“สภาพัฒน์” แถลงศก.ไทยไตรมาส ปี 66 ขยายตัว 1.9% ชะลอตัวลงจากปี 65 แนวโน้มปี 67 คาดขยายตัว 2.2-3.2%

"สภาพัฒน์" แถลงศก.ไทยไตรมาส ปี 66 ขยายตัว 1.9% ชะลอตัวลงจากปี 65 แนวโน้มปี 67 คาดขยายตัว 2.2-3.2%

“สภาพัฒน์” แถลงศก.ไทยไตรมาส ปี 66 ขยายตัว 1.9% ชะลอตัวลงจากปี 65 แนวโน้มปี 67 คาดขยายตัว 2.2-3.2%    Top News รายงาน

 

 

ศก.ไทย

ข่าวที่น่าสนใจ

19 ก.พ.2567 นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ทั้งปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 ว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ของปี 2566 ขยายตัวแค่ 1.7%

โดยการอุปโภคภาครัฐบาล ลดลง 3% การลงทุนรวมลดลง 0.4% ด้านการบริโภคภาคเอกชน ขยายตัว 7.4% ส่วนปริมาณการส่งออกสินค้า ขยายตัว 3.4%

ส่งผลให้ทั้งปี 2566 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 1.9% ต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่ สศช. ประเมินเอาไว้ในการแถลงข่าวเมื่อครั้งก่อน ซึ่งเชื่อว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวอยู่ที่ 2.5%

 

ด้านการผลิต ขยายตัวร้อยละ 1.7 จากภาคนอกเกษตรที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 เป็นผลจากภาคบริการที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 ปัจจัยสนับสนุนมาจากการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 1.5 เป็นผลจากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลง ประกอบกับภาคเกษตรลดลงร้อยละ 0.8 จากการขยายตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสที่ 3/2566 ตามการลดลงของผลผลิตพืชผลเกษตร ที่สำคัญ เช่น ข้าวเปลือก ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อย เป็นต้น

 

 

ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกบริการขยายตัวในเกณฑ์สูงต่อเนื่อง
การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้น ส่วนการส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว ในขณะที่การใช้จ่าย
เพื่อการอุปโภคภาครัฐบาลและการลงทุนภาครัฐลดลง

 

 

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 7.4 ต่อเนื่องจากร้อยละ 7.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายในทุกหมวด สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องของการจ้างงาน และความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 16 ไตรมาส โดยการใช้จ่ายในหมวดบริการขยายตัว ในเกณฑ์สูงร้อยละ 12.8 ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และกลุ่มบริการทาง การเงินร้อยละ 35.4 และร้อยละ 7.9 ตามลำดับ การใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 4.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 4.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 37 ไตรมาส ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนกลับมาขยายตัว ร้อยละ 3.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.1 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 5
ไตรมาส สอดคล้องกับการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 0.3 เทียบกับร้อยละ 1.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของการใช้จ่ายกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ โดยรวมเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 55.2 เพิ่มขึ้นจากระดับ 51.7 ในไตรมาสก่อนหน้า สูงสุดในรอบ 16 ไตรมาส

 

 

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ลดลงร้อยละ 3.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 5.0 ในไตรมาสก่อนหน้า
โดยรายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการทงสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดลดลงร้อยละ
14.1 และรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 8.0 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำ
ในตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 31.0 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 20.5 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าร้อยละ 33.4
ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน) รวมทั้งปี 2566 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 7.1
เทียบกับร้อยละ 6.2 ในปี 2565 ขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลลดลงร้อยละ 4.6 เทียบกับ
การขยายตัวร้อยละ 0.1 ในปี 2565

 

 

 

การลงทุนรวม ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อนหน้า
ตามการลดลงของการลงทุนภาครัฐที่ลดลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 20.1 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ

 

 

3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการลดลงของการลงทุนรัฐบาลร้อยละ 33.5 เนื่องจากความล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567 ขณะที่การลงทุนรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 7.0 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 1.2 (ต่ำกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 20.9 และร้อยละ 20.1 ในไตรมาสก่อนหน้าและในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ) ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และเป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรเครื่องมือขยายตัวร้อยละ 5.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุนในหมวดก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 3.4 เทียบกับร้อยละ 3.8 ในไตรมาส ก่อนหน้า รวมทั้งปี 2566 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 1.2 เทียบกับร้อยละ 2.3 ในปี 2565 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 3.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.7 ในปี 2565 ขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลง
ร้อยละ 4.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.9 ในปี 2565

 

 

