ผู้เชี่ยวชาญ หวั่นพะยูนส่อสูญพันธุ์ หลังบินสำรวจ พบพะยูนทะเลไทยเหลือพียง 36 ตัว

คณะทำงานแก้ไขปัญหาด้านการเสื่อมโทรมของหญ้าทะเล ลงพื้นที่หาสาเหตุ และแก้ไขปัญหาพะยูน หวั่นสูญพันธุ์ หลังบินสำรวจ พบพะยูนทะเลตรังเหลือเพียง 36 ตัว คู่แม่ลูกเพียง 1 คู่ จากปีที่ผ่านมาพบพะยูน 194 ตัว แม่ลูก 12 คู่

ผู้เชี่ยวชาญ หวั่นพะยูนส่อสูญพันธุ์ หลังบินสำรวจ พบพะยูนทะเลไทยเหลือพียง 36 ตัว – Top News รายงาน

สูญพันธุ์

(12 มีนาคม 2567) จากกรณีที่ พบพะยูน เพศผู้ อายุประมาณ 20 ปี เกยตื้นตายในสภาพซูบผอม และ ตั้งแต่ต้นปี 2567 จนถึงตอนนี้ พบพะยูนในทะเลตรังเกยตื้นตายแล้ว 4 ตัว ซึ่งทั้งหมดป่วย และซูบผอม คาดสาเหตุหลักเกิดจากปัญหาสภาพระบบนิเวศน์ในทะเล ที่ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง พื้นดินปกคลุมด้วยตะกอนดิน หญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารของพะยูนทั่วทะเลตรังเสื่อมโทรมหนัก รวมไม่ต่ำกว่า 30,000 ไร่ นั้น

ล่าสุดกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ส่ง คณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรม ซึ่งประกอบ ด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านหญ้าทะเล สัตว์ทะเลหายาก ด้านสมุทรศาสตร์  และตัวแทนกลุ่มเครือข่ายในพื้นที่ ลงพื้นที่อย่างเร่งด่วนตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมจนถึงสัปดาห์นี้ เพื่อหาสาเหตุของการเสื่อมโทรมของหญ้าทะเล และนำข้อมูลที่ได้มาออกมาตรการแก้ไขหรือฟื้นฟูหญ้าทะเลโดยเร็วที่สุด

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยคณะทำงานได้แบ่งการทำงานทั้งภาคพื้นดิน ในการลงพื้นที่เก็บตัวอย่างสัตว์ทะเลหน้าดินบริเวณแหล่งหญ้า ติดตามการเปลี่ยนแปลงของหญ้าทะเลเสื่อมโทรมในพื้นที่จังหวัดตรัง (Line Transect, เก็บตัวอย่างดินตะกอน) เก็บข้อมูลด้านสมุทรศาสตร์กายภาพในพื้นที่หญ้าทะเลเสื่อมโทรม เก็บตัวอย่างการปนเปื้อนของโลหะหนัก (Heavy metals) และ มลสารอินทรีย์ที่ตกค้างยาวนาน(Persistent Organic Pollutants) ในตะกอนดินและหญ้าทะเล

รวมทั้งการสำรวจโดยใช้โดรน และการบินสำรวจพะยูนและสัตว์ทะเลหายากด้วย และวิธีการสำรวจทางเรือ บริเวณเกาะลิบง เกาะมุกด์ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และบริเวณแนวหญ้าทะเลใกล้เคียง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดตรัง / เบื้องต้น พบพะยูนเพียง 36 ตัว พบพะยูน คู่แม่-ลูก จำนวน 1 คู่ พบโลมาหลังโหนก 6 ตัว พบโลมาคู่แม่-ลูก 2 คู่ และเต่าทะเล 38 ตัว ผลการตรวจสุขภาพประเมินสุขภาพจากการสังเกตด้วยสายตา พบว่าพะยูนแสดงพฤติกรรมว่ายน้ำหาอาหารบนแนวหญ้าทะเล นอกจากนี้ยังพบพะยูนคู่แม่-ลูก ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์เพศของตัวสัตว์

ผู้เชี่ยวชาญ

 

ส่วนโลมาหลังโหนก สุขภาพโดยรวมสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีบาดแผลหรือร่องรอยที่เกิดจากการถูกเครื่องมือประมงหรือขยะทะเลพันรัด รวมถึงเต่าทะเล สุขภาพโดยรวมไม่พบพฤติกรรมที่แสดงความผิดปกติ ส่วนข้อมูลและภาพถ่ายจากการสำรวจครั้งนี้นำไปคำนวณหาจำนวนประชากรที่แท้จริงของสัตว์ทะเลหายากในบริเวณพื้นที่จังหวัดตรังต่อไป / จากการสำรวจสรุปได้ว่า ประชากรพะยูนในปีนี้ลดลงอย่างน่าใจหาย เหลือเพียงประมาณ 36 ตัวเท่านั้น พบคู่แม่ลูกเพียง 1 คู่ โดยในปี 2566 พบพะยูน 194 ตัว คู่แม่ลูกถึง 12 คู่ เชื่อว่าพะยูนทะเลตรัง กำลังเผชิญกับภาวะวิกฤติอย่างหนักมีโอกาสจะสูญพันธุ์ในอนาคต ทั้งนี้นักวิชาการ มองว่า สาเหตุหลัก เกิดจากปัญหาโลกร้อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"น.1" สั่งล่า 2 มือปืนก่อเหตุอุกอาจ บุกยิงหนุ่มเพิ่งพ้นคุก 9 นัด ดับสลด
"เทพไท" เชื่อถ้าศาลฏีกาฯไต่สวนครบ 5 ประเด็น จากปากพยานสำคัญ รวม"วิษณุ" มั่นใจ "ทักษิณ" ต้องกลับนอนคุกจริงๆ
"เสธ.ต๊อด" ยันเอกสารกอ.รมน. ไร้เนื้อหากล่าวหา "อนุทิน" แอบอ้างสถาบันฯ เจ้าตัวโพสต์ติงสื่ออย่าออกข่าวชุ่ยๆ อย่าดึงฟ้าลงต่ำ
ผู้ว่าตราดเปิดโครงการ เทศกาลเรือใบ ดันตราดศูนย์กลางเมืองเรือใบและกิจกรรมทางทะเลเชื่อมโลก เผยสร้างรายได้ท่องเที่ยวยั้งยืน
ดีอี เตือน ข่าวปลอม “จะเกิดแผ่นดินไหวที่ภาคอีสาน” หลอกลวงให้ ปชช.ตื่นตระหนก- เข้าใจผิด
ไม่มีคำประณาม "ชาวเน็ต" ถาม "รอมฏอน" โพสต์แค่เสียใจโจรใต้ สังหารโหดชาวบ้าน เร่งรัฐเจรจาสันติภาพ
นราธิวาสเดือด! "โจรใต้" ถล่มยิงบ้าน ดับ 3 เจ็บ 2 ราย วันเดียวกัน พบป้าวัย 76 ถูกยิงดับกลางถนน
"ผอ.รพ."เมาแล้วขับ เจรจารอบ 3 ยอมจ่ายเยียวยาผู้บาดเจ็บทั้ง 2 ราย
"กรมอุตุฯ" เตือน 42 จังหวัด รับมือฝนถล่ม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน กทม.โดนด้วย
ฉะเชิงเทรา เปิดกิจกรรมโดรนแปรอักษร หนุนท่องเที่ยวฉะเชิงเทรา สร้างสีสันงานมหกรรมอาหารและ OTOP ฉะเชิงเทรา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น