logo

“บอร์ดไตรภาคีค่าจ้าง” ถกเดือด โยนอนุฯจังหวัดหาข้อสรุปเงื่อนไขปรับเป็น 400 หรือมากว่า นายจ้างติงเร็วไปขอจบในเดือนก.ค.

"บอร์ดไตรภาคีค่าจ้าง" ถกเดือด โยนอนุฯจังหวัดหาข้อสรุปเงื่อนไขปรับเป็น 400 หรือมากว่า นายจ้างติงเร็วไปขอจบในเดือนก.ค.

“บอร์ดไตรภาคีค่าจ้าง” ถกเดือด โยนอนุฯจังหวัดหาข้อสรุปเงื่อนไขปรับเป็น 400 หรือมากว่า นายจ้างติงเร็วไปขอจบในเดือนก.ค.

หลังการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 22 หรือ ไตรภาคี ครั้งที่ 5/2567 โดยมี นายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง นายอรรถยุทธ ลียะวณิช ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง นายวีรสุข แก้วบุญปัน ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง นักวิชาการ ตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือ โดยใช้ระยะเวลาหารือร่วมกันกว่า 3 ชั่วโมง

บอร์ดไตรภาคีค่าจ้าง ถกเดือด

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยนายไพโรจน์ กล่าวว่า วันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการไตรภาคีมีความเห็นว่า ในการพิจารณาขึ้นค่าจ้างจะให้คณะอนุกรรมการไตรภาคีจังหวัด เป็นผู้พิจารณาว่าในจังหวัดแต่ละจังหวัดเห็นว่า จะต้องมีการขึ้นค่าจ้าง 400 บาทหรือไม่ มีกิจการใดที่จำเป็นจะต้องขึ้นค่าจ้างให้ทำรายการเสนอ และสุดท้ายเห็นด้วยกับการขึ้นค่าจ้างในเดือนตุลาคมหรือไม่ เพื่อยืนยันว่าคณะกรรมการไตรภาคีตัดสินใจดำเนินการภายใต้บริบทที่ไม่มีอำนาจการเมืองมาแทรกแซง โดยจะให้เกียรติคณะอนุกรรมการไตรภาคีจังหวัด พิจารณากรอบแนวคิดค่าครองชีพของแต่ละจังหวัด สภาพเศรษฐกิจ สภาพเงินเฟ้อ และราคาสินค้าในแต่ละแต่ละจังหวัด เนื่องจากแต่ละจังหวัดมีบริบทที่ไม่เหมือนกัน

 

จากนั้น ให้คณะอนุกรรมการไตรภาคีจังหวัด นำเสนอข้อมูลมายังคณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรอง ในเดือน ก.ค. เพื่อพิจารณา ถึงความจำเป็นในการปรับขึ้นค่าจ้างก็จะเสนอมายังคณะกรรมการไตรภาคีชุดใหญ่เพื่อพิจารณาเป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อให้การดำเนินการค่าจ้างเป็นไปตามไทม์ไลน์ที่กำหนดไว้ ( ต.ค.)

นายไพโรจน์ ยืนยัน การดำเนินการทั้งหมดไม่ได้เป็นการเร่งรีบ แต่หากจะให้คณะอนุกรรมการเก็บข้อมูลเพื่อที่จะไปปรับขึ้นค่าจ้างในช่วงปลายปีถือว่านานเกินไป โดยระยะเวลา 2 เดือน ในการเก็บข้อมูลและพิจารณาของคณะอนุกรรมการไตรภาคีจังหวัดถือว่ามีความเหมาะสม เพราะการพิจารณาจะดูความจำเป็น หากนานเกินไปก็จะไม่ใช่บริบทของการขึ้นค่าแรง โดยการปรับขึ้นค่าแรงเป็นการทำตามเหตุผลและความจำเป็น ซึ่งตนในฐานะภาครัฐต้องทำหน้าหล่อหลอมความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง จึงต้องใช้มติเสียงส่วนใหญ่เพื่อตัดสิน

 

 

นายไพโรจน์ ยืนยัน เรื่องสูตรการคำนวนค่าจ้างไม่ได้มีการล้มสูตรเดิม แต่เป็นการให้อิสระคณะอนุกรรมการไตรภาคีจังหวัดเป็นผู้เสนออัตราค่าจ้างของแต่ละจังหวัด ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ที่ 400 บาทต่อวัน บางจังหวัดอาจจะมีค่าแรงที่เกินหรือต่ำกว่า 400 บาทต่อวัน จึงให้อิสระในการนำเสนอค่าจ้าง เพื่อให้คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองพิจารณาและคณะกรรมการไตรภาคีชุดใหญ่ตัดสินใจ ส่วนการเสนอปรับขึ้นค่าแรงเท่ากันทั่วประเทศ ปรับขึ้นแบบรายอาชีพ หรือปรับขึ้นแบบรายจังหวัด สามารถเป็นไปได้ทั้งหมด โดยคณะกรรมการชุดใหญ่จะนำไปพิจารณาอีกครั้ง

ส่วนกรณีที่การปรับขึ้นค่าแรง 2 ครั้งต่อปี จะผิด พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา87 หรือไม่ ปลัดกระทรวงแรงงาน ระบุว่า กระทรวงแรงงานทำตามกฎหมาย และในกฎมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าไม่ให้ขึ้นค่าแรงเกิน 1 ครั้งต่อปี

 

 

สำหรับมติที่ประชุม ได้มีมติเห็นชอบดังนี้

1. ให้อนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จังหวัดจัดประชุมเพื่อเสนอแนะอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดภายในเดือนกรกฎาคม 2567 และเสนอผลการประชุมให้คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองและคณะกรรมการค่าจ้าง ใช้ประกอบการพิจารณา

