อธิบดีกรมศุลกากรลงพื้นที่ชายแดนกัมพูชารับฟังปัญหา ระบุ 14 วัน เสียหายกว่าหมื่นล้าน

อธิบดีกรมศุลกากรลงพื้นที่ชายแดนกัมพูชารับฟังปัญหา ระบุ 14 วัน เสียหายกว่าหมื่นล้าน หลังสินค้าส่งเข้ากัมพูชาไม่ได้,ด้านประธานหอการค้าตราดขอฝ่ายความมั่นคงแยกธุรกิจกับความมั่นคง บอกธุรกิจท้องถิ่นเสียหายมาก ส่วนภาษี 36% ส่งผลกระทบแน่ เอกชนต้องปรับตัว

อ.คลองใหญ่ จ.ตราด/เวลา 09.00 น.วันที่ 8 กรกฎาคม 2568 ที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด นายธีรัชย์ อัตนวานิช อธิบดีกรมศุลกากร และคณะเดินทางมาตรวจพื้นที่ชายแดนที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก มีนางสุทัศนีย์ สุภาพันธ์ นายด่านศุลกากรคลองใหญ่ และเจ้าหน้าที่ร่วมต้อนรับ และนำตรวจพื้นที่จุดผ่านแดนถาวรหาดเล็กซึ่งปิดการเดินทางเข้าออกและห้ามนำสินค้าออกไปยังฝั่งกัมพูชา พร้อมกันนี้ได้ลงตรวจร้านค้าในตลาดหาดเล็กซึ่งพบว่า ร้านค้ากว่า 90% ปิด เนื่องจากไม่มีเดินทางเข้าออก จากนั้นเดินทางไปที่บริเวณสันเขื่อนหาดเล็กที่เป็นรอยต่อทางน้ำ ซึ่งมีการนำสินค้าด้านประมงทะเลเข้ามายังหาดเล็ก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกัมพูชา แต่ขณะนี้นำเข้ามาไม่ได้

ระหว่างนั้น นางวิภา สุเนตร ประธานหอการค้าจังหวัดตราดที่เดินทางมาพร้อมกรรมการ และเจ้าหน้าที่ได้เดินทางมาพบและเสนอปัญกาของภาคธุรกิจที่ได้รับความเสียหายจากการไม่สามารถนำสินค้าส่งไปยังกัมพูชาได้ รวมทั้งปัญหาจากนักธุรกิจส่งออกที่ไม่สามารถส่งออกได้และกำลังได้รับผลกระทบจากผู้ประกอบการไม่สามารถนำสินค้าส่งออกได้และหากเกิน 30 วัน จะถูกยึดตู้คอนเทรนเนอร์ ซึ่งจะได้รับความเสียหายมาก

จากนั้น นายธีรัชย์ อัตนวานิช ได้กล่าวกับสื่อมวลชนว่า การเดินทางมาพื้นที่ชายแดนด้านกัมพูชาตั้งจ.ตราด จันทบุรี และจังหวัดต่างๆที่ติดชายแดน เพื่อรับทราบปัญหาและนำผลสรุปส่งไปให้ทางรัฐบาลและฝ่ายความมั่นได้พิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปิดชายแดนตลอดแนวเป็นเวลา 14 วัน ซึ่งพบว่า มีมูลค่าความเสียหายไปแล้วกว่า 1 หมื่นล้่น จากมูลค่าที่ส่งออกไปกัมพูชาราวเดือนละ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเรื่องนี้ ทางกรมศุลกากรรับทราบปัญหาต่างๆแล้ว แต่กรมศุลกากรต้องปฏิบัตไปตามนโยบายของทางฝ่ายความมั่นคง ซึ่งกรมศุลกากรจะได้นำเสนอเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไป เนื่องจากหากปิดชายแดนต่อไปอาจจะส่งผลกระทบเพิ่มมากขึ้นอีก

