No data was found

“รศ.หริรักษ์” จัดเต็มงานฟุตบอล “จุฬา-มธ.” โดนวิจารณ์ยับ ผู้บริหาร 2 สถาบัน อย่าไปโทษใคร

กดติดตาม TOP NEWS

"รศ.หริรักษ์" จัดเต็มงานฟุตบอล "จุฬา-มธ." โดนวิจารณ์ยับ ผู้บริหาร 2 สถาบัน อย่าไปโทษใคร

รศ.หริรักษ์” จัดเต็มงานฟุตบอล “จุฬา-มธ.” โดนวิจารณ์ยับ ผู้บริหาร 2 สถาบัน อย่าไปโทษใคร

วันที่ 3 เม.ย. 67 รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Harirak Sutabutr” ข้อความว่า จะทำความเข้าใจกรณี “ฟุตบอลสานสัมพันธ์ จุฬา-ธรรมศาสตร์” จำเป็นต้องรู้ที่มาที่ไปของทั้งงานนี้และทั้งกลไกการจัดงานฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ด้วย

ผู้รับผิดชอบจัดงานฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ คือสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมธรรมศาสตร์ ผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดงานคนละปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำหน้าที่ให้การสนับสนุน ชุมนุมหรือชมรมเชียร์ของทั้งสองมหาวิทยาลัยรับหน้าที่จัดกองเชียร์ เชียร์ลีดเดอร์และจัดแปรอักษรบนอัฒจันทร์ การเตรียมทีมฟุตบอลเป็นหน้าที่ของสมาคมทั้งสอง และชุมนุม ชมรมฟุตบอลของทั้ง สองมหาวิทยาลัย นักฟุตบอลประกอบด้วยทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันผสมกัน

รศ.หริรักษ์

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ เคยเป็นงาน event ที่ยิ่งใหญ่ระดับชาติ ที่มีคนสนใจติดตามกันทั้งประเทศ ยังไม่ต้องพูดถึงศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของทั้งสองสถาบัน เนื่องเพราะไม่มีงานกีฬาไหนในประเทศไทยที่จะมีทั้งขบวนพาเหรดที่อลังการ และการแปรอักษรที่ยิ่งใหญ่ที่ไม่มีที่ไหนทำได้เสมอเหมือน อีกทั้งนักฟุตบอลของทั้งสองทีมก็มีนักฟุตบอลทีมชาติที่มีชื่อเสียงเกินกว่าครี่ง นิสิตนักศึกษาของทั้งสองมหาวิทยาลัยที่เป็นนักฟุตบอลทุกคนล้วนไฝ่ฝันที่จะได้ลงเล่นในฟุตบอลประเพณีสักครั้งในชีวิต

องค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ นอกจากการแข่งขันฟุตบอลแล้ว ยังต้องมีการแปรอักษร เชียร์ลีดเดอร์ การร้องเพลงเชียร์ และขบวนพาเหรดล้อการเมือง ซึ่งทุกๆปีประชาชนจำนวนมากจะใจจดใจจ่อรอดูขบวนพาเหรดล้อการเมืองของทั้งสองมหาวิยาลัยว่าจะเฉียบคม เผ็ดมันเพียงใด ยังจำได้ว่าในยุคที่จอมพล ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี ที่เราถือว่าเป็นยุคเผด็จการ ยังมีการล้อจอมพล ประภาส จารุเสถียร ซึ่งนอกจากเป็นรองนายกรัฐมนตรีแล้วยังเป็นอธิการบดีด้วย โดยให้ลูกสาวของจอมพล ประภาส ซึ่งกำลังเรียนอยู่ที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ แต่งตัวแต่งหน้าเป็นจอมพลประภาส เดินอยู่ในขบวนพาเหรด ทำเอาผู้ชมทั้งในสนามและที่ชมการถ่ายทอดสด หัวเราะชอบใจกันอย่างมาก

ในยุคหลังๆ งานฟุตบอลประเพณีฯ ได้รับความสนใจน้อยลง ความอลังการของงานโดยรวมก็ดูจะน้อยลง ที่ยังทำได้อย่างคงเส้นคงวาต้องยอมรับว่ารักษาความยิ่งใหญ่ได้ตลอดการก็คือ การเชียร์และการแปรอักษรที่ก้าวล้ำขึ้นทุกปีอย่างสม่ำเสมอ

