No data was found

หมอธีระวัฒน์ อธิบายชัด ๆ ความเหมือน ลองโควิด-ผลกระทบจากวัคซีน อักเสบในเลือดคล้ายกัน

กดติดตาม TOP NEWS

หมอธีระวัฒน์ อธิบายชัด ๆ ความเหมือน ลองโควิด-ผลกระทบจากวัคซีน อักเสบในเลือดคล้ายกัน

วันนี้(24 ม.ค.) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ โรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการลองโควิดและผลกระทบจากการใช้วัคซีนโควิด-19 ว่า การอธิบายเรื่องของลองโควิดและผลกระทบของวัคซีนนั้น ถ้าดูจากรายงานของต่างประเทศอย่างเดียวจะพบว่ามีผลต่างกันถึงกับตรงกันข้ามกัน

ดังนั้น อาจจะทำให้เถียงกันไม่รู้จบ ความสำคัญอยู่ที่มีผู้ป่วยเหล่านี้อยู่จริง ทั้งในสองกรณี และผลกระทบของวัคซีนนั้นมีได้เหมือนกับลองโควิด ทั้งระยะสั้น คือภายในสองถึงสามอาทิตย์ ระยะกลางคือถึงระยะสามเดือน และระยะยาวคืออาการเก่าไม่ยอมหายหรือเกิดอาการใหม่ขึ้นมาและยาวนานเป็นปี

ข่าวที่น่าสนใจ

ข้อมูลของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มสามารถทราบได้จากตาตนเอง จากครอบครัว จากคนรอบข้าง จากผู้ป่วยที่มาหาหมอ และอาจจะคิดไม่ถึงว่าเกิดจากอะไรแน่ ถ้าไม่ฟังประวัติให้ดี โดยทั้งๆ ที่สุขภาพปกติสมบูรณ์ก่อนหน้านี้

แต่ถ้าจะให้กล่าวถึงรายงานต่างๆ ก็สามารถยกตัวอย่างบางส่วนให้ได้ดังนี้

1 – วัคซีนไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด ดังนั้น ถึงจะฉีดวัคซีนไปกี่เข็มก็ตาม ก็มีการติดเชื้ออยู่ดี

2 – การฉีดวัคซีนจะป้องกันการติดได้ค่อนข้างดีประมาณสามเดือน หลังจากสามเดือนไปแล้วโอกาสที่จะติดเชื้อกลับสูงกว่ากลุ่มที่ฉีดวัคซีนน้อยเข็มหรือไม่ได้ฉีดเลย

3 – ขณะนี้กลไกของลองโควิด ความจริงที่พิสูจน์แล้ว ก็คือ ตัวโควิดนั้นสามารถซ่อนอยู่ในเซลล์ในเนื้อเยื่อของทุกอวัยวะไม่ใช่แต่ในปอดอย่างเดียวแต่ยังรวมถึงสมองต่อมน้ำเหลือง อวัยวะภายในช่องท้องและสามารถพิสูจน์ได้จากศพของผู้เสียชีวิตหลังจากติดโควิดไปนานเจ็ดถึงแปดเดือนด้วยซ้ำ จากการพบโปรตีนที่เซลล์ และรวมทั้งตัวโควิดเหล่านี้สามารถเพาะให้เติบโตได้ในหลอดทดลอง (culturable) จากรายงานของกลุ่ม NIH ในวารสารเนเจอร์ 2022

4 – การเกิดลองโควิดนั้น ไม่ได้อธิบายอธิบายจากการเกิด idiotypic antibody คือแอนติบอดีต่อตัวแอนติบอดีที่หนึ่ง ซึ่งกลายเป็นเสมือนตัวไวรัสเอง เพราะแอนติบอดีลักษณะนี้หายไปเร็วมาก จากการศึกษาในต่างประเทศและจากการศึกษาของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่เอง

5 – ผลระยะยาวจากวัคซีนนั้นสามารถอธิบายได้เหมือนประการที่สามกล่าวคือวัคซีนนั้นสามารถซ่อนอยู่ในเซลล์ได้ทุกเนื้อเยื่ออวัยวะ ซึ่งพิสูจน์แล้วจากสัตว์ทดลองและความที่เป็นอนุภาคนาโนไขมัน และอยู่ในตัวผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากผลกระทบของวัคซีนไปนานหลายเดือนด้วยกัน

6 – แม้ว่ามีรายงานการฉีดวัคซีนจะลดอาการของลองโควิด ซึ่งมีการสรุปจาก Eric topol โดยในบทความสรุปนี้มีใจความว่า วัคซีนโควิดช่วยป้องกันการเกิดลองโควิด ได้ 40-50% โดยเฉลี่ย จากการฉีดหนึ่งสองหรือสามเข็ม

ทั้งนี้ จะให้น้ำหนักในรายงานสุดท้ายที่ทำใน 3 ประเทศ 4 cohort มากกว่าสิบล้านคน

อย่างไรก็ตาม รายงานของประเทศอังกฤษจาก King’s college ที่ติดตามประชากรทั้งในสายพันธุ์ อู่ฮั่น อัลฟ่าและเดลต้า ในสหราชอาณาจักร ซึ่งจะมีอาการของลองโควิดเหมือนกัน บอกว่าการฉีดวัคซีนไม่ช่วยเรื่องลองโควิด

