logo

“พายุฤดูร้อน” เกิดจากอะไร ช่วงเดือนไหนต้องระวัง รู้ก่อนเตรียมรับมือ

ไขข้อสงสัยหมดเปลือก "พายุฤดูร้อน" เกิดจากอะไร ช่วงเดือนไหนต้องระวัง รู้ก่อนเตรียมรับมือ

Top news พามาทำความรู้จัก “พายุฤดูร้อน” กรมอุตุนิยมวิทยา ให้ความหมาย พายุฤดูร้อน หรือ พายุฟ้าคะนอง ว่ามีสาเหตุมาจากการหมุนเวียนของอากาศ แปรปรวนอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก มีลมกระโชกแรง และมีฟ้าผ่า บางครั้ง อาจมีลูกเห็บตกลงมาด้วย มักเกิดราว กลางเดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม โดยฝนที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลของพายุฤดูร้อนมักจะตกไม่นาน บางครั้งเกิดขึ้นเพียง 15-30 นาที และเกิดขึ้นในพื้นที่แคบ ๆ ประมาณ 10-20 ตารางกิโลเมตร

 

ไขข้อสงสัยหมดเปลือก "พายุฤดูร้อน" เกิดจากอะไร ช่วงเดือนไหนต้องระวัง รู้ก่อนเตรียมรับมือ

ข่าวที่น่าสนใจ

พายุฤดูร้อน จะก่อตัวจากเมฆคิวมูลัส ซึ่งเป็นเมฆที่มีลักษณะปุยคล้ายก้อนสำลี ยอดมนกลมคล้ายกะหล่ำดอก ฐานเมฆแบนเรียบ เมื่อเมฆคิวมูลัสขยายตัวขึ้นและมีกระแสลมแนวตั้งแรงขึ้นก็จะขยายตัวสูงใหญ่เป็นเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งเป็นเมฆพายุฟ้าคะนอง การเกิดเมฆพายุฟ้าคะนองในบรรยากาศต้องมี อากาศร้อนและมีความชื้นมาก
อากาศไม่มีเสถียรภาพ และ มีปัจจัยที่ก่อให้เกิดการลอยตัวขึ้นของอากาศ เช่น อุณหภูมิสูงที่พื้นดิน มวลอากาศเคลื่อนตัวสูงขึ้นเมื่อพัดผ่านภูเขาหรือมีการปะทะกันของมวลอากาศที่แตกต่างกัน

เมื่ออากาศที่อยู่ใกล้ผิวพื้นมีอุณหภูมิสูง ประกอบกับลมที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยเป็นลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดมาจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ถ้ามีลมเหนือซึ่งมีความเย็น พัดลงมาจากประเทศจีนก็จะทำให้อากาศสองกระแสกระทบกัน ทำให้การหมุนเวียนของอากาศแปรปรวนขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับพลัน เป็นเหตุให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองอย่างแรงและรวดเร็ว

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) อธิบายเรื่องพายุฤดูร้อนไว้ว่า พายุฤดูร้อน หรือ พายุฟ้าคะนองจะเกิดขึ้นในฤดูร้อน หรือในช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน ขณะที่อุณหภูมิในภาคต่าง ๆ เริ่มสูงขึ้น เนื่องจากแกนของโลกเริ่มเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ และดวงอาทิตย์จะเคลื่อนมาอยู่ที่บริเวณเส้นศูนย์สูตร ทำให้อากาศร้อนอบอ้าวและชื้นในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและตอนบนของภาคกลางโดยทั่วไปพายุฤดูร้อนนี้ มักเกิดขึ้นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

ไขข้อสงสัยหมดเปลือก "พายุฤดูร้อน" เกิดจากอะไร ช่วงเดือนไหนต้องระวัง รู้ก่อนเตรียมรับมือ

สิ่งบอกเหตุก่อนเกิด พายุฤดร้อน

– อากาศร้อนมาหลายวัน และในวันที่จะเกิดพายุฤดูร้อนอากาศจะร้อนอบอ้าวมากขึ้น
– ลมสงบ
– ท้องฟ้ามัว ทัศนวิสัยไม่ดี
– มีเมฆทวีมากขึ้นในท้องฟ้า ลักษณะที่ฝนจะตกมีมากขึ้น
– ลมเริ่มพัดแรงขึ้นในทิศทางใดทางหนึ่ง มีลักษณะเป็นลมกระโชกเป็นครั้งคราว
– เมฆก่อตัวหนาแน่นอย่างรวดเร็ว และมีฟ้าแลบ และมีฟ้าคะนองในระยะไกล

 

ความรุนแรงของพายุเกิดจากความแตกต่างกันของอุณหภูมิของอากาศร้อนและอากาศเย็นที่ปะทะกัน ความรุนแรงนี้จะปรากฏออกมาในลักษณะของพายุลมแรง ฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า และลูกเห็บตก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กาซา จีนวิตกปฏิบัติการโจมตีราฟาห์ของอิสราเอล
"ชัชชาติ" นำแถลงบริหารกทม. 2 ปี แก้ปัญหาคนกรุงฯ กว่า 4.6 แสนเรื่อง สถิติชี้ชัดลดขั้นตอนร้องเรียน ช่วยเหลือปชช.เร็วขึ้น
ยูเอ็น เรียกประชุมฉุกเฉินเหตุโจมตีผู้ลี้ภัยที่ราฟาห์
"กรมฝนหลวง" ปลื้มร่วมสนับสนุน "kid Dee camp" นำเยาวชนเรียนรู้ จิตอาสา สร้างฝายชะลอน้ำ ปลูกหญ้าแฝก ตามแนวพระราชดำริ รัชกาลที่ 9
องค์กุมารสยาม สูง 12 เมตรถูกปล่อยร้าง นานกว่า 5 ปี ชาวบ้านร่ำลือ ให้โชคหลายงวดติด ลูกเด็กเล็กแดงป่วย ไปขอก็หาย
วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ชายแดนช่องจอม 135 คัน รวมตัวโวย ถูกรถตู้ป้ายดำกว่า 20 คัน แย่งลูกค้า ทำให้ขาดรายได้ เดือดร้อนหนัก
ลือสะพัด "จูราสสิค เวิลด์" หนังฟอร์มยักษ์ระดับโลก จะมาถ่ายทำที่ จ.กระบี่ 1 เดือน
ชนวินาศสันตะโร โชว์เฟอร์ 18 ล้อหลับใน พุ่งชนแหลก ตาย 2 เจ็บอื้อ
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดจันทบุรีเป็นประธานเปิดโครงการ สุขภาพดีใต้ร่มพระบารมี
อบจ.ฉะเชิงเทรา จัดโครงการสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของเยาวชนและประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น