ผอ.รพ.สิชล เล่าละเอียดคืนอันยุ่งเหยิงของทีมแพทย์ ขณะดูแลผู้ป่วยโควิดภาวะปอดบวม ลั่นสู้เต็มที่กับผู้ป่วยทุกราย

ผอ.รพ.สิชล เล่าละเอียดคืนอันยุ่งเหยิงของทีมแพทย์ ขณะดูแลผู้ป่วยโควิดภาวะปอดบวม ลั่นสู้เต็มที่กับผู้ป่วยทุกราย

นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสิชล จ.นครศรีธรรมราช ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก โดยระบุว่า #เป็นอีกคืนที่ยุ่งเหยิงของทีมแพทย์ พยาบาล และพนักงานลำเลียงผู้ป่วย เมื่อพยาบาลในหอผู้ป่วยโควิดรายงาน แพทย์ประจำหอผู้ป่วยโควิด ว่ามีผู้ป่วยอายุ68ปี รับไว้นอนในโรงพยาบาลเป็นวันที่8 แล้ว แพทย์วินิจฉัยว่ามีภาวะปอดบวมตั้งแต่วันแรกรับ ได้ขอยาต้านเชื้อมาให้ทันที ค่าอ๊อกซิเจนในเลือด 98 % สัญญาณชีพปกติ ชีพจร 85 ไม่มีไข้ ผู้ป่วยรู้สึกสบายดี ไม่เหนื่อย ไม่หอบ ได้เอกซเรย์ปอดเป็นระยะในวันที่ 1,3,5 และวันที่8 ปวดบวมจากเอกซเรย์เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ค่าอ๊อกซิเจนในเลือดเริ่มลดลง จึงให้ย้ายผู้ป่วยเมื่อประมาณเที่ยงคืนลงมาไว้ห้องแรงดันลบเพื่อสะดวกในการปฏิบัติการกู้ชีพ หลังจากนั้นได้ติดตามค่าอ๊อกซิเจนในเลือด ลดเหลือ 96-95-93% ทีมแพทย์จึงตัดสินใจ ใส่ท่อช่วยหายใจ โดยใช้ทีมวิสัญญีแพทย์ วิสัญญีพยาบาล ที่มีความชำนาญ สวมชุดป้องกันสูงสุด PAPR ที่มีระบบดูดอากาศผ่านตัวกรอง มาที่ชุดคลุมศีรษะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ในระหว่างปฏิบัติการ ใช้เครื่องมือส่องใส่ท่อช่วยหายใจชนิดพิเศษ พร้อมให้ยาระงับความรู้สึก ลดการต่อต้านเมื่อใส่ท่อ เนื่องจากอาจทำให้ผู้ป่วย ไอหรือจาม ทำให้เชื้อฟุ้งกระจาย ได้

หลังจากนั้นใช้เครื่องช่วยหายใจควบคุมด้วยปริมาตรและความดัน อัตโนมัติเพื่อพยุงการหายใจ ปรับตั้งค่า ให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกต้านเครื่องหัวหน้าทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่อำนวยการอยู่ด้านนอก ได้ตัดสินใจสวมชุด PPE เข้าไปประเมินอาการ สัญญาณชีพ ผู้ป่วยด้วยตนเอง พร้อมปรับการตั้งค่าเครื่องช่วยหายใจให้เหมาะกับสภาพร่างกายผู้ป่วย และได้เอกซเรย์ปอดอีกครั้ง วันที่11 พบว่าภาพทางรังสี มีรอยโรคแย่ลงไปกว่าเดิมมาก

หลังใช้เครื่องช่วยหายใจ ได้ตั้งค่าปรับเพิ่มอัตราการไหลของอ๊อกซิเจนให้สูงขึ้น ค่าอ๊อกซิเจนในเลือดปรับตัวสูงขึ้น 99% ประเมินอาการโดยรวมเช้าวันนี้ น่าพอใจ ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี สัญญาณชีพคงที่ แพทย์ถามผู้ป่วยว่าเหนื่อยมั้ย โยกส่ายหัวเพื่อบอกว่าไม่เหนื่อย มีกำลังใจดี ยังสู้ไหว ทีมแพทย์ได้ปรับการให้ยาใหม่อีกครั้ง โดยให้ยาต้านไวรัสต่อเนื่องไปอีก ให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ปรับยาต้านการอักเสบ จัดทีมพยาบาลเสริมกำลังในการเฝ้าดูแลติดตามผู้ป่วย ใกล้ชิด ในผู้ป่วยสูงอายุจึงเป็นความเสี่ยงอย่างมากที่ไม่อาจไว้วางใจ แม้ในช่วง 5-8วันแรกจะรู้สึกสบายดี แต่อาการและพยาธิสภาพในปอดเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วมาก หากอยู่ในสถานที่ไม่พร้อม จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว เพราะร่างกายขาดอ๊อกซิเจน

ถึงวันนี้ก็ไม่อาจวางใจ อยู่ที่สภาพร่างกายและการฟื้นตัวของปอดของผู้ป่วยเอง ได้มากน้อยแค่ไหน แต่ทีมบุคลากรทางการแพทย์สู้เต็มที่กับผู้ป่วยทุกราย
อีกมุมหนึ่งของทีมแพทย์ในการดูแลผู้ป่วยโควิด19
จึงขอส่งกำลังใจให้กับทุกท่าน อยู่บ้าน อดทนกันอีกหน่อย ไม่นานก็ผ่านไปได้

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สวธ. จัดประกวด Cosplay World Thailand 2025 หนุนคนรุ่นใหม่ แสดงพลัง Soft Power ผ่านศิลปะไทยประยุกต์ ต่อยอดสู่อาชีพในอนาคต
หลายหน่วยงาน เข้าช่วยเหลือ เด็กออทิสติก หลังแม่ผูกคอหนีปัญหาหนี้สิน ก่อนฟื้นคืนชีพต่อหน้าเจ้าหน้าที่
ด่านผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว เงียบเหงา คนกัมพูชาทำงานในไทยรอดูสถานการณ์หลังไทยผ่อนปรน
"กรมบังคับคดี" ร่วมงานมหกรรมการเงินหาดใหญ่ MONEY EXPO 2025 เดินหน้าจัดงานไกล่เกลี่ยหนี้ ช่วยประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเป็นธรรม
"นิพนธ์" สวนเดือดผู้บริหารปชป. ลั่นเลือดแท้รับได้มติพรรค แต่รับไม่ได้พวกใช้อำนาจสั่ง ขู่ไล่คน เพื่อบังคับยัดเยียด ยอมรับมติโจร
RBSO ร่วมกับ สวธ. จัดการแสดงคอนเสิร์ต Royal Concert “A Celebration of Thai Masters” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
"วิโรจน์" หยันสุด "พิชัย" บินเจรจาภาษีการค้าสหรัฐไร้ข้อสรุป หยันเหมือนมวยโดนจระเข้ฟาดหาง จะฟื้นตัวทันเดดไลน์หรือไม่
ปิดประตูตีมาร! หยุดอนุญาตธุรกิจรักษ์โลกจอมปลอม ปูพรม ฟาดรีไซเคิล EEC เถื่อน
ลือ ! เปิดชายแดนหาดเล็ก 7 หรือ 10 กรกฎาคมนี้
"เอกนัฏ" เอาจริง จัดการบริษัทลักลอบนำกากอุตสาหกรรมม ไปฝั่งใต้ดินในพื้นที่โซน EEC

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น