เกษตรกรบ่อกุ้ง ยืนยัน “กากชา” ช่วยคุม “ปลาหมอคางดำ” ในบ่อได้จริง

ปลาหมอคางดำ หรือ ปลาหมอสีคางดำ ยังคงเป็นปัญหาที่คุกคามบ่อกุ้งของเกษตรกรไทย แต่ท่ามกลางวิกฤตนี้ “กากชา” ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร กลับกลายเป็นกุญแจสำคัญที่เกษตรกร จ.สมุทรสงคราม ยืนยันว่า ช่วยควบคุมจำนวนปลาหมอคางดำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ปลาหมอคางดำ สัตว์ต่างถิ่น ที่เข้ามาสร้างผลกระทบในระบบนิเวศของประเทศไทย เนื่องจากพฤติกรรมการปรับตัว กินอาหารได้หลากหลาย และขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำพื้นถิ่น ยิ่งเมื่อหลุดรอดเข้ามาในบ่อเลี้ยงกุ้ง จะเข้ามาแย่งอาหาร ทำให้กุ้งเติบโตช้าลง อ่อนแอ และมีอัตราการรอดชีวิตต่ำ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งอย่างมหาศาล

จากปากคำของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งหลายรายในพื้นที่ 3 สมุทร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของปลาหมอคางดำสูง ยืนยันตรงกันว่า “กากชา” ซึ่งเป็นของเหลือจากการสกัดน้ำมันเมล็ดชา สามารถนำมาใช้ควบคุมปริมาณปลาหมอคางดำในบ่อกุ้ง ได้อย่างน่าทึ่ง โดยไม่ส่งผลกระทบอันตรายต่อกุ้งหรือระบบนิเวศในบ่อ

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทีมข่าว Topnews ลงพื้นที่ไปพบกับ นายสมศักดิ์ แสงสุริยา ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง บ้านต้นลำแพน ต.ยี่สาร อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เพื่อสอบถามถึงวิธีการนำ “กากชา” มาใช้ เพื่อลดการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในบ่อกุ้ง โดย นายสมศักดิ์ แสงสุริยา ระบุว่า ตอนนี้สถานการณ์ปลาหมอคางดำลดน้อยลงเป็นจำนวนมาก เหลือเพียง 10% เท่านั้น และส่วนใหญ่จะพบตามแหล่งน้ำธรรมชาติ

ส่วนการใช้กากชานั้น ก่อนที่จะมีการปล่อยพันธุ์กุ้งลงบ่อรอบต่อไปทุกครั้ง ต้องทำการกำจัดปลาหมอคางดำออกให้หมด ด้วยวิธีการเบื่อกากชา โดยการโรยกากชาหมักไว้ประมาณ 3-4 วัน หลังจากนั้นจึงใช้ผ้ากรองตาข่ายละเอียดที่กรมประมงแนะนำ กรองน้ำจากลำคลองธรรมชาติก่อนเข้าบ่อกุ้งทุกครั้ง หลังจากนั้น จึงนำพันธุ์กุ้งปล่อยเข้าบ่อ ซึ่งการใช้กากชาถือเป็นวิธีที่ปลอดภัย ประหยัด และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ที่ผ่านมาประมงจังหวัดสมุทรสงครามได้ให้คำแนะนำในเรื่องการกำจัดปลาหมอคางดำมาโดยตลอด ตามการศึกษาของนักวิชาการของประมง ตนเองก็ได้มีการปรับใช้และทดลองเรียนรู้ จนสามารถลดจำนวนปลาหมอคางดำลงได้ นอกจากนี้ ประมงจังหวัดก็ได้ให้การสนับสนุนเกษตรผู้เลี้ยงกุ้งในพื้นที่มาโดยตลอด เช่น กากชา / อวนตาถี่ รวมไปถึงกระชังเพาะเลี้ยง โดยในปี 2567 สามารถทำรายได้จากการเลี้ยงกุ้งได้ถึง 400,000 บาทต่อปี

 

 

 

นอกจากนี้ นายสมศักดิ์ ยังให้ข้อเสนอแนะกับภาครัฐในเรื่องของการกำจัดปลาหมอคางดำ โดยให้ทางหน่วยงานของรัฐ กระทรวงเกษตร กรมประมง หรือ หน่วยงานประมง แก้ปัญหากับปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติก่อนเป็นอันดับแรก หากปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติลดน้อยลง ในบ่อกุ้งก็จะลดลงเช่นเดียวกัน

ปัจจุบัน กรมประมงประสบความสำเร็จในการวิจัยปลาหมอคางดำที่มีชุดโครโมโซม 4n จากนั้นจะปล่อยปลาหมอคางดำพิเศษเหล่านี้ ลงสู่แหล่งน้ำเพื่อให้ไปผสมพันธุ์กับปลาหมอคางดำปกติ ที่มีชุดโครโมโซม 2n โดยเมื่อเกิดการผสมพันธุ์ จะทำให้เกิดลูกปลาหมอคางดำ ที่มีชุดโครโมโซม 3n ซึ่งลูกปลาที่มีโครโมโซมนี้ จะกลายเป็นปลาหมอคางดำที่เป็นหมัน ไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อ แม้จะปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติหรือหลุดจากระบบบ่อ

นอกจากนี้ กรมประมงยังออกมาตรการทั้งระยะสั้นและระยะยาวดำเนินการควบคู่ไปกับวิธีอื่น ๆ เช่น การใช้ปลาผู้ล่า และการจับไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำอาหาร ทำน้ำปลา หรือทำปุ๋ย เป็นต้น คาดว่าจะส่งผลให้จำนวนปลาหมอคางดำลดลง วิธีนี้จะช่วยควบคุมการระบาดได้ภายใน 3 ปี

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

รมว.วัฒนธรรม เปิดเวที "SPLASH - Soft Power Forum 2025" ชูแนวคิดวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ยกระดับซอฟต์พาวเวอร์ไทยสู่เวทีโลก
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) เซินเจิ้น ศูนย์กลางหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์แห่งอนาคตของโลก
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) บัณฑิตผมสีดอกเลาสวมครุยฉลองความสำเร็จในซินเจียง
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ฟิตปั๋ง! อาม่าวัย 102 ปี โชว์ออกกำลัง
PTT Thailand Taekwondo Grand Prix 2025
ครม.ไฟเขียว ตั้ง "สุชาติ ตันเจริญ-จิราพร" รักษาราชการแทน รมว.วัฒนธรรม หากไม่สามารถปฏิบัติราชการได้
"หัวหน้าด่านควบคุมโรคช่องจอม" เผยข้อมูล "กัมพูชา" ปฏิเสธรับยาให้ผู้ป่วย แม้ไทยอำนวยความสะดวก แต่สื่อเขมรบิดเบือนข้อเท็จจริง
"ฮุน เซน" หัวร้อน ตร.ไทยออกหมายจับ "ก๊กอาน" เพื่อนสนิท แซะปราบอาชญากรรม ออนไลน์ ควรทำนานแล้ว ยอกย้อน "ทักษิณ" ใกล้ชิด ต้องไล่สอบด้วย
"อดุลย์" เป็นประธาน เดิน-วิ่งการกุศลลอยฟ้า ครั้งที่ 1 The COP Charity Run 2025
"ท็อปนิวส์" คว้า 4 รางวัล "เทพนารายณ์นาคราช" ครั้งที่ 11 บุคคลต้นแบบ ผู้สร้างคุณงามความดี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น