No data was found

สธ.ชี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังพุ่งสูง-ย้ำไม่ต้องตรวจ RT-PCRซ้ำ

กดติดตาม TOP NEWS

กรมควบคุมโรค​เผยยังจำเป็นต้องคงมาตรการควบคุมโควิด-19 ระดับ 4​ ไว้​ก่อนเนื่องจากตัวเลขผู้ติดเชื้อยังพุ่งสูงแม้อาการไม่รุนแรง​ เฝ้าระวัง กลุ่มผู้ป่วยติดเชื้ออาการหนัก มีภาวะปอดอักเสบใส่ท่อช่วยหายใจ หลัง พบเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในช่วง 2 สัปดาห์ ยังไม่จำเป็นต้องเปิดระบบศูนย์พักคอยหรือ​ CI​ เพิ่ม​ เน้นย้ำประชาชน หากผลATKเป็นบวกไม่จำเป็นต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ

นายแพทย์​จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระบุ สถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกเป็นการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งเป็นการแพร่ระบาดที่เร็ว แต่ความรุนแรงของโรคยังน้อยอยู่ เช่นเดียวกับไทยที่เป็นช่วงขาขึ้นของการระบาดสายพันธุ์โอมิครอน สอดคล้องกับการแพร่ระบาดในหลายประเทศ เช่นกันที่ต้องเฝ้าระวังผู้ป่วยมีอาการหนักที่อาจจะนำไปสู่การเสียชีวิตให้มากขึ้น เช่น ในกลุ่มผู้ป่วยภาวะปอดอักเสบ ที่ตอนนี้มีอยู่ 905 ราย/วันนี้เพิ่มขึ้น 23 ราย /และที่ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 240 ราย วันนี้เพิ่ม​ 11 ราย ที่ในช่วง 2 สัปดาห์ เพิ่มขึ้น 2 เท่า ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตก็เพิ่มขึ้น​

แม้​ผู้ติดเชื้อในประเทศส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือ อาการน้อยจำนวนมากก็ตาม / โดยอัตราผู้ติดเชื้อโควิด-19 เฉลี่ย 14 วันที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 70 โดยมีผู้ป่วยโควิด-19 ที่ทำการรักษาอยู่ 180,993 ราย //แบ่งเป็นใน Home Isolation(Hl)​ /Community Isolation(CI)​และโรงพยาบาลสนาม 107,223 ราย และรักษาในโรงพยาบาลในส่วนที่มีอาการน้อย 72,865 ราย และ เมื่อเทียบกับช่วงการระบาด เดลต้า การเสียชีวิตถือว่าน้อย ห่างกัน10 เท่า

ข่าวที่น่าสนใจ

แต่หากในส่วนอัตราการติดเชื้อทั่วไปใกล้เคียงกับช่วงเดลต้าส่วนการตรวจเชื้อโควิด​ นายแพทย์​จักรรัฐ​ ยังยืนยันว่า​หากตรวจด้วยชุดตรวจ ATK และพบผลบวก การที่จะตรวจ RT-PCR แล้วผลบวกมีความเป็นไปได้สูง จึงไม่จำเป็นที่จะต้องตรวจซ้ำ//ส่วนกรณีที่ต้องตรวจซ้ำ จะเป็นในกลุ่มที่มีอาการหนักและจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งจะเป็นเฉพาะบางกรณี บางรายเท่านั้น

ด้าน​ นายแพทย์​โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุถึง การติดเชื้อขณะนี้เกิดขึ้นในกลุ่มวัยทำงาน กลุ่มที่ไปสถานที่เสี่ยง และนำมาแพร่เชื้อในชุมชนในครอบครัว ขณะที่ในวัยเด็กอัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตอนระบาดสายพันธุ์เดลต้า โดยในช่วงนี้ กลุ่มผู้สูงอายุมีอัตราการติดเชื้อที่ต่ำกว่าในกลุ่มวัยอื่นๆ แต่ถือว่ามีความเสี่ยงสูงอาการหนัก และเสียชีวิตได้ หากรับเชื้อโควิด-19 แต่แนวโน้มผู้สูงอายุเมื่อป่วยรุนแรงจากโควิด-19 มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ถึง​ 666 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี คิดเป็นร้อยละ 82 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งในจำนวนนี้พบว่าร้อยละ 58 ไม่มีประวัติการฉีดวัคซีนร้อยละ 30 มีประวัติกับวัคซีนครบ 2 เข็มร้อยละ 10 มีประวัติกับวัคซีน 1 เข็มและร้อยละ 2 มีประวัติรับวัคซีน 3 เข็มขึ้นไป จึงทำให้ต้องเร่งรัดการฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนและฉีดเข็มกระตุ้นขณะที่ข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด-19 จนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีผู้รับวัคซีนเข็มที่ 1 ไปแล้วร้อยละ 76.6 / เข็มที่ 2 ร้อยละ 71.3 / และเข็มที่ 3 ขึ้นไปร้อยละ 28.2