มาถึงตรงนี้ อยากจะขอเล่าประสบการณ์ของตัวเองเกี่ยวกับฟุตบอลประเพณีฯสักนิด เมื่อสมัยที่ศ.คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี เป็นอธิการบดี ศ.(พิเศษ)นรนิติ เศรษฐบุตรเป็นรองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา ผมเป็นผู้ช่วยอ.นรนิติ สำหรับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ องค์กรที่รับผิดชอบการจัดขบวนพาเหรดล้อการเมืองคือ องค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์หริอ อมธ ซึ่งการจัดขบวนพาเหรดในระยะนั้น ได้รับวิพากษ์วิจารณ์จากศิษย์เก่าและผู้สนใจว่า ความอลังการและความเฉียบคมดูจะด้อยลง แทนที่จะมีขบวนพาเหรดที่แปลกใหม่ กลับมีแต่ป้ายผ้าที่เขียนข้อความที่เกี่ยวกับการเมืองเดินรอบสนาม แค่นั้นทุกปี ซึ่งอาจเป็นเพราะว่า อมธ เห็นว่างานฟุตบอลประเพณีฯเป็นงานที่ฟุ่มเฟือยและสิ้นเปลืองมากเกินไป จนในปีหนึ่งซึ่งจำไม่ได้ว่าปีใด อมธ ถึงกับประกาศอย่างกระทันหันว่าจะไม่เข้าร่วมจัดขบวนพาเหรดในงานฟุตบอลประเพณีโดยสิ้นเชิง

 

 

เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่ต้องแก้ปัญหา เริ่มจากการเจรจากับอมธ ซึ่งไม่เป็นผล อ.นรนิติจึงมอบให้ผมช่วยจัดขบวนพาเหรดแทนอมธ ซึ่งมีเวลาประมาณ 10 วันก่อนวันงานเท่านั้น คนที่ผมนึกถึงคนแรกก็คือ อ.เสรี วงศ์มณฑา จึงไปขอให้ท่านมาเป็น creative director และยังมีอาจารย์คณะวารสารศาสตร์ฯและอาจารย์ที่สนิทกันอีกหลายคน รวมทั้งนักศีกษาชุมศิลปการแสดง อีกหลายคนมาช่วยกันทำงานกันอย่างหามรุ่งหามค่ำจนงานออกมาได้และไดัรับคำชมในที่สุด จำได้ว่าผู้ที่โดนเราล้อมากที่สุดก็คือ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ถึงขั้นที่อ.เสรีถูกคนมาต่อว่าในสนามว่า ทำไมไปล้อท่านพลเอก เปรม เลยทีเดียว

หลายท่านคงทราบว่า ฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาตร์ ได้ว่างเว้นไปถึง 4 ปีเพราะการแพร่ระบาดของโควิด ในปลายปีที่ผ่านมาเมื่อความรุนแรงของการแพร่ระบาดคลี่คลายลง จึงมีดำริจะจะกลับมาจัดงานฟุตบอลประเพณีกันอึกครั้ง และในครั้งนี้เป็นวาระที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะต้องเป็นเจ้าภาพ แต่ปรากฏว่า สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯไม่พร้อมจึงปฏิเสธที่จะจัด สมาคมธรรมศาสตร์เห็นว่าจัดงานฝ่ายเดียวก็คงไม่ได้ จึงให้เลื่อนการจัดงานออกไปอีก แต่ดูเหมือนผู้บริหารมหาวิทยาลัยทั้งสองจะเกรงว่า จะมีนิสิตนักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่จะไม่มีโอกาสได้สัมผัสงานฟุตบอลประเพณีฯเพราะได้ว่างเว้นกันมาถึง 4 ปี จึงได้ตัดสินใจร่วมกันว่าจะจัดกันขึ้นเองโดนไม่มีสมาคมศิษย์เก่าทั้งสองเข้าร่วมด้วย จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อเป็น “ฟุตบอลสานสัมพันธ์ จุฬา-ธรรมศาสตร์” และมอบให้นิสิตนักศึกษาทั้งสองสถาบันไปจัดกันเอง โดยมหาวิทยาลัยให้การสนับสนุน ซึ่งก็น่าจะเป็นการช่วยหาสปอนเซ่อร์สนับสนุนงาน ทราบว่าได้สปอนเซ่อร์รายใหญ่ๆมาเป็นจำนวนมาก

องค์กรที่รับผิดชอบจัดงานก็เห็นว่าเป็นองค์การบริหารนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหรือ อบจ และองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาตร์หรือ อมธ โดยไม่มีชุมนุม ชมรมเชียร์ของ และสมาคมศิษย์เก่าของทั้งสองมหาวิทยาลัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ทีมฟุตบอลก็ใช้ทีมนิสิตนักศึกษาปัจจุบัน ไม่มีนักฟุตบอลที่เป็นศิษย์เก่าซึ่งเป็นนักฟุตบอลทีมชาติหลายคนเข้ามาร่วมด้วยแต่อย่างใด

