BTSC ชี้ส่งผลดีธุรกิจ สภากทม.อนุมัติใช้คืนหนี้กว่า 2 หมื่นล้าน

สืบเนื่องจากประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 3) ประจำปี 2567 โดยมีระเบียบวาระสำคัญคือ เรื่องที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เสนอขอความเห็นชอบในโครงการการรับมอบงานทรัพย์สินระบบการเดินรถ หรือไฟฟ้าและเครื่องกล โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 กรอบวงเงินรวม 23,488 ล้านบาท ซึ่งเรื่องดังกล่าวสืบเนื่องจากค่าจ้างติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล หรือ E&M เช่น งานระบบเก็บตั๋ว ระบบอาณัติสัญญาณ งานระบบสื่อสาร งานระบบจ่ายไฟ ระบบศูนย์ควบคุมสั่งการ ฯลฯ ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงที่ 2 แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS เป็นคู่สัญญา โดยมีค่าจ้างงานอยู่ที่ 23,488 ล้านบาท และครบกำหนดต้องชำระ

 

 

 

 

 

โดยนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า โครงการนี้เริ่มมาก่อนที่พวกเราเข้ามา แต่เป็นหน้าที่ของเราในการหาข้อยุติ โดยยึดประโยชน์ของประชาชนและของกทม.เป็นหลัก ซึ่งขั้นตอนหากวันนี้สภากทม.เห็นชอบในการโอนหรือรับค่าจ้างติดตั้งงาน E&M ก็จะนำเรื่องเสนอกระทรวงมหาดไทยและรายงานต่อครม. เพราะว่าหนี้ส่วนดังกล่าวอยู่ในแพ็คเกจที่อยู่ในครม. เพื่อขยายสัมปทานไปถึงปี พ.ศ.2604 ฉะนั้นถ้าเราจะทำก็ต้องให้ครม.เห็นชอบให้เราชำระเงินก่อน ถ้าครม.ไม่ขัดข้อง กทม.ก็จะทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และนำเข้าสภากทม.อีกครั้ง หากทุกอย่างผ่านก็จะสามารถเบิกจ่ายเงินได้

 

ส่วนถามว่าทำไมเราต้องรับE&Mมา ไม่ปล่อยให้เขาฟ้องนั้น นายชัชชาติ ชี้แจงว่า เพราะปริมาณผู้โดยสารและรายได้จากรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 มีผู้โดยสารทั้งหมดคิดเป็น 18% ของผู้โดยสารที่ใช้รถไฟฟ้าทั้งหมดของกทม. ซึ่งอยู่วันละประมาณ 1.5 ล้านคน จึงเป็นหัวใจสำคัญในการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ดังนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องให้ระบบเดินต่อได้ ไม่เช่นนั้นประชาชนจะลำบาก อีกทั้งงานระบบE&Mได้ติดตั้งแล้วจริงแล้ะมีการเดินรถตั้งแต่ปี 63 และครบกำหนดชำระตามที่กรุงเทพธนาคม หรือ KTแจ้งมา รวมถึงมีภาระดอกเบี้ย ค่าปรับต่างๆหากเราไม่ชำระตามเวลา ขณะเดียวกันหากเรามีระบบตรงนี้ทำให้เราสามารถต่อรองการจัดการเดินรถได้ในอนาคต

ขณะที่นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร สก.เขตจอมทอง พรรคเพื่อไทย อภิปรายแสดงความเห็นว่า ผู้ว่าฯกทม.ต้องดำเนินการให้เร็ว เพราะรอช้าไม่ได้ โดยเสนอร่างพระราชบัญญัติยืมเงินสะสมจ่ายขาด เพื่อมาจ่ายเงินตรงนี้ไป จะได้จบสักทีเรื่องรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพราะหากไปเสนอครม.ก่อน กว่าจะประชุมและไม่รู้เมื่อไหร่จะส่งเรื่องกลับมา อาจจะ 3 เดือนหรือ 4 เดือน จะทำให้กทม.มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นอีกจากดอกเบี้ย

ข่าวที่น่าสนใจ

จากนั้นที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร ได้มีมติเห็นชอบในโครงการดังกล่าว จำนวน 44 เสียง ไม่เห็นชอบไม่มี งดออกเสียง 1 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 45 คน จึงถึงว่าที่ประชุมมีมติเห็นชอบกับญัตตินี้ ซึ่งนายชัชชาติ ได้กล่าวขอบคุณ ส่วนที่สภากรุงเทพมหานครเห็นว่าเราควรดำเนินการในส่วนของเราต่อเนื่องไปเลย ฝ่ายผู้บริหารก็ไม่ขัดข้อง ส่วนที่เสนอให้ฝ่ายบริหารเสนอร่างพระราชบัญญัติยืมเงินสะสมจ่ายขาดนั้น จะพยายามดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งน่าจะเสนอให้ที่ประชมสภากรุงเทพมหานครวันพุธหน้า ส่วนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ฝ่ายบริหารจะไปดำเนินการคู่ขนานกันไป

