“กกร.” ชี้มาตรการภาษีกระทบหนัก หนุนรัฐเร่งเจรจาสหรัฐ ห่วงมูลค่าส่งออกหาย 1.4 ล้านล้านบาทภายใน 10 ปี

พิษภาษีทรัมป์ "กกร." หั่นคาดการณ์จีดีพีเหลือ 2.0-2.2%/ส่งออก 0.3-0.9% ห่วงเงินบาทแข็งค่าเร็ว

“กกร.” ชี้มาตรการภาษีกระทบหนัก หนุนรัฐเร่งเจรจาสหรัฐ ห่วงมูลค่าส่งออกหาย 1.4 ล้านล้านบาทภายใน 10 ปี – Top News รายงาน

กกร.

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2568 นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) โดยมีนายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธาน สภาหอการค้าไทย และนายกอบศักดิ์ ดวงดี เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย ร่วมในการแถลงข่าว

 

โดยสงครามการค้ากดดันเศรษฐกิจโลกปี 2568 โตต่ำกว่าคาด กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดประมาณการเติบโตของจีดีพีโลกปี 2568 ลงจาก 3.3% เหลือ 2.8% พร้อมเตือนว่าการกีดกันทางการค้าจะส่งผลให้ปริมาณการค้าโลกเติบโตเพียง 1.7% ถือว่าต่ำกว่าช่วง European crisis เมื่อปี 2554 ทั้งนี้ประเทศหลักต่างมีสัญญาณลบ ทั้งสหรัฐฯ ที่ความเชื่อมั่นต่อทิศทางอุตสาหกรรมลดลง ส่วนภาคอุตสาหกรรมของจีนมีคำสั่งซื้อลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปี สะท้อนถึงความเปราะบางระยะข้างหน้าท่ามกลางความไม่แน่นอน รวมทั้งเป็นความเสี่ยงต่อการเติบโตในระยะยาว

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับมาตรการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ กดดันภาคการส่งออก รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและ SME ภาษีศุลกากรที่สหรัฐฯ ประกาศเรียกเก็บจะกระทบสินค้าส่งออกหลายกลุ่ม หากถูกเรียกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ที่อัตรา 36% มูลค่าส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ อาจจะหายไปสะสมประมาณ 1.4 ล้านล้านบาทภายใน 10 ปี นอกจากนี้ ยังเพิ่มแรงกดดันต่อกลุ่มเปราะบาง ทั้งลูกจ้างประมาณ 3.7 ล้านคน และ SME เกือบ 5 พันราย ซึ่งต่างมีข้อจำกัดในการปรับตัวต่อภาวะผันผวนที่รุนแรงขึ้น คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2568 จะขยายตัวที่ 2.0-2.2% ต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ 2.4-2.9% ปัจจัยหลักจากผลกระทบของมาตรการภาษีของสหรัฐฯ โดยประเมินภายใต้สถานการณ์ที่ไทยถูกเก็บภาษีศุลกากรตอบโต้ที่อัตรา 10% ในช่วงไตรมาส 2/68 (หลังมีการเลื่อนขึ้นภาษีเต็มรูปแบบออกไป 90 วัน) และอัตราภาษีในครึ่งปีหลังยังอยู่ที่ 10% ที่ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกทั้งปีเติบโตเพียง 0.3-0.9% จากประมาณการเดิมที่ 1.5-2.5% ส่วนอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำที่ 0.5-1.0% ลดลงจากประมาณการเดิมเช่นกัน แต่ถ้าไทยถูกเรียกเก็บภาษีที่อัตรา 36% ในครึ่งปีหลัง จีดีพีปี 2568 จะโตเพียง 0.7%-1.4% เหตุจากการส่งออกทั้งปีอาจหดตัวได้มากถึง -2% ทั้งนี้ ปัจจัยลบจากสงครามการค้าสามารถก่อให้เกิดหลุมรายได้ขนาดใหญ่ถึง 1.6 ล้านล้านบาทในช่วง 5 ปีข้างหน้า จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อลดภาษีให้สำเร็จ ประกอบกับยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในภาวะที่ตลาดสินค้ามีการแข่งขันรุนแรงขึ้น

