“ปกรณ์ นิลประพันธ์” แนะหลักสำคัญของ “สังคมพหุวัฒนธรรม” คือการเปิดใจกว้าง ยอมรับความแตกต่าง

กดติดตาม TOP NEWS

ปกรณ์ นิลประพันธ์ : สังคมพหุวัฒนธรรม หลักสำคัญของสังคมพหุวัฒนธรรมคือการเปิดใจกว้าง ยอมรับความแตกต่าง ไม่เอาความคิดตนเองหรือกลุ่มพวกตนเองเป็นศูนย์กลาง

ปกรณ์ นิลประพันธ์

การยอมรับความแตกต่าง ไม่ใช่แต่เฉพาะทางความคิด ความเชื่อ วงศ์เหล่าเผ่าพันธุ์ ภาษา การแต่งกาย วัฒนธรรมประเพณี แต่รวมถึงเรื่องอื่นที่หลากหลายด้วย

คือเคารพในความแตกต่างของผู้อื่น นับถือว่าผู้อื่นซึ่งแตกต่างนั้น ไม่หมิ่นแคลนผู้อื่นไม่ว่าจะมีสถานะใด สูงกว่า เท่ากับ หรือต่ำกว่าตน เพราะเราล้วนเหมือนกัน

เหมือนกันคือเป็นมนุษย์เหมือนกัน

สังคมพหุวัฒนธรรมจึงไม่นำเรื่องชาติกำเนิด สถานะ เผ่าพันธุ์ ฯลฯ มาเป็นตัวตั้ง แต่ถือความเป็นมนุษย์เหมือนกันเป็นตัวตั้ง การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นสิ่งที่ตามมา นี่เป็นหลักสำคัญ ไม่มีใครเลือกเกิดได้

ความเป็นพหุวัฒนธรรม เป็นคนละเรื่องกับระบอบการปกครอง แต่ก็มีความพยายามที่จะนำมาเจือให้เป็นเนื้อเดียวกัน โดยเหตุว่ามีชนชั้นทางสังคม แต่ละชนชั้นมีสิทธิแตกต่างกัน ไม่ได้ ไม่ได้ ต้องเท่ากัน เหมือนกัน เป็นการอ้างที่คลาสสิคมาก คาล มาร์ค ผู้ซัฟเฟอร์ได้เขียนเรื่องนี้ไว้ในคอมมิวนิสต์ เมนิเฟสโต แต่เมื่อมีปฏิวัติบอลเชวิคและเรื่อยมาจนปัจจุบัน ชนชั้นทางสังคมก็ยังมีอยู่ในระบบคอมมิวนิสต์ ชัดเจนเสียด้วย

ในระบอบประชาธิปไตยไม่ว่าจะแบบไหน ยิ่งชัดเจนกว่า

ทำไมพรรคการเมืองต้องมีหัวหน้าพรรค มีกรรมการบริหารพรรค หน้าที่อำนาจแตกต่างกัน ทำไมไม่เท่ากัน?

ทำไมมหาวิทยาลัยจึงต้องมีอธิการบดี ต้องมีรองอธิการบดี ต้องมีคณบดี มีรองคณบดี มีหัวหน้าภาควิชา แต่ละตำแหน่งทำไมมีหน้าที่ความรับผิดชอบ สิทธิประโยชน์ ไม่เท่ากัน ทำไมไม่เท่ากัน?

ทำไมต้องมีนายกรัฐมนตรี มีรัฐมนตรี มีปลัดกระทรวง มีผู้อำนวยการกอง ผู้อำนวยการฝ่าย ทำไมไม่เท่ากัน?

ทำไมนายกรัฐมนตรี อธิการบดี ฯลฯ กับประชาชนไม่เท่ากัน???

เพราะมันเป็นเรื่องของระบอบการปกครอง ไม่ใช่เรื่องความเท่าเทียม เป็นเหมือนกันทุกที่ที่มีการปกครองเพื่อให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข เป้าหมายพื้นฐานของการปกครองเป็นอย่างนั้น

แต่ความเป็นมนุษย์ยังเท่ากัน จะไปดูหมิ่นเหยียดหยามกันไม่ได้ ไม่ว่าใครจะมีสถานะใด

เพราะนั่นยิ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจพื้นฐานของสังคมพหุวัฒนธรรม และเอาแต่ใจของทั้งตัวการ …

ผู้ใช้ และผู้สนับสนุน.

เขียนโดย ปกรณ์ นิลประพันธ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ดู LIVE รายการ

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น