในโทรศัพท์แฟนเก่า เลยส่งต่อให้เพื่อน
"รมว.ดีอี" ย้ำเดินหน้าบังคับใช้กม. "ลอตเตอรี่ พลัส" ลั่นหนีเปิดแอปฯก็ต้องสั่งปิด
"เพื่อไทย" แถลงการณ์แสดงจุดยืน 10 ปี รัฐประหาร ยันเดินหน้าเร่งแก้รธน.ฉบับประชาชน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น