ทั้งนี้ที่ประชุม กกร. สนับสนุนภาครัฐในการดำเนินแนวทางการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดจากสถานการณ์เบี่ยงเบนทางการค้า (Trade Diversion) จากมาตรการขึ้นภาษีต่างตอบแทน (Reciprocal Tariff) ของสหรัฐฯ โดยเฉพาะการใช้มาตรการปกป้องการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure) เพื่อช่วยปกป้องผู้ประกอบการภายในประเทศไทยที่มีแนวโน้มที่จะได้รับความเสียหายจากการนำเข้าที่เพิ่มมากขึ้นมากกว่าปกติ ซึ่งภาครัฐจะต้องบูรณาการความร่วมมือในการเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้าและส่งออก มีการใช้ระบบดิจิทัล e-Government เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ ติดตาม และเฝ้าระวังสถานการณ์สินค้านำเข้าจากการเบี่ยงเบนทางการค้า รวมทั้งมีการปรับกระบวนการ โดยให้ภาครัฐสามารถเริ่มเปิดไต่สวนได้ทันทีหากพบว่ามีการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นมากกว่าปกติเพื่อให้สามารถป้องกันผลกระทบได้ทันต่อสถานการณ์ นอกจากนี้ กกร. ยังให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการสวมสิทธิ์สินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหรัฐฯ โดยท่านนายกรัฐมนตรีได้มีการหารือร่วมกับ กระทรวงพาณิชย์ สภาอุตสาหกรรมฯ และสภาหอการค้าฯ ถึงแนวทางการเพิ่มความเข้มงวดในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า Form C/O ทั่วไปของไทยให้มากขึ้น ซึ่งเห็นชอบร่วมกันว่าในช่วงเข้มงวดนี้ จะให้กรมการค้าต่างประเทศเป็นเพียงหน่วยงานเดียวที่จะออกหนังสือรับรอง Form C/O ทั่วไป สำหรับรายการสินค้าเฝ้าระวังสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดสหรัฐฯ ที่ปัจจุบันกรมการค้าต่างประเทศ มีการประกาศรายการสินค้าเฝ้าระวังแล้ว จำนวน 65 รายการ เพิ่มขึ้นจากเดิม 49 รายการ

 

 

โดย กกร.มองว่า นอกเหนือจากการที่ไทยจะต้องเร่งเจรจากับสหรัฐในเรื่องการปรับลดกำแพงภาษีแล้วยังต้องติดตามผลการเจรจาของประเทศคู่แข่งของไทย เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งหากประเทศเหล่านี้สามารถเจรจาขอยกเว้นหรือลดอัตราภาษีนำเข้าได้ต่ำกว่าไทย ก็อาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดสหรัฐฯ ได้ ขณะเดียวกันการที่สหรัฐฯ และจีนได้ส่งสัญญาณที่จะเตรียมการเจรจาเพื่อคลายความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสองประเทศ ก็เป็นสัญญานบวกต่อการค้าโลก

สำหรับที่ประชุม กกร. มีความกังวลต่อสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว มาอยู่ในช่วง 32.5-32.7 บาทต่อดอลลาร์ฯ ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าระดับที่ธุรกิจแข่งขันได้ โดยมองว่าควรให้ความสำคัญกับการดูแลค่าเงินไม่ให้แข็งค่าหรือผันผวนเร็วจนเกินไป และการสื่อสารฯเชิงรุกเพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถรับรู้และปรับตัวได้ทันการณ์ อีกทั้งยังจำเป็นต้องมีการส่งผ่านประโยชน์จากค่าเงินบาทแข็ง เช่นต้นทุนนำเข้าสินค้าพลังงาน และวัตถุดิบโดยเฉพาะในภาคเกษตรฯ ที่ลดลงไปยังภาคการผลิตและภาคประชาชนให้ได้อย่างเป็นระบบ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ลูกสส.คนดัง" สงขลา สั่งสมุนรุมทำร้ายตำรวจ ไม่พอใจถูกห้ามถ่ายรูปในหน่วยเลือกตั้ง
ยะลาคึกคัก จัดพิธี "เวียนเทียน" เที่ยงวัน เนื่องในวันวิสาขบูชา คุมเข้มความปลอดภัยพุทธศาสนิกชน
"รอยตุ๊" โพสต์ขอร้อง "ชัชชาติ" อย่าลงสมัครผู้ว่าฯกทม.อีกสมัย คอมเมนต์เห็นด้วยพรึ่บ
"โฆษกภูมิใจไทย" ปฎิเสธข่าว คว่ำร่างพ.ร.บ.งบประมาณ 69 ชี้ไม่มีเหตุไม่สนับสนุน กม.เป็นประโยชน์พัฒนาประเทศ
รวบ “เจ๊เจี๊ยบ” หลอกคนไทยไปทำงานต่างประเทศ ผู้เสียหายนับร้อย เสียหายกว่า 30 ล้านบาท
"กรมโยธาฯ" แจง 3 ข้อ ปมเหตุก่อสร้างซุ้มประตูเมือง จ.อุดรธานี ล่าช้า
โฆษกเพื่อไทย สยบลือ ร้องหยุดโจมตี "ภูมิใจไทย" พร้อมคว่ำงบฯ 69 ตอบโต้คดีฮั้วสว. ยันพรรคร่วมฯทำงานปกติ
“สมศักดิ์” ย้ำไม่พบผู้ป่วย "โรคแอนแทรกซ์" เพิ่ม ยังคงเดิม 4 ราย เตือนประชาชนพื้นที่เสี่ยง เฝ้าระวังใกล้ชิด
"อ.แก้วสรร" สวนคำ "ทนายวันชัย" ตัดวิกฤตออกก็ได้ แต่พิรุธพฤติกรรมหมอ 2 รพ. ชี้ชัด "ทักษิณ" ป่วย สมควรพ้นคุกนอนชั้น 14 หรือไม่
ผู้นำญี่ปุ่นวอนสหรัฐยกเลิกกำแพงภาษีทั้งหมด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น