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“ปัญหาที่เกิดขึ้นจากฝั่งประชาชนและผู้ประกอบการ โดยเฉพาะตามแนวชายแดนหรือช่องทางน้ำ ก็มีผลกระทบชัดเจน ซึ่งเราได้รวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอรัฐบาล เพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขในภาพรวม ในส่วนของกรมฯ เราพิจารณาว่ามีจุดใดบ้างที่สามารถอำนวยความสะดวกหรือแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันที ส่วนในระดับนโยบาย รัฐบาล โดยเฉพาะคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ก็ได้รับทราบสถานการณ์และติดตามอย่างใกล้ชิด“

อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวอีกว่า สำหรับผู้ประกอบการในภาคเอกชน อาจต้องมีการปรับตัว หาโอกาสใหม่ ๆ เช่น ขยายตลาดไปยังกลุ่มประเทศอื่น หรือเพิ่มช่องทางการค้าออนไลน์ ซึ่งเป็นแนวทางเชิงตรรกะที่สามารถทำได้ในระยะสั้น ทั้งนี้ ยังมีเวลาอีกประมาณ 1 เดือนก่อนที่มาตรการบางอย่างจะมีผลเต็มรูปแบบ ทางทีมเจรจาก็อยู่ระหว่างการหาข้อสรุปที่เหมาะสมกับทางสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดข้อเสนอที่ดีที่สุดกับประเทศของเรา

สำหรับเรื่องในประเด็นที่สหรัฐอเมริกาเก็บภาษีนำเข้า 36% นั้นนายธีรัชย์ อัตนวานิช กล่าวว่า เรื่องนี้ เป็นประเด็นด้านนโยบาย ซึ่งกรมฯ เป็นหน่วยปฏิบัติ จึงไม่สามารถให้รายละเอียดหรือประเมินผลกระทบโดยตรงได้ ต้องเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ที่จะเป็นผู้ตอบคำถามเรื่องนี้โดยตรง

ด้านนางวิภา สุเนตร ประธานหอการค้าจังหวัดตราด เปิดเผยถึงผลกระทบของภาคเอกชนต่อการปิดด่านชายแดนของพื้นที่จังหวัดตราดว่า ตอนนี้สถานการณ์ชายแดนย่ำแย่มาก จากที่ตอนปิดด่านในช่วงแรก ๆ เราอาจยังไม่รู้สึกอะไรมากนัก แค่ดูเงียบเหงา แต่เมื่อผ่านไป 15 วัน เราเริ่มเห็นชัดว่ามันไม่ไหวแล้ว เพราะเรื่อง “ความมั่นคง” กับ “ปากท้องของประชาชน” มันเป็นเส้นบาง ๆ ที่ขัดแย้งกันอยู่ ถ้ารัฐยังไม่ลงมาดูแลหรือเยียวยาให้ชัดเจน มันจะกลายเป็นปัญหาระยะยาวของประเทศ

“จากข้อมูลของด่านศุลกากร ระบุว่า ความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 80 ล้านบาทต่อวัน จากรถบรรทุกที่ไม่สามารถผ่านด่านได้ แต่ในพื้นที่จริงยังมีผลกระทบต่อวินมอเตอร์ไซค์ แม่ค้า รถเข็น ขายส้มตำ ข้าวปลา ต่าง ๆ อีกจำนวนมาก ทุกคนเหล่านี้ต้องเลี้ยงดูครอบครัว นี่คือความเดือดร้อนที่เห็นได้ชัดเพียงในเวลาแค่ 15 วัน“ นางวิภากล่าว

 

ประธานหอการค้าจังหวัดตราดเสนอไปยังกรมศุลกากรเพื่อนำเสนอไปยังรัฐบาลและฝ่ายความมั่นคง ใน 2 ประเด็น คือ ประการแรก สินค้าที่อยู่ในตู้ส่งออกไปกัมพูชาและได้รับยกเว้นภาษี ตอนนี้ส่งออกไม่ได้ บางส่วนกำลังจะหมดอายุ อยากขอให้สามารถนำกลับเข้ามาขายในประเทศได้ และประการที่สอง สินค้าในเขต Free Zone ต้องส่งออกภายใน 30 วัน ไม่เช่นนั้นจะถูกยึด ผู้ประกอบการในแหลมฉบังได้รับผลกระทบ เพราะต้องรับภาระค่าเช่าตู้คอนเทนเนอร์วันละ 2,000–4,000 บาท อยากขอให้ขยายเวลาการพักสินค้าใน Free Zone ไปจนกว่าด่านจะเปิด