บทความสรุปของเอริค โทโพล ก็ย้ำว่า อย่างไรก็ดี ก็ไม่ควรเน้นเรื่องวัคซีนในการป้องกันลองโควิดมากเกินไป ทางที่ดีแล้วคือไม่ติดเลยจะดีกว่า (ซึ่งในโลกนี้คงไม่มีแล้ว) และถ้าเมื่อติดแล้วก็อย่าติดซ้ำ

ในสำหรับประเทศไทยแล้วเรามีฟ้าทะลายโจรเป็นตัวช่วยที่สำคัญ ดังนั้น ถ้าไม่สบาย แม้ไม่ทราบว่าเป็นอะไร ใช้ฟ้าทะลายโจรได้ เพื่อให้หายเร็วที่สุด ซึ่งการที่ผู้ร้ายถูกทำให้สงบลงได้ในเวลาอันรวดเร็วที่สุดนั้นน่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญ

อีกประการร่วมกับสุขภาพแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคนานาชนิดที่เรียกว่า innate immunity ดังที่เห็นในทวีปแอฟริกาซึ่งแทบไม่มีการฉีดวัคซีนเลย แต่กลับไม่พบปัญหาการระบาดของโควิดและไม่มีปรากฏการณ์ของผู้ป่วยอาการหนักหรือเสียชีวิตอย่างส่วนอื่นๆของโลก

7 – การศึกษาของผู้ป่วยในประเทศไทยของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ โรคอุบัติใหม่ จุฬา โดยได้รับทุนจากสำนักงานวิจัยแห่งชาติ และ สวรส. กระทรวง อว. ยืนยันลักษณะเหมือนกันของลองโควิด (แม้ว่าหลังจากติดเชื้อโควิดที่อาการไม่รุนแรง) และ ลองวัคซีน ซึ่งผู้ป่วยในกลุ่มหลังนี้ บางรายก็เคยติดโควิดแล้ว และลองโควิดนั้น ทุกรายเคยได้รับวัคซีนหมดตั้งแต่สองเข็มขึ้นไป

ทั้งสองกลุ่มนี้แพตเทิร์นของการอักเสบในเลือดคล้ายกัน สามารถปรากฏได้ก่อนหน้าที่อาการจะเริ่มรุนแรง หรือ เมื่ออาการสงบไปแล้วการอักเสบที่ดูจาก 13 ตัว ของชนิดการอักเสบกลับไม่หายไปทั้งหมด

ผลกระทบต่อสมอง พบโปรตีนของอัลไซเมอร์ p-Tau amyloid จากที่ไม่เคยมีกลับมี
รวมทั้งโปรตีนที่บ่งบอกถึงการทำลายสมอง (NFL) และโปรตีนที่บ่งบอกถึงการอักเสบในสมองจากเซลล์เกลีย (GFAP)

8 – ทั้งสองกลุ่มนี้สามารถทำให้ดีขึ้นได้ แต่ไม่ทั้งหมดทุกคน โดยเข้าใกล้มังสวิรัติที่สุด งดเนื้อสัตว์บก ออกกำลังแบบไม่ฝืน เริ่มทีละน้อย และตากแดดลดแป้งไม่กินของหวาน

ไม่มีคำอธิบาย

ไม่มีคำอธิบาย

ไม่มีคำอธิบาย

ไม่มีคำอธิบาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"รอง ผอ.โรงเรียนดัง" สารภาพหมดเปลือกรับเงินแป๊ะเจี๊ยะจริง ผงะเจอสมุดบันทึกจดยอดละเอียดยิบ ล่าสุดสั่งพักราชการแล้ว
"รมต.ใหม่" เข้าทำเนียบฯ ตรวจโควิด ก่อนเข้าเฝ้าถวายสัตย์ฯพรุ่งนี้
รวบ "เฟรม เวฟ 125" คาไซต์งาน หลังพรากเด็กสาววัย 14 หนี ล่าสุดกลับสู่อ้อมอกพ่อแม่แล้ว
เปิดพฤติกรรม “ทีมงานสส.ก้าวไกล” ไถเงินหมื่นไซต์ก่อสร้างปราจีนบุรี “สส.แจ้” ลั่นกมธ.มีหลักฐานข้อมูลแน่น
"ผู้การฯยะลา" สั่งคุมเข้ม หลังวิสามัญ 2 คนร้าย หวั่นมีเหตุตอบโต้กลับ
"ถาวร"กางรธน.ชี้ชัด"พิชิต"ขาดคุณสมบัตินั่งรมต. ฝากกกต.ใช้อำนาจพิจารณา
อธิบดีสวธ.แจ้งกำหนดการพิธีศพ "คุณหญิงกุลทรัพย์" ศิลปินแห่งชาติผู้เทิดทูนสถาบัน ถึงแก่กรรมอย่างสงบ สิริอายุ 93 ปี
เกาหลีใต้ร่วมมือออคัส พัฒนาอาวุธ
"เพลงคู่ ครูสมาน กาญจนะผลิน" ณ ศาลาเฉลิมกรุง
เช็กเลยวันไหนบ้าง "ขึ้นทางด่วนฟรี" กทพ. ยกเว้นค่าทางด่วน 3 สาย เดือนพ.ค.67

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น