No data was found

“ดร.เวทิน” วอน อย่าเอาวีรชน 6 ตุลา เป็นเครื่องมือทางการเมือง

กดติดตาม TOP NEWS

"ดร.เวทิน" วอน อย่าเอาวีรชน 6 ตุลา เป็นเครื่องมือทางการเมือง

หนึ่งในผู้ที่ตั้งข้อสังเกต คือ ดร.เวทิน ชาติกุล ผู้อำนวยการสถาบันทิศทางไทย กล่าวถึง เหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ว่า ปัจจุบันนี้ มีบุคคลบางกลุ่มได้พยายามบิดเบือนประวัติศาสตร์และข้อเรียกร้องของนิสิตนักศึกษาที่ชุมนุมเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 โดยเฉพาะข้อเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายมาตรา 112 และข้อเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเหตุการณ์เมื่อ 6 ตุลาคม 2519 ไม่มีข้อเรียกร้องดังกล่าว

ดร.เวทิน อธิบายต่อไปว่า มีข้อเท็จจริงที่กลุ่มคนที่พยายามโหนเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ไม่ยอมบอกความจริง คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ไม่เคยมีคำสั่งใดๆที่ทำร้ายนักศึกษาหรือประชาชน เรื่องนี้ นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ ม.ธรรมศาสตร์ เคยอออกมายอมรับแล้วว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม สถาบันกษัตริย์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เเม้ว่าจะมีการห้ามปรามหรือเตือนแล้ว แต่แกนนำอย่างนักศึกษาในยุคนั้น เช่น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และธงชัย วินิจจะกูล กลับไม่ฟัง จนนำมาสู่ควรมสูญเสีย

ข้อเท็จจริงต่อมา คือกลุ่มนักศึกษาที่ชุมนุมบางส่วน มีองค์กรรับรอง กล่าวคือ ไม่ได้ออกมาเรียกร้องด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่มีการยอมรับว่า เป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์

ข้อเท็จจริงต่อมา มีพรรคการเมืองอย่างพรรคชาติไทยและกลุ่มการเมืองที่ชื่อว่า “กลุ่มราชครู” อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ ที่ต้องการกลับมามีบทบาททางการเมือง มีความพยายามที่จะปลุกกระแสกระแสขวาจัด ผ่านภาคประชาชน จนนำมาสู่ความรุนแรง

ข้อเท็จจริงต่อมา ในช่วงเวลาดังกล่าว มีทหารบางกลุ่มเตรียมการที่จะยึดอำนาจจากรัฐบาล แต่มาเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาขึ้นก่อน

ข้อเท็จจริงต่อมาคือ เหตุการณ์ 6 ตุลาคมยังไม่จบ แต่หลังจากนั้นมีเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่า หลังจากปี 2519 จนถึงปี 2523 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มคอมมิวนิสต์ทั่วโลกเริ่มล่มสลาย นักศึกษาเริ่มออกมามอบตัวออกจากป่าและร่วมพัฒนาชาติไทย มีการเข่นฆ่ากันทั่วประเทศไทยเกิดสงครามประชาชน คนไทยเข่นฆ่ากันเองทุกหัวระแหงทั้งหมดเกิดขึ้นมาจากเหตุการณ์ 6 ตุลา แต่กลุ่มคนกลุ่มนี้กลับไม่พูดถึง

ดร.เวทิน กล่าวอีกว่า นักการเมืองปัจจุบันอย่างนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นางสาวพรรณิการ์ วานิช นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และกลุ่มผู้ชุมนุม 3 นิ้ว กำลังใช้เหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเครื่องมือทางการเมือง ซึ่งถือเป็นการก้าวล่วงวีรชนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น การที่นิสิตนักศึกษาและประชาชนเสียชีวิตถือเป็นบาดแผลของประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่ประชาชนต้องเข่นฆ่ากันเองจากอุดมการณ์ที่ไม่ตรงกัน ซึ่งปัจจุบันควรจะนำประวัติศาสตร์มาแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เหมือน 6 ตุลา เกิดขึ้นอีกในปัจจุบัน ถ้ากลุ่มคนดังกล่าว นำพาไปสู่เหตุการณ์รุนแรง จะถือว่าเป็นกลุ่มคนที่เลวทรามชั่วช้าเป็นที่สุด

ดร.เวทิน ยังกล่าวถึงการวางตัวในสถานการณ์ปัจจุบันของผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า สาเหตุที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไม่อนุญาต ให้มีการจัดงานรำลึก 6 ตุลา ภายในมหาวิทยาลัย ส่วนตัวมองว่า มหาวิทยาลัยคงไม่อยากให้เกิดกระแสปลุกระดม เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ดังกล่าว เพราะเป็นสถานที่เกิดเหตุ และไม่ต้องการให้กลุ่มการเมืองเคลื่อนไหวบางกลุ่ม นำมหาวิทยาลัยไปเกี่ยวข้องหรือโยงเข้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อเรียกร้องให้มีการยกเลิกกฏหมาย112 และปฏิรูปสถาบัน เชื่อว่าจากนี้มหาวิทยาลัยอาจจะพิจารณาให้มีการจัดกิจกรรม 6 ตุลา ในปีต่อๆไปอย่างรอบคอบและมีนัยยะสำคัญเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้ง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯ เตือน 54 จว. รับมือฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กทม.โดนด้วย
ยามเมาคลั่งตำรวจคุมตัววุ่น
จังหวัดลพบุรีส่อแล้งเขื่อนป่าสักน่าเป็นห่วงเหลือน้ำอยู่ 15 เปอร์เซ็นต์
ทัพเรือภาคที่ 1 ร่วมกิจกรรมจิตอาสา “เราทำความ ดี ด้วยหัวใจ” เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567
ตำรวจ รวบหนุ่มเพื่อนบ้าน ถือปืนขู่
ครอบครัววอนช่วยตามหาญาติหายตัวขณะเที่ยวไทย
กองทุนกำลังใจฯ "เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ" เปิดอบรมหลักสูตร Care Giver หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอาย ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง
อัยการยื่นฟ้อง "ฮาร์ท- สุทธิพงศ์" เอาผิดคดีม.112 โพสต์หมิ่นเบื้องสูง เมื่อปี 64
FBI ชี้เป้า จับหนุ่มก้ามปู ชาวมะกัน หนีข้ามแดน บีบคอเหยื่อ บังคับค้ากาม หนีกบดานไทย
"แบงค์ ศรราม" เคลียร์ชัดทุกปม หลัง "นุ่น ดำดง" ขอลาออก ทำงงกันทั้งคณะลิเก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น