ภาพของงานฟุตบอลครั้งนี้จึงออกมาอย่างที่เห็น อย่าไปโทษใครเลยครับ โทษได้อย่างเดียวว่า การตัดสินใจจัดงานนี้ขึ้นมาทดแทนงานฟุตบอลประเพณีฯเป็นการตัดสินใจที่ผิดของผู้บริหารของทั้งสองมหาวิทยาลัย เพราะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี หากจะบอกว่า เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้มีโอกาสสัมผัสงานฟุตบอลประเพณีฯสักครั้ง ก็ต้องบอกว่า ประสบการณ์ที่ได้รับจากงาน “ฟุตบอลสานสัมพันธ์ จุฬา-ธรรมศาสตร์” กับงานฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ เป็นประสบการณ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และกลับได้รับการวิพากษ์วิจารณ์และกลายเป็นความขัดแย้งแตกแยกในสังคมขึ้นมาโดยไม่จำเป็น

พูดอีกอย่างหนึ่งคือ อยู่เฉยๆแล้วรอให้สมาคมศิษย์เก่าเขากลับมาจัดอีกครั้งในปีต่อไปจะดีกว่าผมไม่ติดใจในรูปแบบของงานสักเท่าใด เช่นการใช้จอ LED มาแทนการแปรอักษร เพราะหากไม่มีชมรม ชุมนุมเชียร์มาจัดแปรอักษร อบจ อมธ ก็คงไม่สามารถจะทำเองได้ เพียงแต่การเช่าจอ LED จำนวนมากเช่นนั้นอาจมีค่าใช้จ่ายไม่น้อยไปกว่าการแปรอักษรด้วซ้ำ จึงไม่ทราบว่าทำไปทำไมหากต้องการประหยัด เช่นเดียวกับการเชิญพระเกี้ยว ก็ไม่ทราบทำไปทำไม เพราะการเชิญพระเกี้ยวเป็นกิจกรรมที่เป็นประเพณีของงานฟุตบอลประเพณี จุฬา-ธรรมศาสตร์ ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องไปเอาประเพณีเดิมมาใช้

หากคิดจะจัดงานใหม่ขึ้น ทำไมไม่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ สร้างกิจกรรมรูปแบบใหม่ๆที่แตกต่างให้ผู้ชมตื่นตาตื่นใจ เป็นที่กล่าวขวัญถึง แทนที่จะนำเอาสัญญลักษณ์ที่ชาวจุฬารุ่นก่อนๆเขาให้ความเคารพมาทำในรูปแบบที่เขาเห็นว่าไม่เหมาะสม ไม่ว่าผู้จัดและแนวร่วมจะพยายามอธิบายแก้แทนอย่างไรก็ตาม ต้องถือว่าความแตกแยกขัดแย้งที่มีอยู่แล้วได้เพิ่มพูนขึ้นอีกไม่น้อย

มีคำอธิบายของการจัดงานนี้อยู่ 2 คำอธิบาย หนึ่งคือ ผู้จัดงานมีความสามารถเพียงเท่านี้ สองคือผู้จัดตั้งใจที่จะท้าทายรุ่นพี่ที่ตัวเองมองว่าเป็นไดโนเสาร์ และรู้ล่วงหน้าอยู่แล้วว่าจะเกิดอะไรขึ้นตามมา หรือว่าเป็นทั้ง 2 แบบก็ไม่ทราบนะครับ

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

รมต.เฮ้ง ขอทำงานให้ประเทศชาติ ไม่ยึดติด จาก รมว.มาเป็น รมช.
เมืองทองแทบแตก ชาวบ้านนับหมื่นแห่เข้าแถว กินทุเรียนฟรี 10 ตัน
"ดร.อานนท์" จวกหนัก "โน้ส อุดม" ปัญญาตื้นเขิน พูดเสียดสีศก.พอเพียง
"ต๊อบ วุฒินันท์" ซัดจุกอก "โน้ส อุดม" แขวะพ่อสอนรู้จักใช้ชีวิตพอเพียง
"อธิบดีอัยการ" พร้อมช่วยญาติเหยื่อ "ตกท่อเสียชีวิต" ชี้โทษหนักคุก 10 ปี
ชุมชนคุณธรรมฯ วัดท่าขนุน กาญจนบุรี ต้นแบบ“เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี ๒๕๖๖
"ธนดล" บุกสนามกอล์ฟไมด้า เมืองกาญฯ เตรียมยึดที่ ส.ป.ก. คืน 139 ไร่
เปิดใจ คนขับรถสองแถว-เรือเช่า แจงปมดราม่า หลังยูทูปเบอร์ญี่ปุ่น ลงคลิปประสบการณ์สุดแย่ที่ไทย
หนุ่มหัวร้อนยิงคนตาย ปมโมโหจอดรถขวางหน้าบ้าน ก่อนหนีหาย 34 ปี สอบสวนกลางตามรวบ
34 ปีไม่เคยเจอ พายุฤดูร้อนกระหน่ำรพ.อุตรดิตถ์ พาคนไข้อพยพวุ่น เครื่องมือแพทย์เสียหายเพียบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น