ขณะที่นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ได้เปิดเผยถึง สถานการณ์เตียงทั่วประเทศ ตอนนี้ ครองเตียงไปแล้วร้อยละ52 จากเตียงทั้งหมด1แสน8หมื่นเตียง / โดยเหลือเตียงรองรับร้อยละ40 /ซึ่งเตียงที่นอนในโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยสีเขียว/ ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ยังคงมีเตียงรองรับ​ /สำหรับ สถานการณ์ เตียงเพิ่มเติม เช่น ที่ โรงพยาบาลสนาม ของโรงพยาบาลเลิดสิน มี 200 เตียงตามเดิมรองรับกลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดง แต่ตอนนี้ยังคงมีเตียงว่างอยู่จึงนำมาให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวบางส่วน ยืนยันไม่ต้องใช้ผล RT-PCR ก็สามารถเข้าสู่ระบบการรักษาได้​ผ่านการโทรช่องทางหลัก​ 1330 สปสช.​ และได้แก้ปัญหารองรับช่วยเหลือผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูงขึ้นหลังจากก่อนหน้ามีสายโทรเข้าพุ่งกว่า5หมื่นสายต่อวัน​

โดยการเพิ่มบุคลากรที่ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนและประชาชน​ กรอกข้อมูลผ่านเว็พไซต์​ สปสช.​  หรือติดต่อผ่านเบอร์คอลเซ็นเตอร์​ประจำจังหวัดโดยเฉพาะทุกเขตของกทม.​ ที่ทำงาน​ 24​ ชม.​ ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้ป่วยสีเขียวและหากมีการประเมินว่าอาการรุนแรงจะส่งต่อเข้าสู่ระบบการรักษาในโรงพยาบาลตามขั้นตอนทั้งนี้หากเป็นคนไข้ที่มีอาการรุนแรงและเร่งด่วนขอให้โทรไปที่​ สายด่วน1669 สถาบันการแพทย์​ฉุกเฉิน​แห่งชาติ​แทน

ส่วนสถานการณ์​ตอนนี้จำเป็นหรือไม่ในการเปิดศูนย์พักคอยฯ หรือCI เพิ่มในกทม.นั้น​ นายแพทย์ณัฐพงศ์​ระบุว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่ ไม่นิยมเข้ารับการรักษาใน​ระบบ CI จึงยังไม่ได้มีการเปิดเต็มรูปแบบ แต่หากผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับร้อยละ70 -​ 80 อาจจะมีการพิจารณาเปิดในส่วนนี้เพิ่มเติม ทั้งนี้หากเป็นผู้ป่วยติดเชื้อโควิด ที่ไม่มีอาการเลย ไม่จำเป็นต้องได้ยาฟาวิพิราเวียร์ แต่หากมีอาการอื่นๆก็จะต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ในการจ่ายยา ซึ่งจะเน้นการจ่ายยารักษาตามอาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เปิดเบื้องลึก "รมว.ปุ๋ง" ถูกโยกนั่งวธ. รับงานใหญ่ ลุย Soft Power
สุดแปลก ควายเปลี่ยนสีได้ จากสีเผือกกลายเป็นสีดำทั้งตัว ปศุสัตว์ยันไม่ได้ป่วยหรือเป็นโรคผิวหนัง
"เอกสิทธิ์" ผงาด นั่งหน.พรรคพลังปวงชนไทย คนใหม่ พร้อมชูนโยบายทันสมัย ตอบโจทย์คนไทย
"นายกฯ" ลุยตรวจโรงงานสารเคมีระยอง จี้ถามอธิบดีกรมโรงงานลงพื้นที่ช้า สั่ง 5 ข้อแก้-เยียวยา ปชช.
"ผู้บริหารสาว" บริษัทชั้นนำของโลก เมาแล้วขับ เตรียมส่งทนาย ชี้แจงปมทำร้ายตร.-รับทราบข้อกล่าวหา
อก.เตรียมส่ง "กากแคดเมียม" กลับบ่อฝังกลบ เที่ยวแรก 270 ตัน 29 เม.ย.นี้
สุดระทึก เกิดเหตุไฟไหม้ "โรงงานกระดาษ" จ.นครปฐม เสียหายไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาท
ชะตากรรม 3 นิ้ว "อานนท์-บอส" ลุ้นฟังคำพิพากษา เผยรอสืบพยานอีก 3 ราย
ระทึก ไฟไหม้รถตู้ที่จอดหน้าบ้าน ลามเผาบ้านวอดยกหลัง จว.ฉะเชิงเทรา
“สมชัย” กางเอกสาร ชี้ 4 จุดอ่อน ระเบียบการแนะนำตัวผู้สมัคร สว.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น