 

ด้านการค้าระหว่างประเทศ การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 68,822 ล้านดอลลาร์ สรอ. กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ 4.6 โดยปริมาณส่งออกกลับมาขยายตัวร้อยละ 3.2 ขณะที่ราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าว (ร้อยละ 43.8) ยางพารา (ร้อยละ 6.5)คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 185.3) ตู้เย็น (ร้อยละ 23.3) ขึ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 16.3) ผลิตภัณฑ์โลหะ(ร้อยละ 14.7) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ร้อยละ 10.7) และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ร้อยละ 52.2) กลุ่มสินค้า ที่มีมูลค่าส่งออกลดลง อาทิ ทุเรียน (ลดลงร้อยละ 51.7 ผลิตภัณฑ์ยาง (ลดลงร้อยละ 18.9) กุ้ง, ปู, กั้ง, และ ล็อบสเตอร์ (ลดลงร้อยละ 7.4) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 4.9 เครื่องปรับอากาศ (ลดลง ร้อยละ 28.8 และรถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 7.3) ส่วนการนำเข้าสินค้า มีมูลค่า 65,370 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาสร้อยละ 6.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 10.7 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้า โดยปริมาณการนำเข้ารวมและราคานำเข้ารวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.3 และร้อยละ 0.7 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 3.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.(122.6 พันล้านบาท) เทียบกับการเกินดุล 5.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (191.8 พันล้านบาท) ในไตรมาสก่อน

 

 

รวมทั้งปี 2566 การส่งออกสินค้ามีมูลค่ 280,209 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 1.7 ส่วนการนำเข้ามี
มูลค่า 263,237 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 3.1 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 17.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
(597.8 พันล้านบาท)

 

 

 

ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่งขายปลีกและการซ่อมฯ และสาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวต่อเนื่อง ในขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม สาขาเกษตรกรรม และสาขาก่อสร้างปรับตัวลดลง สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ลดลงร้อยละ 0.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 1.1 ในไตรมาสก่อนหน้า เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยส่งผลให้ผลผลิตหมวดพืชผลสำคัญลดลง โดยเฉพาะปาล์มน้ำมัน กลุ่มผลไม้ มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวเปลือก เช่นเดียวกับหมวดประมงที่ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาส

 

ที่ 2 ในขณะที่ผลผลิตหมวดปศุสัตว์ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6 ผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน (ลดลงร้อยละ 18.3) กลุ่มไม้ผล (ลดลงร้อยละ 10.0) โดยเฉพาะทุเรียน (ลดลงร้อยละ 61.4) มันสำปะหลัง (ลดลงร้อยละ 14.0) อ้อย (ลดลงร้อยละ 11.1) และข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 3.7) ตามลำดับ ในขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สุกร (ร้อยละ 20.5) โคเนื้อ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3) ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5) ตามลำดับ ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส ร้อยละ 0.1 ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าสำคัญ อาทิ ข้าวเปลือก (ร้อยละ 16.0) ยางพารา (ร้อยละ 11.4) มันสำปะหลัง (ร้อยละ 12.5) อ้อย (ร้อยละ 11.4 และ ปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ 5.6 อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้า เกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวลดลง ได้แก่ สุกร (ลดลงร้อยละ 37.3) กลุ่มผลไม้ (ลดลงร้อยละ 6.2) และไก่เนื้อ (ลดลงร้อยละ 10.5) การลดลงของดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมลดลงต่อเนื่อง เป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 2.5 รวมทั้งปี 2566 สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงขยายตัวร้อยละ 1.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 2565

 

สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ร้อยละ 2.4 เทียบกับการลดลง
ร้อยละ 4.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของกลุ่มการผลิตที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 – 60 และกลุ่มการผลิตเพื่อการส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) เป็นสำคัญ สอดคล้องกับการลดลงของ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 5.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 6.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดย ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 – 60 ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 11.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 6.5 ในไตรมาสก่อนหน้า และ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 8 ร้อยละ 9.9 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 12.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) กลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 5 ไตรมาส ร้อยละ
1.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง อาทิ การผลิตยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 13.9) การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (ลดลงร้อยละ
15.7) การคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 18.7 การผลิตน้ำตาล (ลดลงร้อยละ 20.1)

และการผลิตเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย (ยกเว้นร้านตัดเย็บเสื้อผ้า) (ลดลงร้อยละ 21.6) ส่วนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม สำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น อาทิ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 18.7) การปุยเคมีและสารประกอบไนโตรเจน (ร้อยละ 30.3) การผลิตสายไฟและเคเบิลฯ (ร้อยละ 36.9) และการผลิต
เครื่องประดับเพชรพลอยแท้ฯ (ร้อยละ 15.0) สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 56.72
ต่ำกว่าร้อยละ 58.02 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 60.32 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งปี
2566 สาขาการผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงร้อยละ 3.2 เทียบกับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 ในปี 2565 และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 59.06 ต่ำกว่าร้อยละ 62.76 ในปี 2565

สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวร้อยละ 10.0 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 15.0 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการขยายตัวในเกณฑ์สูงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และการขยายตัวต่อเนื่องของการท่องเที่ยวในประเทศ (ไทยเที่ยวไทย โดยนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทาง

 

เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมีจำนวน 8.095 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.1 ส่งผลให้มูลค่าบริการรับด้านการท่องเที่ยวในไตรมาสนี้อยู่ที่ 2.77 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 34.8 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ76.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวไทย (ไทยเที่ยวไทย) จำนวน66.70 ล้านคน-ครั้ง ขยายตัวร้อยละ 14.3 รายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ 2.35 แสนล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 26.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 29.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่งผลให้ในไตรมาสนี้มี รายรับ รวมจากการท่องเที่ยว 5.12 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 สำหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 73.55 สูงกว่าร้อยละ 66.16 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าร้อยละ 62.64 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมทั้งปี 2566 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัวร้อยละ 18.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 34.5 ในปี 2565 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจำนวน 28.150 ล้านคน ส่งผลให้รายรับรวมจากการท่องเที่ยวมีมูลค่า 1.892 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.0

 

สำหรับอัตราการเข้าพัก เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 69.22 ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในรอบ 4 ปี สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 11 ร้อยละ 5.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาส

 

ก่อนหน้า ตามการขยายตัวในเกณฑ์ดีของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและภาคบริการด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งปี
2566 สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ขยายตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับ
การขยายตัวร้อยละ 3.7 ในปี 2565 สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 เทียบกับ
การขยายตัวร้อยละ 7.1 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยบริการขนส่งขยายตัวร้อยละ 6.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ
7.4 ในไตรมาสก่อนหน้า รวมทั้งปี 2566 สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวร้อยละ 8.4 เร่งขึ้น
จากการขยายตัวร้อยละ 8.0 ในปี 2565 สาขาการก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 8.8 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการก่สร้างภาครัฐ โดยเฉพาะการก่สร้างของรัฐบาล ในขณะที่
การก่อสร้างภาคเอกชนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 รวมทั้งปี 2566 สาขาการก่อสร้างปรับตัวลดลงร้อยละ
0.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.4 ในปี 2565

 

 

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.81 ต่ำสุดในรอบ 32 ไตรมาส และต่ำกว่าร้อยละ 0.99 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 1.15 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง ร้อยละ 0.5 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.6 ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 1.5 พันล้าน ดอลลาร์ สรอ. (53.9 พันล้านบาท) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 อยู่ที่ 2.2
แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2566 มีมูลค่าทั้งสิ้น 11,084,577.1 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 61.3 ของ GDP

 

 

เศรษฐกิจไทยปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 1.9 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.5 ในปี 2565
ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 7.1 เร่งขึ้นจากร้อยละ 6.2 ในปี 2565
ส่วนการลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกบริการ ขยายตัวร้อยละ 3.2 และร้อยละ 38.3 ชะลอลงจาก ร้อยละ
4.7 และร้อยละ 59.9 ในปี 2565 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 1.7 เทียบกับ
การขยายตัวร้อยละ 5.4 ในปี 2565 และการลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 4.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.9 ในปี2565 ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง สาขาการขายส่งและการขายปลีก และสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ขยายตัวร้อยละ 18.0 ร้อยละ 1.9 ร้อยละ 3.8 และร้อยละ 8.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 34.5 ร้อยละ 2.5 ร้อยละ 3.7 และร้อยละ 8.0 ในปี 2565 ขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 3.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.7
ในปี 2565 และสาขาก่อสร้างลดลงร้อยละ 0.6 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 2.4 ในปี 2565

รวมทั้งปี 2566 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ 17.9 ล้านล้านบาท (5.13 แสนล้านดอลลาร์
สรอ.) เพิ่มขึ้นจาก 17.4 ล้านล้านบาท (4.95 แสนล้านดอลลาร์ สรอ.) ในปี 2565 และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัวของคนไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 255,867.7 บาทต่อคนต่อปี (7,331.5 ดอลลาร์ สรอ. ต่อคนต่อปี) เพิ่มขึ้นจาก 248,788.6 บาทต่อคนต่อปี (7,094.1 ดอลลาร์ สรอ. ต่อคนต่อปี ในปี 2565 สำหรับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.98 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.2 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.3 ของ GDP

