“เผ่าภูมิ” แจงชัดแนวคิดปรับ KPI ธนาคารออมสิน มุ่งสร้างแรงจูงใจช่วยสังคม เพิ่มโอกาส SME เข้าถึงสินเชื่อ

"เผ่าภูมิ" แจงชัดแนวคิดปรับ KPI ธนาคารออมสิน มุ่งสร้างแรงจูงใจช่วยสังคม เพิ่มโอกาส SME เข้าถึงสินเชื่อ

เผ่าภูมิ” แจงชัดแนวคิดปรับ KPI ธนาคารออมสิน มุ่งสร้างแรงจูงใจช่วยสังคม เพิ่มโอกาส SME เข้าถึงสินเชื่อ

สืบเนื่องจากการมีแนวคิดปรับเปลี่ยนวิธีวัด KPI ธนาคารออมสิน ล่าสุด นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์พิเศษทีมข่าว TOP NEWS ถึงการปรับเปลี่ยนดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ของธนาคารออมสิน จากการวัดกำไรของธนาคารเพื่อเป็นดัชนีชี้วัดการจ่ายโบนัสพนักงาน เป็นการกำหนดค่าดัชนี โดยการให้ธนาคารเข้าไปช่วยเหลือสังคม คือ หากสามารถช่วยสังคมได้มาก พนักงานก็จะได้โบนัสมากขึ้นไปด้วย ว่า บทบาทของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยบทบาทแรกที่มอง และควรจะเป็น คือ การไปเติมเต็มช่องว่างทางการเงิน ที่ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปอาจไม่ได้ให้น้ำหนักในการบริหารธุรกิจ คือการเข้าไปช่วยเหลือประชาชน และ ดูแลกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูง

 

เผ่าภูมิ แจงชัดแนวคิดปรับ KPI ธนาคารออมสิน

ทั้งนี้ ตนเข้าใจว่าธนาคารพาณิชย์ ต้องทำธุรกิจเพื่อผลกำไร เพื่อกำไรของผู้ถือหุ้น จึงถือเป็นช่องว่างทางการเงิน ที่ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ มีหน้าที่จะต้องคิดวิธีการนอกเหนือไปจากการมุ่งทำกำไร คือ การเข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชน และ สนองนโยบายทิศทางของรัฐบาล ในการดูแลทุกข์สุขประชาชน มากกว่าการมุ่งกำไรเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจองค์กร

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ดังนั้น เมื่อโจทย์หลักเป็นเช่นนี้ การทำให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีลักษณะเป็นเเบบนี้ ในส่วนของ KPI หรือปัจจัยขับเคลื่อน หรือ แรงจูงใจในการขับเคลื่อนองค์กรก็จะเป็นจะต้องสะท้อนตรงจุดนั้น จึงเป็นที่มาของเหตุผลว่า ทำไมนโยบายของกระทรวงการคลังจึงต้องลดปัจจัยทางด้านการสร้างผลกำไรและเพิ่มปัจจัยทางด้านการช่วยเหลือประชาชนเข้าไปเติมเต็ม แล้วก่อแรงจูงใจในการไปสร้างผลตอบแทนให้กับพนักงานในองค์กรนั้นๆ

 

 

ส่วนประเด็นที่หลายคนเป็นห่วง จากกรณี นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พยายามจะปลดภาระธนาคารออมสิน โดยการนำเงิน 1 หมื่นล้านบาท ไปชำระหนี้แทนกลุ่มเปราะบาง จะเป็นวิธีการหรือแนวคิดขัดแย้งกันหรือไม่

นายเผ่าภูมิ อธิบายว่า ก่อนอื่นต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อน ธนาคารออมสินเป็นสถาบันการเงินทึ่แข็งแกร่งมาก และมีกำไรสูงมาก จนกลายเสถียรภาพอย่างที่ทุกคนรับรู้ ประเด็นสำคัญ คือ ที่ผ่านมา ธนาคารออมสินได้มีการช่วยเหลือประชาชนตามนโยบายรัฐมาโดยตลอด ทำให้เป็นธนาคารออมสินเป็นธนาคารต้นแบบที่เราอยากให้เกิดขึ้นเพิ่มเติม และ ขยายมุมมองในการบริหารจัดการองค์กรตามแนวทางนี้ให้ดียิ่งขึ้น

 

จากปัจจุบัน การประเมินรัฐวิสาหกิจ หรือ ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)ในการกำหนดหรือประเมิน KPI ทำให้ระบบการประเมินจะต้องสะท้อนพันธกิจอื่น ๆ โดยไม่ใช่เป้าหมายแท้จริง เช่น ในส่วนของพันธกิจของธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ที่ต้องเน้นในการช่วยเหลือประชาชน ก็ต้องเปลี่ยนกลุ่มเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจ ซึ่งปัจจุบันมี 6 ถึง 7 กลุ่ม โดยธนาคารออมสิน ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 ที่ใช้ผลกำไรในการคำนวณโบนัส หากธนาคารยิ่งทำกำไรมาก โบนัสพนักงานก็จะมากขึ้นตามไปด้วย