2. แนวทางการพิจารณาให้ใช้สูตรการคำนวณอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามมติที่ประชุมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่นำมิติของเวลามาใช้ในสูตรประกอบกับการพิจารณาตัวแปรเชิงคุณภาพ ตามมาตรา 87 โดยคำนึงถึง ความจำเป็นในการครองชีพของลูกจ้าง ความสามารถในการจ่ายของนายจ้างและเศรษฐกิจและสังคมในบริบทของแต่ละจังหวัด

คณะกรรมการค่าจ้างจะได้นำเสนออัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัดและข้อมูลเศรษฐกิจสังคมและรายงานในภาพรวมระดับประเทศมาประกอบการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างต่อไป

 

 

 

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการหารือจบนายอรรถยุทธ ลียะวณิช ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ได้เดินออกมาจากห้องประชุมด้วยสีหน้าเคร่งเครียด พร้อมบอกสื่อมวลชนว่า วันนี้ จะไม่ขอแถลงข่าวร่วมกับปลัดกระทรวงแรงงาน แต่จะขอแยกแถลงข่าวก่อนปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมระบุว่า การหารือในวันนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป ทั้งภาคบริการ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม โดยจะมีการนำกลับมาเสนอใหม่ในการปรับขึ้นค่าจ้างรายอาชีพ ซึ่งตนได้เสนอให้มีการทำวิจัยเพื่อนำมาใช้กับการคำนวนค่าแรง และวันนี้ ยังมีมติที่ค่อนข้างเร่งรีบที่จะให้อนุคณะกรรมการจังหวัดไปพิจารณาค่าจ้างกลับมาโดยเร็วและให้เสร็จสิ้นภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อให้คณะอนุกรรมการวิชาการและกลั่นกรองต่อไป พร้อมย้ำว่าการพิจารณาครั้งนี้มีข้อสังเกต เรื่องความเร่งรีบดำเนินการ ซึ่งอาจทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ครอบคลุมและเพียงพอได้

 

 

จากปกติที่การปฏิบัติหน้าที่ จะให้คณะอนุกรรมการจังหวัดทำการเก็บข้อมูลเพื่อพิจารณารายละเอียดเป็นรายจังหวัดไปจนถึงเดือน ส.ค. รวมถึงในช่วงเดือนก.ย.จะมีการนำตัวเลขเงินเฟ้อ ดัชนีค่าครองชีพ ดัชนีมวลรวมของจังหวัด เพื่อให้คณะอนุกรรมการจังหวัดพิจารณาในเดือน ก.ย. และส่งมาให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองพิจารณาก่อนนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่เพื่อพิจารณาในเดือน พ.ย. และมาประกาศใช้ในเดือนม.ค.ต่อไป

นายอรรถยุทธ กล่าวอีกว่า วันนี้ที่ประชุมมีมติ 5:7 ให้ยกเลิกสูตรคำนวนค่าเเรงเดิมที่ได้ทดลองใช้ในเดือนก.พ.ที่ผ่านมาและใช้สูตร ที่นายจ้างไม่ยอมรับ คือการจะให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างในอัตราใดก็ได้ และไม่มีเพดานของอัตราค่าจ้าง พร้อมทั้งยืนยันว่า ค่าจ้างขั้นต่ำจะต้องขึ้นตามวิถีทางของพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา87 ที่ได้มีการกำหนดไว้ โดยหลังจากนี้ทางด้าน บอร์ดไตรภาคีจะนัดหารือกันอีกครั้ง ในวันที่ 19 มิถุนายน

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"นายกฯ" ตามติดปัญหาน้ำกินใช้ ลำพูน เน้นสะอาด ปลอดภัยปชช. "กรมทรัพยากรน้ำบาดาล"ประสานงบฯนำพัฒนาต่อเนื่อง
ฮือฮาโซเชียล คลิปภาพว่อน "วัฒนา อัศวเหม" โผล่อวยพร "สุนทร" ชิงนายกอบจ.สมุทรปราการ
สลด อดีตมือสืบสวน เครียดปัญหาโรครุมเร้า ยิงตัวเองดับคามหาวิทยาลัยชื่อดัง ย่านฝั่งธนฯ
โดนแจ้ง 3 ข้อหาหนัก "ส.ต.อ." มือยิงหนุ่มเมียนมา ดับคาโรงพยาบาล
"สุรศักดิ์" ควง "เลขา​ กพฐ." ลุยตรวจสนามสอบครูผู้ช่วย สพฐ.ปี 67 เผยจัดสอบ 227 แห่งทั่วประเทศ 
"คิดดีแคมป์" เปิดประสบการณ์ใหม่เยาวชน รู้เท่าทันพนันออนไลน์ ให้ความรู้-สนุก แบบจัดเต็ม
"เยาวชน ภาคอีสาน" ปล่อยพลังคิดดีแคมป์ พร้อมลุยทุกกิจกรรม หวังนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่
"สมชัย" ขอบคุณ กกต. ที่กล้าตัดสินใจ เดินหน้าเลือก สว. หวั่นระเบียบใหม่ส่อโดนร้องโมฆะ
Kid dee จัดกิจกรรม “รู้ทันพนันออนไลน์”
"อนุทิน" ย้ำภูมิใจไทยไม่แก้ 112 ชี้สถาบันฯสำคัญต้องคุ้มครอง ห้ามก้าวล่วง เชื่อคดีทักษิณไม่ทำเพื่อไทยกลับลำ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น