พิพัฒน์ ตอบกระทู้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ยันเดินหน้าคิดสูตรใหม่ แยกรายอาชีพ พื้นที่

พิพัฒน์ ตอบกระทู้ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ยันเดินหน้าคิดสูตรใหม่ แยกรายอาชีพ พื้นที่

วันที่ 11 ม.ค. ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ เป็นประธานการประชุม วาระกระทู้ถามสด โดยนายสหัสวัต คุ้มคง สส.ชลบุรี พรรคก้าวไกล ตั้งถาม นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ต่อประเด็นการขั้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาลที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ทั้งนี้ได้เรียกร้องให้เปิดเผยผลการประชุมของคณะกรรมการพิจารณาค่าจ้างรายจังหวัด รวมถึงพิจารณาปรับคณะกรรมการไตรภาคีที่พบว่ามีฝ่ายการเมืองเข้ามาแทรกแซง หรือยุบทิ้งได้หรือไม่ อย่างไรก็ดีหากรัฐบาลส่งเสริมนโยบายการมีบุตร ดังนั้นการพิจารณาค่าแรงขั้นต่ำให้สามารถมีชีวิตที่มีคุณภาพเลี้ยงครอบครัวได้ ควรพิจารณาให้สอดคล้องกัน

นายพิพัฒน์ ชี้แจงว่า วิธีการคิด และคำนวณค่าแรงขั้นต่ำ 20- 30 ปีใช้ข้อมูลฐานเดิม คือ ปี 2563 – 2564 ให้อนุไตรภาคีแต่ละจังหวัดเป็นผู้นำเสนอต่อคณะกรรมการไตรภาคีของกระทรวงแรงงาน ที่มีตัวแทนลูกจ้างและนายจ้างรวมถึงฝ่ายรัฐ ทั้งนี้จากการทำงานของตนเกือบ 4 เดือน ต้องขออภัยที่ไม่สามารถทำให้มีค่าแรงขั้นต่ำได้สูงกว่าที่ประกาศและใช้ไปเมื่อ 1 ม.ค. 2567 อย่างไรก็ดีในการประกาศค่าแรงขั้นต่ำจะมีอีกครั้งในวันปีใหม่ไทย หรือ ในวันสงกรานต์ เดือนเม.ย. นี้ และในปี 2568

ข่าวที่น่าสนใจ

“ผมไม่ขอต่อล้อต่อเถียงในเรื่องกรรมการไตรภาคี เพราะท่านคงมีความรู้มากกว่าผม และทำการบ้านมามากกว่าผม ทั้งนี้กรรมการไตรภาคีนั้นเป็นการเลือกกันเองของลูกจ้างและนายจ้าง โดยกระทรวงแรงงานก้าวก่ายไม่ได้ อย่างไรก็ดีที่ถามถึงขั้นตอนการเลือกโดยไม่มีสหภาพแรงงานนั้นผมจะขอไปสอบถามให้อีกครั้ง อย่างไรก็ดีผมไม่มีสิทธิเข้าไปร่วมการประชุมไตรภาคี เพราะจะถูกมองว่าแทรกแซงการพิจารณา แม้จะเข้าไปทีแรกเพราะแนะนำตัวเท่านั้นโดยไม่มีสิทธิหน้าที่แทรกแซง” นายพิพัฒน์ ชี้แจง

ไม่มีคำอธิบาย

นายพิพัฒน์ ชี้แจงด้วยว่าที่ผ่านมาขอให้ผ่านไป ไม่ใช่ปัดสวะ ที่ผ่านมาคงแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ต่อไปจะหารือประธานบอร์ด และที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการที่เป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยต่างๆ แต่ไม่สามารถหารือกับฝ่ายนายจ้างหรือลูกจ้างได้ โดยตนจะดูและให้ความเห็นกับที่ปรึกษากรรมการ ว่าอะไรควรหรือไม่ ส่วนรายละเอียดเจาะลึก จะมุ่งเป้าไปยังกลุ่มธุรกิจที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่อาชีพที่ไม่มีจะขึ้นตามอัตภาพ หรืออัตราส่วน สำหรับค่าแรง 3 จังหวัดภาคใต้ ที่อัตราสูงอาจไม่มีผู้ลงทุนในพื้นที่เพราะต้องมีค่าเสี่ยงภัย

นายพิพัฒน์ กล่าวด้วยว่าสำหรับค่าแรงของผู้มีบุตรนั้นตนเตรียมเสนอ ครม. เร็วๆ นี้เพื่อพิจารณาการจ่ายค่าจ้างเต็มจำนวนสำหรับผู้ที่ลาคลอดบุตร 98 วัน โดยให้นายจ้างอุดหนุนเงินเดือน 49 วัน และสำนักงานประกันสังคม จ่ายเงิน 49 วัน ซึ่งถือว่าจะได้รับเงินเดือนเต็ม ในช่วงที่ลาคลอด.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สมศักดิ์ แสงสุริยา" กับเทคนิคเลี้ยงกุ้งให้รอด ณ สมุทรสงคราม
‘อธิบดีโยธาฯ’ มั่นใจแบบจำลองโมเดล พิสูจน์หาสาเหตุ ‘ตึกสตง.’ถล่มได้ คาด 90 วันรู้ผล
สนง.สลากฯ เปิดตัว ‘ยูนิฟอร์ม’ จำหน่ายสลาก N3 เพิ่มความสะดวกให้ผู้ซื้อ ยันไม่กระทบยอดขาย L6
ชาวอเมริกันหันมาเช่าไก่แก้ปัญหาไข่แพง
จีนช่วยเหลือ 'เมียนมา' เพิ่มเติม ส่งน้ำมันเชื้อเพลิงเกือบ 2 หมื่นตัน
"แม่ทัพภาค 2 " แจงคำสั่งกองกำลังถอยชายแดน เลี่ยงเผชิญหน้าเฉพาะจุดปัญหา ยันทัพไทยยังคุมเข้ม "ตาเมือนธม"
เปิดงาน นมัสการปิดทอง หลวงพ่ออี๋ 7 วัน 7 คืน
“พีระพันธุ์” พร้อมแจงทุกประเด็น ยังไม่ทราบ ป.ป.ช.จะแจ้งข้อกล่าวหารมต.แจกถุงยังชีพติดสติกเกอร์พีอาร์
"โรงพยาบาล" ยอมรับให้เลือดผิดกรุ๊ปจริง เหยื่อก้อนปูนพระราม 2 หล่นทับ
จีนชี้หากสหรัฐต้องการเจรจาการค้าต้องยกเลิกภาษีก่อน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น