เพราะฉะนั้นแรงจูงใจของพนักงานคือ การทำกำไรเพื่อให้มีโบนัสจำนวนมาก ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติและเข้าใจได้ ดังนั้น เราจึงพิจารณาตัดแฟคเตอร์ตรงนั้นออก โดยธนาคารออมสินไม่ต้องมุ่งทำกำไรมาก ๆ ก็ได้ แต่ควรไปช่วยเหลือประชาชนให้มากขึ้น และ ทำตามนโยบายหรือการช่วยเหลือ พี่น้องประชาชน เพื่อจะทำให้ค่า KPI ตรงนั้นให้สูงขึ้น แล้วนำผลที่ได้มาพิจารณาเรื่องโบนัส หรือ ผลตอบแทนพนักงาน แทนผลกำไรเดิม ๆ ที่ธนาคารออมสิน หรือ ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เคยยึดปฏิบัติกันมา

เมื่อสอบถามถึงที่มาของแนวคิดดังกล่าว นายเผ่าภูมิ ชี้แจงว่า “โจทย์หลักๆ คือช่องว่างทางการเงินที่เห็นอยู่ คนที่เป็น SMEs ที่เดือดร้อน SMEs ที่มีความเสี่ยง เหตุใดจึงเข้าไม่ถึงสินเชื่อ และเหตุใดจึงถูกกีดกันออกจากสินเชื่อและโครงการต่างๆ ถูกกีดกันออกจากการเติบโตและการลงทุนใหม่

ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องดำเนินการ 2 แบบ คือการปรับองค์กรหรือสถาบันการเงินของรัฐให้มารองรับตรงจุดนี้ และการปร้บกลไกที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูดซับความเสี่ยงของ SMEs ซึ่งรัฐบาลมีโครงการรองรับอยู่แล้ว เช่น โครงการค้ำประกันสินเชื่อ เพื่อให้ SMEs สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้น

 

 

และเหตุผลที่ต้องใข้ KPI ในการขับเคลื่อนแนวคิด เพราะ KPI ถือเป็นแรงจูงใจให้รัฐวิสาหกิจ ดำเนินการในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ดังนั้น เมื่อรัฐบาลต้องการให้รัฐวิสาหกิจเข้าไปช่วยสังคม หรือปล่อยสินเชื่อ เพื่อให้เม็ดเงินลงไปสู่กลุ่มที่เข้าไม่ถึงสินเชื่อ รัฐบาลจึงจำเป็นที่จะต้องปรับ KPI เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำสิ่งนั้น

อีกทั้งยังเป็นเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการเห็นธนาคารรัฐวิสาหกิจของรัฐเข้าไปช่วยเหลือประชาชน หรือ เติมเต็มในสิ่งที่ธนาคารพาณิชย์ไม่อยากทำ ซึ่งแนวทางนี้คือสิ่งที่ตนต้องการสร้างให้เกิดขึ้นจริง”

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"เทศบาลตำบลกะรน" ภูเก็ต เร่งอพยพชาวบ้าน หลังฝนตกหนักต่อเนื่อง หวั่นดินสไลด์ซ้ำ
สุดยิ่งใหญ่! งานฉลอง “เทศกาลคเณศจตุรถี 2567” ลอยองค์พระพิฆเนศกลางอ่าวพัทยา ส่งองค์มหาเทพกลับสู่วิมานเบื้องบน ตามความเชื่อของชาวฮินดู
ชาวบ้านหนองปลาไหลโวยโรงงานมีการปล่อยน้ำเสียลงคลองส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและกลิ่นนานนับปี นายกสั่งเร่งแก้ไขทันที
สพฐ.สั่งเด้ง "ผอ.สพม.สระแก้ว" ปมครูสาวสอบติดอันดับ 1 แต่ชื่อล่องหน
"นายกฯ" ให้คำมั่น เดินหน้ามาตรการเยียวยาน้ำท่วม ลดขั้นตอนยุ่งยาก เน้นทำรวดเร็ว ช่วยชาวบ้านทุกมิติ ให้กลับสู่สภาวะปกติ
3 ชนเผ่าพื้นเมือง เขมร กูย ลาว ร่วมกันประกอบพิธีกรรมบูชาบรรพบุรุษ แบบโบราณ และทำข้าวต้มใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
สื่อจีนเตรียมถ่ายทอดงานฉลองวันไหว้พระจันทร์ทั่วโลก
ชุดปฏิบัติการ USAR กองทัพเรือ เร่งฟื้นฟูหลังน้ำลด บรรเทาความเดือดร้อนชาวเชียงราย
ญาติร้องเอาผิด "รองมิสแกรนด์" เชียงใหม่ ไม่แสดงความรับผิดชอบ ซ้ำยังพูดจาไม่ดี หลังชนดะเจ็บ 3 ราย 
บริษัท ดับเบิ้ล พี แลนด์ นิคมอุตสาหกรรมบลูเทคซิตี้ สร้างเศรษฐกิจชุมชน ดันโครงการทุ่งสมุนไพรป่าชายเลน สร้างความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่น คว้ารางวัล ISB Award จาก การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น