แบไต๋วีโต้แน่ “สมศักดิ์” ตั้งคกก.พิจารณามติแพทยสภา ลงโทษ 3 หมอ ชื่อทนายเสื้อแดง โผล่ร่วมด้วย

แบไต๋วีโต้แน่ "สมศักดิ์" ตั้งคกก.พิจารณามติแพทยสภา ลงโทษ 3 หมอ ชื่อทนายเสื้อแดง โผล่ร่วมด้วย

เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมา นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเสนอความเห็นสภานายกพิเศษเพื่อพิจารณาตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 รวม 10 คน เพื่อพิจารณาความเห็นคณะกรรมการแพทยสภาที่เสนอลงโทษแพทย์ 3 คน กรณีการรักษาตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยขี้ขาดลงโทษผู้ประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมของคณะกรรมการแพทยสภา เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2568รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะสภานายกพิเศษ จึงเห็นควรที่จะแต่งตั้งคณะบุคคลจำนวนหนึ่งทำหน้าที่ช่วยเหลือเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณา สั่งการตามอำนาจหน้าที่ของสภานายกพิเศษต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ พ.ศ.2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จึงมีคำสั่งดังนี้

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข้อ 1 แต่งตั้งคณะกรรมการเสนอความเห็นสภานายกพิเศษ เพื่อพิจารณาตามมาตรา 25 แห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 โดยมีองค์ประกอบ

1.นายชัยนันท์ งามขจรกุลกิจ ประธาน
2.นายชัยวัฒน์ พัฒนาพิศาลศักดิ์ ที่ปรึกษา
3.นายพงษ์ศักดิ์ แก้วกมล กรรมการ
4.นายพิทักษ์ ฉันทประยูร กรรมการ
5.นายพสิษฐ์ อัศววัฒนาพร กรรมการ
6.นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ กรรมการ
7.นายกองตรี ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ กรรมการ
8.นายวชิระ ปากดีสี กรรมการและเลขานุการคนที่ 1
9.นายวิทยา พลสีลา กรรมการและเลขานุการคนที่ 2
10.นายปิยะวัฒน์ ศิลปรัศมี กรรมการและเลขานุการคนที่ 3

สำหรับอำนาจหน้าที่ ให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
1.เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะสภานายกพิเศษ ในการพิจารณาดำเนินการตามมาตรา 25 แห่งพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525
2.แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย
3.ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2568

 

ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2568 นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ให้ความเห็นผ่านเพจสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย กรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ยกคำร้องที่นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวน กรณีกรมราชทัณฑ์อนุญาตให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 8 ปี แต่ได้รับการลดโทษเหลือ 1 ปี ออกจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เข้ารับการรักษาตัวที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ และศาลเตรียมเป็นผู้ไต่สวนเองโดยนัดไต่สวนพร้อมคู่ความในวันที่ 13 มิถุนายน ว่า

“ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นส่วนต่อท้ายพระราชบัญญัติ ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พุทธศักราช 2477 ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 วรรคหนึ่ง ความว่า “ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ตราไว้ต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พุทธศักราช 2478 เป็นต้นไป” จึงมีฐานะหรือศักดิ์ทางกฎหมายเท่ากัน กับพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ทุกประการ การที่นักกฎหมายหลายท่านแสดงความเห็นว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีศักดิ์ฐานะที่ใหญ่กว่าพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 จึงคลาดเคลื่อน

ในกรณีที่ผู้ต้องขังป่วยต้องได้รับการบำบัดรักษาเฉพาะด้าน หรือถ้ายังคงรักษาพยาบาลอยู่ในเรือนจำ จะไม่ทุเลาดีขึ้น พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 มาตรา 55 ให้อำนาจผู้บัญชาการเรือนจำ ส่งตัวผู้ต้องขังไปยังสถานบำบัดรักษาสำหรับโรคนั้นโดยเฉพาะ การส่งตัวผู้ต้องขังไปรักษานอกเรือนจำดังกล่าว ผู้บัญชาการเรือนจำสามารถ ใช้อำนาจของตนตามมาตรา 55 ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตศาลตามมาตรา 246 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะเป็นการใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีศักดิ์ฐานะเท่ากันที่ออกมาในภายหลัง

