No data was found

กี่เข็มถึงจะพอ? “หมอนิธิ” แนะเร่งฉีดเข็มกระตุ้นสกัด “โอไมครอน”

กดติดตาม TOP NEWS

กี่เข็มถึงจะพอ? "หมอนิธิ" แนะเร่งฉีดเข็มกระตุ้นสกัด "โอไมครอน"

วันที่ 2 ธ.ค.- ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุข้อความว่า กี่เข็มถึงจะพอ Two is Too Many, Three is Not Enough ยามที่เราเฝ้าจ้องระวังข่าวเจ้าตัวกลายพันธุ์ใหม่ของโควิด 19 Omicron ซึ่งจนถึงวันนี้รู้แค่ว่ามันแพร่ได้ง่าย คงต้องใช้เวลาอีก 2-3 อาทิตย์ ถึงจะรู้ชัดว่า 1.มันทำให้เกิดโรครุนแรงไหม 2.มันหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่ได้จากวัคซีนที่มีใช้กันอยู่ไหม ระดับภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้นหรือระดับความจำภูมิคุ้มกันจะช่วยได้หรือไม่ 3.มันสามารถถูกตรวจพบได้ง่าย ไว และแม่นยำด้วยวิธีตรวจเดิมๆโดยเฉพาะ ATK หรือไม่ ทั้งหมดข้างต้นตามที่ติดตามนักวิจัย บริษัทผลิตวัคซีนทั่วโลกกำลังศึกษากันอย่างเร่งรีบ และคงใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 อาทิตย์จากนี้ไป (ซึ่งนับว่าเร็วแล้ว)

ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิกล่าวว่า แต่ที่แน่นอนในขณะนี้ที่ควรเร่งและทำอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยด้วยคือการฉีดวัคซีนกระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 และให้เข็ม 1 และ 2 ในคนที่ยังไม่เคยได้ในทุกกลุ่ม ทุกอายุ(การกลายพันธุ์ของ Omicron เป็นตัวอย่างที่ดีให้เห็นว่า เจ้าโควิด 19 มันไปแอบกลายพันธุ์ในกลุ่มประชากรของโลกที่ไม่ได้วัคซีนอยู่ตั้งหลายเดือนก่อนออกมาสู่โลกภายนอก ในสถานการณ์ที่เชื้อโควิดกลายพันธุ์ตลอดเวลาและแนวโน้มการระบาดใหญ่ไม่ได้เบาบางลง การฉีดเข็มกระตุ้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ที่อาจระบาดรุนแรงขึ้นมาอีกและอาจจำเป็นต้องทำซ้ำอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันโรค ซึ่งหมายความว่า 2 โดสแรกคงยังไม่พอ แต่เราจะต้องฉีดเข็มกระตุ้นอย่างไร กี่เข็ม เมื่อไหร่และขนาดเท่าใด

ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิกล่าวอีกว่า แม้จะยังไม่อาจสรุปได้ว่าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้นสำหรับโรคโควิดไปตลอดหรือไม่ ดร.นพ.แอนโธนี เฟาชี่ (Anthony Fauci) ผู้อำนวยการสถาบันโ รคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติ ยืนยันว่า การป้องกันโรคนี้อย่างเต็มรูปแบบจะต้องได้รับวัคซีนถึง 3 โดส ซึ่งปัจจุบันมีการรณรงค์ ให้ฉีดเข็มกระตุ้นในผู้ที่รับวัคซีนปฐมภูมิครบตามระยะเวลาที่เหมาะสมระหว่าง 3-6 เดือน การได้รับวัคซีนปฐมภูมิ 2 โดสที่ฉีดห่างกันเพียง 3-4 สัปดาห์นั้นไม่อาจสร้างภูมิคุ้มกันที่ยืนยาวได้ การกระชับช่วงเวลาการฉีดระหว่าง 2 โดสแรก เนื่องมาจากในช่วงแรกนั้นอยู่ในภาวะวิกฤตที่ต้อง ควบคุมการระบาดใหญ่ให้สงบลงเร็ว (วัคซีนอื่นๆ ที่มีใช้มาก่อนหน้านี้ส่วนมากแล้วการฉีดชุดแรกใช้สามเข็มและกระตุ้นอีกเมื่อมีความเสี่ยง) แต่อาจส่งผลต่อการตอบสนองและการป้องกันของแอนติบอดี และทำให้ฤทธิ์ของวัคซีน(สองเข็มแรก)อยู่ได้ไม่นานและไม่พอ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิกล่าวต่อว่า การกำหนดช่วงเวลาการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้เหมาะสมจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่ง การศึกษาพบว่าการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจะสูงขึ้นและเร็วขึ้นหลังจากฉีดวัคซีน mRNA เข็มที่ 3 หลังจากได้รับเข็มที่ 2 แล้ว 8 เดือน เมื่อเทียบกับการฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรกเพียงไม่กี่สัปดาห์ นอกจากนั้น การตรวจระดับภูมิก็ไม่สามารถใช้เป็นหลักในการกำหนด ระยะการฉีดหรือ อายุของ ภูมิคุ้มกันในร่างกายของแต่ละคนได้เช่นกัน เนื่องจากวิธีตรวจภูมิที่ใช้กันอยู่ไม่สามารถระบุระดับการป้องกันโรคได้อย่างครอบคลุม ในขณะที่ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์นั้นมีการป้องกันหลายชั้น เมื่อร่างการติดเชื้อ เซลล์เม็ดเลือดขาวที่เรียกว่าที เซลล์และบี เซลล์จะทำหน้าที่ตรวจจับและกำจัดเชื้อตลอดจนเซลล์ที่ติดเชื้อ และสามารถคงอยู่ในเลือดได้นานหลายปี พร้อมที่จะเสริมการป้องกันอื่นๆ ที่มีอยู่ และสามารถจดจำหากเชื้อโรคปรากฏหรือเกิดซ้ำ

ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิกล่าวด้วยว่า ผลการศึกษาของศ.ดร.นพ.โจวานนา บอสเซลิโน (Giovanna Borselino) นักอิมมูโนโลหิตวิทยาแห่งมูลนิธิซานต้า ลูเชีย ในกรุงโรมและคณะ โดยติดตามการทำงานของที เซลล์และการตอบสนองของแอนติบอดีต่อโปรตีนส่วนหนามของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ในบุคลากรทางการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ 71 รายที่สุขภาพดี หลังจากได้รับวัคซีน BNT162b2 (Pfizer-BioNTech) เข็มแรกเป็นเวลา 6 เดือน พบว่าการฉีดวัคซีนสามารถกระตุ้นการตอบ สนองของที เซลล์อย่างยั่งยืน และการได้รับวัคซีนตามเกณฑ์จะทำให้การตอบสนองของเซลล์ ภูมิคุ้มกันอยู่นานกว่า 6 เดือน การจัดระยะในการฉีดวัคซีนปฐมภูมิและเข็มกระตุ้นภูมิให้เหมาะสม จึงเป็นวิธีการรักษาประสิทธิภาพของวัคซีนได้ดีที่สุด

ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิกล่าวอีกว่า ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนประเภทใดก็สามารถใช้กระตุ้นภูมิได้เหมือนกันหมด มีข้อแตกต่างเพียงว่าถ้าเป็นวัคซีนเชื้อตาย เช่น ซิโนแวคและซิโนฟาร์ม จะมีอาการข้างเคียงน้อยกว่าและเบากว่า วัคซีน mRNA และ วัคซีนไวรัลเวคเตอร์ แต่วัคซีนเชื้อตายก็จะกระตุ้นภูมิได้ไม่สูงมากจึงต้องได้รับการฉีดกระตุ้นถี่กว่า เช่น ทุก 3-4 เดือนหากยังมีการระบาดรุนแรง ส่วนวัคซีน mRNA และไวรัลเวคเตอร์นั้นภูมิขึ้นสูงมาก จึงฉีดกระตุ้นได้ทุก 6-8 เดือน(มีคนมักถามว่าผมแนะนำอะไร โดยส่วนตัวผมเลือกใช้วัคซีนเชื้อตายครับ ด้วยความเชื่อส่วนตัว และฉีดบ่อยได้ ผมไม่กลัวเข็ม) ถ้ายังมีการระบาดอยู่เราคงต้องกระตุ้นภูมิกันไปเรื่อยๆ (ให้มันรู้กันไปข้างหนึ่งว่า เราจะกลายพันธุ์ทันเจ้าโควิด-19 ไหม ) อย่างไรก็ตาม การรักษามาตรการความ ปลอดภัยด้วยการใส่หน้ากากอนามัยและรักษาระยะห่างพยายามอยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ แม้จะได้รับวัคซีนครบ

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

คาดยอดใช้แอร์ในอาเซียน พุ่ง 300 ล้านเครื่องในปี 83
เปิดมุมมอง "หมวย" สื่อสายการเมือง ประสบการณ์ 20 ปี ตอบตรงนี้ 3 นายกฯ แตกต่างกันตรงไหน
รองหน.ข่าวกรองทหารยูเครน รับไม่มีทางชนะรัสเซียได้
“อุ๊งอิ๊ง แพทองธาร” เปิดตัวน้องชาย “โจ้ ยุทธพงศ์” สู้ศึกนายกอบจ.
"ดร.อานนท์" สวดอีกชุด "โน้ส อุดม" นำเรื่องผู้หญิงมาล้อเลียนสนุกปาก
รถโต๊ะจีนกลับจากงาน เสียหลักพุ่งตกข้างทางบาดเจ็บหลายราย
ตำรวจพลเมืองดี รวบชาย เมายาคลั่ง
รถบรรทุกปูนซิเมนพุ่งชนแบริเอ่อกลางสะพาน
ระอุ "เมียนมา"เจออากาศร้อนจัด ไฟดับบ่อย ประชาชนเสียชีวิตรายวัน ไม่ต่ำกว่า 10 คน
สวนสัตว์เปิดเขาเขียว รับมอบแก้วน้ำสำหรับเพาะกล้าไม้จาก บริษัท นิคเคสยามอลูมิเนียม จำกัด ร่วมโครงการ แก้วกล้า เพื่อเธอ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น