 

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.2-3.2 (ค่ากลางการประมาณการที่ร้อยละ 2.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจาก (1) การกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้าตามการฟื้นตัวของการค้าโลก (2) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และ (3) การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ3.0 และร้อยละ 3.5 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 2.9 ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 0.9 – 1.9 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.4 ของ GDP รายละเอียดของการประมาณการเศรษฐกิจในปี 2567 ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้

 

 

 

1. การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อเนื่องจากการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 7.1 ในปี 2566 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากตลาดแรงงานที่ยังคงแข็งแกร่ง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่สูงขึ้น และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ อย่างไรก็ตาม เป็นการปรับลดจากร้อยละ 3.2 ในการประมาณการครั้งก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับการลดลงของฐานรายได้จากการส่งออกและการผลิตอุตสาหกรรมที่ปรับลดลงจากประมาณการครั้งก่อน และ (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 4.6 ในปี 2566 และเป็นการปรับลดจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ตามการลดลงของเม็ดเงินการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำในช่วงสามไตรมาสที่เหลือของปีงบประมาณ 2567 ภายหลังจากการเร่งเบิกจ่ายไปมากในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2567

 

 

 

2. การลงทุนรวม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.2 ในปี 2566 โดย (1) การลงทุน
ภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อเนื่องจากร้อยละ 32 ในปี 2566 และเป็นการปรับเพิ่มจากร้อยละ 2.8 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของมูลค่าโครงการที่ขอรับ การส่งเสริมการลงทุนและออกบัตรส่งเสริมการลงทุน และการกลับมาขยายตัวของการนำเข้าในหมวดสินค้าทุนและหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง และ (2) การลงทุนภาครัฐ คาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 1.8 เท่ากับ
การประมาณการครั้งก่อน และเป็นการลดลงต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 4.6 ในปี 2566 โดยเป็นผลมาจาก
ความล่าช้าของกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 และการปรับลดอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ

 

 

 

3.มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะกลับมาขยายตัวร้อยละ 2.9 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.7 ในปี 2566 และปรับลดจากร้อยละ 3.8 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.9 ในปี 2566 แต่เป็นการปรับลดลงจากร้อยละ 3.3 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับลดสมมติฐานปริมาณการค้าโลก ขณะที่ราคาส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 0.0 – 1.0 เท่ากับประมาณการครั้งก่อน และชะลอลงจากร้อยละ 1.2 ในปี 2566 เมื่อรวมกับการส่งออกบริการที่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของ

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“พีระพันธุ์” เยี่ยมไข้ “อนุทิน” คุยหารือนาน จนพยาบาลต้องจับแยก
“ทหารผ่านศึก” บุกตาเมือนธม! ขนกำลังใจซัพพอร์ต “ทหารกล้า” พร้อมชนเขมร
ชมวิว'หวงสือไจ้' ในจางเจียเจี้ยของจีนยามเมฆต้องแสงตะวัน
คพ.ลงพื้นที่ตรวจไอระเหยสารเคมี พบก๊าซพิษหลายชนิด เหตุเพลิงไหม้โรงงานเฟอร์นิเจอร์ ย่านลาดกระบัง
อินเดียสั่งเปิดสนามบินหลังหยุดยิงกับปากีสถาน
"สจ.กอล์ฟ" มาแล้ว เข้ามอบตัว หลังศาลสงขลาออกหมายจับ ปมสั่งสมุนทำร้ายตำรวจ
ผบ.ตร. มอบ ‘บิ๊กโอ๋’ บินสงขลา สางคดี ‘สจ.กอล์ฟ’ให้สมุนรุมตื้บตำรวจ ด้านผบช.สอท. สั่งสอบเพิ่ม หลังเพจดังแฉเอี่ยวเว็บพนัน
สงขลาจัดยิ่งใหญ่ "มหกรรมหนังตะลุง-โนรา" สืบสานศิลปะพื้นบ้านภาคใต้
แถลงการณ์ร่วมการประชุมเศรษฐกิจการค้า 'จีน-สหรัฐฯ' ณ นครเจนีวา
ข่าวดี! สหรัฐ-จีนตกลงลดกำแพงภาษีแรงเกินคาด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น