“สื่อกัมพูชา” โหมข่าวปลุกใจ ชาวเขมรปรับตัวใช้สินค้าเวียดนาม แห่ทะลักขายแทนแบรนด์ไทย

"สื่อกัมพูชา" โหมข่าวปลุกใจ ชาวเขมรปรับตัวใช้สินค้าเวียดนาม แห่ทะลักขายแทนแบรนด์ไทย

หลังจากไม่กี่วันก่อน สื่อกัมพูชารายงานเกี่ยวกับการปรับตัวของผู้บริโภค ที่ต้องหันไปใช้สินค้าแบรนด์อื่นแทนสินค้าไทย ในตลาดผู้บริโภคกัมพูชาที่กำลังเติบโต หลังจากกัมพูชาสั่งแบนสินค้าไทยจากปัญหาขัดแย้งที่ชายแดน ขแมร์ ไทมส์ มีรายงานเพิ่มเติมวันนี้ว่า บริษัทเวียดนามกำลังเข้าไปจับจองพื้นที่แทนสินค้าไทยอย่างรวดเร็ว โดยรายงานอ้างผู้จัดการห้างค้าปลีกชั้นนำคนหนึ่ง ว่า ทีมการตลาดบริษัทหลายแห่งจากเวียดนาม แห่แหนเข้าไปดีลกับผู้ค้าปลีก ทำให้ช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เห็นสินค้าเวียดนามหลากหลายชนิด เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นบิสกิต ช็อกโกแลต และบะหมี่สำเร็จรูป แบรนด์มาเลเซียก็พยายามเข้าไปเหมือนกัน แต่ของเวียดนามประสบสำเร็จมากกว่า เช่น นมดาลัด ( Dalat Milk) ที่ตอนนี้ วางขายเต็มชั้นแทนนม ดัตช์มิล ของไทย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

กัมพูชามีการค้าชายแดนทางบกกับไทย ลาว และเวียดนามเท่านั้น หลังด่านปิด การค้าชายแดนกับไทยเป็นศูนย์ ลาวไม่มีแบรนด์และฐานการผลิตขนาดใหญ่ที่สามารถเร่งผลิตได้อย่างกะทันหัน เขาเปรียบตลาดกัมพูชาคือ เสาที่ไม่มีผู้รักษาประตูสำหรับสินค้าเวียดนาม และพวกเขาจะได้รับประโยชน์อย่างมาก จนกว่ากัมพูชาจะแก้ปัญหาพิพาทชายแดนกับไทยได้

อีกแหล่งข่าวในซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่ง บอก ขแมร์ ไทมส์ ว่า เขายอมรับว่า มีความตื่นตระหนก หลังรัฐบาลสั่งห้ามนำเข้าสินค้าทางบกจากไทย เพราะสินค้าไทยมีสัดส่วน 25% ของยอดขาย และจำนวนมากเป็นแบรนด์ที่ลูกค้าชื่นชอบมากที่สุด แต่การที่บริษัทเวียดนามสามารถจัดหาสินค้าได้อย่างทันการ ช่วยให้ซูเปอร์มาร์เก็ตในกรุงพนมเปญ ยังคงดำเนินธุรกิจต่อไปได้โดยไม่สะดุด นอกจากนี้ ทางบริษัทยังมีแผนจะรับสินค้าเวียดนาม ที่เดิมยังไม่แพร่หลายในกัมพูชาเท่าไหร่นัก มาจำหน่ายเพิ่มขึ้น

 

 

 

แบรนด์บะหมี่สำเร็จรูปของเวียดนาม อาทิ วีฟง เอซคุก และ วีเฮือง อยู่ในตลาดอาหารแปรรูปของกัมพูชามานานแล้ว เช่นเดียวกับ บริษัทยักษ์ใหญ่ อาทิ เวียดเทล สถาบันการเงิน BIDV และบริษทอุตสาหกรรมการเกษตร ฮอง อัน ยา ลาย และเวียดนาม รับเบอร์ กรุ๊ป

รายงานอ้างนักวิชาการคนหนึ่งว่า นี่เป็นพัฒนาการที่สะท้อนความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างเวียดนามกับกัมพูชา และมีสัญญาณว่า ความร่วมมือทางเศรษฐกิจจะยิ่งแน่นแฟ้นขึ้นอีกในปีนี้ ขณะเผชิญกับภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ การลงทุนของบริษัทเวียดนาม ช่วยเชื่อมโยงบริษัทกัมพูชาเข้ากับห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาค ขณะเดียวกัน ก็สร้างตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของกัมพูชาภายในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของเวียดนาม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สุชาติ" เข้าพบ "สมเด็จฯ วัดไตรมิตร" รับแนวทางแก้ปัญหาวงการสงฆ์ ชี้ต้องร่วมมือกัน ก่อนปชช.หมดศรัทธา
"กองทัพเรือ" ยันไม่มีแผนยินยอมสหรัฐฯ ใช้ฐานทัพเรือทับละมุ พังงา ตั้งฐานทัพถ่วงดุลอำนาจจีน
ชาวบ้านแจ้งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบกองดินคาดเป็นขยะอุตสาหกรรม
เกาหลีใต้เล็งสั่งทุกสายการบินเช็คปุ่มควบคุมน้ำมันโบอิ้ง
จีนเผยตัวเลขส่งออกเดือนมิย.พุ่งสูงเกือบ 6%
ไม่รอด "ตร.ทางหลวงเมืองกาญจน์" รวบ 12 แรงงานเถื่อนเมียนมา ลอบเข้าเมือง เสียค่าหัวคนละ 3 หมื่นบาท ส่วนคนขับหลบหนีไปได้
"ดีอี" เตือนภัยระวัง “มิจฉาชีพ” อ้างรับสมัครงาน 1 อำเภอ 1 ไอทีแมน เรียกรับเงินค่าตอบแทน เสี่ยงสูญทรัพย์สิน-ข้อมูลส่วนบุคคล
คึกคัก "นทท.ชาวไทย" เยี่ยมชมความสวยงาม "ปราสาทตาเมือนธม" ต่อเนื่อง ขณะช้าง 3 เชือก สวมชุดพยาบาล-ทหาร มอบของให้กำลังใจทหารกล้า
ตร.แจ้งข้อกล่าวหา "อดีตทหารพรานไทย" หลังชกหน้า "ทหารกัมพูชา" ปราสาทตาเมือนธม
อีอีซี จัดงานมอบตรารับรอง EEC Select Best Service 2025 ให้ 25 ผู้ประกอบการอีอีซี ยกมาทุกผลิตภัณฑ์ มอบ Gift Voucher ให้ช้อปฟรี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น