ล่าสุด นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์ทีมข่าว TOPNEWS ถึงกรณีสภากรุงเทพมหานคร มีมติเห็นชอบให้จ่ายหนี้คืนเอกชน ในส่วนของค่าจ้างติดตั้งงานระบบไฟฟ้า และเครื่องกล หรือ E&M โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงที่ 2 แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS เป็นคู่สัญญา โดยมีค่าจ้างงานอยู่ที่ 23,488 ล้านบาท ว่า การที่สภากทม. ได้มีมติเห็นชอบให้มีการจ่ายเงินค่าจ้างติดตั้งระบบไฟฟ้า และเครื่องกล ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้บริษัทได้มีเม็ดเงินเข้ามาเพื่อดำเนินธุรกิจ

 

 

 

 

หลังจากที่บริษัทได้เป็นหนี้จากการกู้เงินจาก บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ บีทีเอสซี รวมถึงการออกหุ้นกู้ เพื่อระดมเงินมาเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจให้กับบริษัท ดังนั้นการได้รับเงินคืนหนี้จากกทม. ในส่วนของค่าจ้างติดตั้งงานระบบไฟฟ้า และเครื่องกล ทางบริษัท จะได้นำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้บางส่วน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเสริมสภาพคล่อง เพื่อให้ธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น อีกทั้งเม็ดเงินส่วนนี้จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับเจ้าหนี้อีกด้วย อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการดำเนินการจ่ายเงินจำนวนดังกล่าว จะต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการอีกสักระยะตามขั้นตอนของกรุงเทพมหานคร แต่ก็ถือเป็นเรื่องทีดีสำหรับบีทีเอสซีในฐานะบริษัทเอกชนคู่สัญญากับหน่วยงานรัฐ

 

 

สำหรับในส่วนของมูลหนี้ ระหว่างบีทีเอสซี กับกทม.และกรุงเทพธนาคม (เคที) ปัจจุบันมีมูลค่ารวมกว่า 5 หมื่นล้านบาท  แบ่งเป็นค่าจ้างติดตั้งงานระบบไฟฟ้า และเครื่องกล หรือ E&M  จำนวนกว่า  2.3 ล้านบาท และค่าจ้างเดินรถไฟ้าอีกกว่า  3 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด จากการที่บีทีเอสซียื่นฟ้องให้มีการบังคับชำระหนี้ เช่นเดียวกับกรณี  ค่าจ้างติดตั้งงานระบบไฟฟ้า และเครื่องกล หรือ E&M

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สมช.ประณามโจรใต้ไร้อารยะ ทำกับผู้หญิง-เด็ก-ผู้สูงอายุ ลั่นจะนำตัวเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างถึงที่สุด
"นายกฯ" สื่อมั่นใจเจรจาภาษีการค้าสหรัฐฯ ลั่นมีดีลลับต่อรอง "ทรัมป์" ขอคนไทยสบายใจได้
"นิด้าโพล" สะท้อนเสียงจว.ชายแดนใต้ ชี้ความปลอดภัยยังแย่ ปชช.ส่วนใหญ่มองรัฐ ไม่ค่อยให้ความสำคัญ
สลด "2 สาว" เที่ยวอุทยานฯน้ำตกทรายขาว ปัตตานี น้ำป่าซัดแรง เสียชีวิต
ทั่วไทยฝนเพิ่ม อากาศแปรปรวน 35 จังหวัด อ่วม รับมือฝนถล่ม ลมกระโชกแรง กทม.โดนด้วย ฝนหนัก 40 %
"เสธหิ" ซัดพวกโจมตี ทำลายภาพพจน์ "พีระพันธุ์" พร้อมยืนยันเป็นนักรบพลังงานทำเพื่อชาติ
ครั้งแรกอย่างยิ่งใหญ่! "ศุภมาส" ประกาศจัดงาน "อว. Job Fair 2025" เปลี่ยนความฝันให้เป็นอาชีพจริง เปิดรับสมัครงานสำหรับอาชีพยุคใหม่กว่า 150,000 อัตรา
"รองอ้อม ลลิตา" มั่นใจโค้งสุดท้าย คว้าชัยเลือกตั้งนายกเมืองป่าตอง
"สันติสุข" ชี้มั่วมากอ้างอำนาจ"ราชทัณฑ์" พา"ทักษิณ" นอนชั้น 14 ไม่เกี่ยวศาล ไล่ไปหามา เคสไหนเข้าคุกไม่ถึงคืน ออกไปพักห้องหรู รพ.ตร.
"นฤมล" แจงผลสำเร็จโครงการจ้างแรงงานชลประทาน กระจายรายได้เกษตรกร ลุยเป้าหมายให้ครบกว่า 8 หมื่นตน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น