“ส่วนที่ฝ่ายความมั่นคงจะมองว่า ฝ่ายเอกชนมองแต่เรื่องปัญหาของฝ่ายเอกชนไม่ได้มองถึงเรื่องความมั่นคงของประเทศนั้น ประเด็นนี้ตอบยากเพราะเมื่อภาคเอกชนพูด มักถูกมองว่าเป็น “นายทุน” แต่ในความจริงคือ ประชาชนตามแนวชายแดน 7 จังหวัดได้รับผลกระทบหมด เราเสนอว่า หากมีพื้นที่ไหนเกิดการปะทะก็ให้ปิดเฉพาะจุดนั้น แต่ถ้าพื้นที่ไหนไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ก็ควรผ่อนผันให้ประชาชนสามารถเดินไปมาได้ก่อน แล้วค่อยพิจารณาขั้นตอนอื่นต่อไป เช่น รถ หรือการค้าขายเต็มรูปแบบ“ประธานหอการค้าจังหวัดตราดกล่าว

ส่วนภาษี 36% ที่สหรัฐอเมริกา เรียกเก็บจากสินค้าไทยนั้น นางวิภา ให้ความเห็นว่า ตอนนี้ภาษีส่งออกไทยไปสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 36% ขณะที่เวียดนามแค่ 10–15% เท่านั้น เป็น “ข่าวเศร้าที่สุด” สำหรับไทย เพราะทำให้เราสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและการลงทุนย้ายฐานไปเวียดนามมากขึ้น รัฐบาลไทยจำเป็นต้องปรับยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่โดยเร็ว โดยเฉพาะก่อนวันที่ 1 สิงหาคม ที่มาตรการภาษีจะมีผลเต็มรูปแบบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ฟิตปั๋ง! อาม่าวัย 102 ปี โชว์ออกกำลัง
PTT Thailand Taekwondo Grand Prix 2025
ครม.ไฟเขียว ตั้ง "สุชาติ ตันเจริญ-จิราพร" รักษาราชการแทน รมว.วัฒนธรรม หากไม่สามารถปฏิบัติราชการได้
"หัวหน้าด่านควบคุมโรคช่องจอม" เผยข้อมูล "กัมพูชา" ปฏิเสธรับยาให้ผู้ป่วย แม้ไทยอำนวยความสะดวก แต่สื่อเขมรบิดเบือนข้อเท็จจริง
"ฮุน เซน" หัวร้อน ตร.ไทยออกหมายจับ "ก๊กอาน" เพื่อนสนิท แซะปราบอาชญากรรม ออนไลน์ ควรทำนานแล้ว ยอกย้อน "ทักษิณ" ใกล้ชิด ต้องไล่สอบด้วย
"อดุลย์" เป็นประธาน เดิน-วิ่งการกุศลลอยฟ้า ครั้งที่ 1 The COP Charity Run 2025
"ท็อปนิวส์" คว้า 4 รางวัล "เทพนารายณ์นาคราช" ครั้งที่ 11 บุคคลต้นแบบ ผู้สร้างคุณงามความดี
วธ.แจงปมดราม่า กัมพูชาสอดไส้ "ชุดไทย" ขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรม ย้ำไทยยื่นก่อนแล้ว รอพิจารณาปี 69
“แฮกเกอร์ไทย” บุกพนมเปญ! ถล่มออนไลน์รัฐบาลเขมร ล่มเกือบทั้งระบบ
AOT ประกาศจุดยืนผู้นำท่าอากาศยานที่ดีระดับโลก เน้นบริการผู้โดยสารแบบ World Class Hospitality เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเสริมความแข็งแกร่งของประเทศ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น