ส่วนการที่มีบุคคลนำความไปร้อง ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอันเป็นศาลที่ออกหมายจำคุกนายทักษิณว่า การส่งตัวนายทักษิณไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ ไม่ได้ขออนุญาตศาลตาม มาตรา 246 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ศาลจึงต้องมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะผู้ร้องไม่ใช่บุคคลตามมาตรา 246 จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องตามมาตราดังกล่าว แต่ในขณะเดียวกันการที่ศาลมีคำสั่งให้ไต่สวนในกรณีดังกล่าว เพราะศาลเห็นว่าความปรากฏแก่ศาลเอง ตามที่มีผู้ร้องว่า นายทักษิณไม่ได้ถูกจำคุกตามหมายจำคุกของศาลจึงต้องมีการไต่สวน

ดังนั้น การที่ศาลใช้อำนาจไต่สวน กรณีการส่งตัวอดีตนายกทักษิณ ไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจจึงไม่ได้เป็นการใช้อำนาจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญามาตรา 246 หากแต่เป็นการใช้อำนาจของศาลเอง ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 89 ความว่า

“หมายขังหรือหมายจำคุก ต้องจัดการให้เป็นไปตามนั้นในเขตของศาลซึ่งออกหมาย เว้นแต่บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่น”

เมื่อความปรากฏตามที่มีผู้ร้องว่านายทักษิณ มิได้ถูกจำคุกตามหมายจำคุกของศาล จึงต้องมีการไต่สวน หากการไต่สวนได้ความว่า การใช้อำนาจของผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ในการส่งตัวอดีตนายกไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ และการที่แพทย์ของโรงพยาบาลดังกล่าว มีความเห็นให้อดีตนายกทักษิณพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เป็นไปโดยชอบด้วยมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ก็ถือได้ว่านายทักษิณได้ถูกจัดการตามหมายจำคุกแล้ว โดยถูกจำคุกตามหมายจำคุกของศาล ที่โรงพยาบาลตำรวจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 55 ของกฎหมายราชทัณฑ์ อันเป็นกฎหมายอื่นตามที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา 89 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้วทุกประการ”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กมธ.จ่อถกคุณสมบัติแคนดิเดต กตป. จับตา "เอกธนัช" ชนักติดหลังอื้อ
"ป.ป.ช."โต้ข่าวเท็จ ยันทำถูกต้องตามกม. ส่งหนังสือเชิญ "พีระพันธุ์" รับทราบข้อกล่าวหา
“บิ๊กเต่า” เค้นสอบเข้ม "อดีตพระมหาเอกพจน์" พระคนสนิททิดแย้ม ปมสั่งโอนเงินให้โบรกเกอร์สาว เล่นพนันออนไลน์
สสส.ผนึกภาคีเครือข่ายฯ หนุน "เติมเต็ม" ระบบคุ้มครองเด็ก จากชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด สู่ นโยบายชาติและพันธะสากล
"Top News-ยังมีเรา" ประกาศชื่อผู้ได้รับทุน "สานฝันการศึกษา" ปีที่ 4
สัตหีบ เปิดโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ ส่งเสริมเกษตรกรด้วยบริการครบวงจร
"นายแพทย์" โพสต์สะเทือนใจ ข่าวทิด 888 ถลุงเงินวัดเปย์สาวเล่นพนันออนไลน์ ถามรู้มั๊ยหลายรพ.ไม่มีงบฯซื้อเครื่องมือช่วยผู้ป่วย
อิสราเอลถล่มกาซาดับกว่า 100-บึ้มซ้ำใกล้รพ.
ท่องเที่ยวสหรัฐฯจ่อสูญรายได้กว่า 4 แสนล้าน
สหรัฐฯเปิดสอบอดีตผอ.FBI ปมขู่สังหารทรัมป์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น