No data was found

วิปรัฐบาลคว่ำญัตติก้าวไกล ขอประชามติแก้รธน. ย้ำชัดไม่เอารื้อทั้งฉบับ ไม่แตะหมวด 1-2

กดติดตาม TOP NEWS

วิปรัฐบาลคว่ำญัตติก้าวไกล ขอประชามติแก้รธน. ย้ำชัดไม่เอารื้อทั้งฉบับ ไม่แตะหมวด 1-2

เมื่อเวลา 16.00 น. ที่รัฐสภา หลังที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเสียงข้างมากไม่เห็นชอบให้ส่งญัตติ เรื่องขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบและแจ้งให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติเพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นผู้เสนอ ทำให้ตัวแทนวิปรัฐบาล แถลงข่าวเพื่อสร้างความเข้าใจต่อประชาชน นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานวิปรัฐบาล เผยว่า ในญัตตินี้วิปรัฐบาลประชุมกันถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกมองว่าจะนำญัตติอื่นมาพิจารณาแทน ไม่ให้โอกาสฝ่ายค้านได้อภิปรายในสภาหมือนเช่นวันนี้ เมื่อวิปรัฐบาลได้ประชุมกันอีกครั้งในช่วงเช้าของวันนี้ (25 ต.ค.) หลังการประชุมกันยาวนานถึง 4 ชั่วโมง เห็นว่าเรื่องนี้มีความสำคัญ อาจจะสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ จนถึงการมองว่าพรรคร่วมรัฐบาลไม่ใส่ใจต่อการทำประชามติและแก้ไขรัฐธรรมนูญ วิปรัฐบาลจึงมีมติให้นำญัตติดังกล่าวเข้าไปสู่การพิจารณา

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับญัตติของพรรคก้าวไกล ยังเห็นทางที่จะประสานกันได้ เพราะคณะกรรมการศึกษาการจัดทำประชามติ ได้ยื่นมือไปหาพรรคก้าวไกลแล้ว ซึ่งทางพรรคก้าวไกลก็รับปากว่าจะไปแสดงความคิดเห็นต่อคณะอนุกรรมการ จึงกล่าวได้ว่า อย่างไรความคิดเห็นก็ไปถึงคณะรัฐมนตรีอยู่แล้ว ด้าน นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.แบบบัญชีรายชื่อ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และการทำประชามตินั้น เป็นนโยบายของรัฐบาลอยู่แล้ว และได้มีการตั้งคณะกรรมการศึกษาการจัดทำประชามติขึ้นมา ทั้งได้มีคณะอนุกรรมการ 2 ชุด สำหรับศึกษาจำนวนครั้งการจัดทำประชามติ และกระบวนการหลังทำประชามติด้วย ดังนั้น กระบวนการดังกล่าวมีหลักประกันว่ารัฐบาลจะทำจริง เพราะรัฐบาลได้ประกาศเป็นนโยบาย และเป็นมติของที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนัดแรก ทางวิปรัฐบาลจึงเห็นว่ากระบวนการนี้จะได้เดินหน้าต่อไป ส่วนญัตติที่พรรคร่วมฝ่ายค้านนำเสนอ จะว่าไปแล้วก็ยังไม่ถึงที่สิ้นสุด เพราะอ้าง พ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 9 ที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ซึ่งหากวุฒิสภาไม่เห็นชอบเหมือนสภาผู้แทนราษฎร ก็ไปสู่รัฐบาลไม่ได้ “รัฐบาลยินดีรับฟังเต็มที่ แม่จะอยู่ระหว่างการสอบถามและรับฟังความเห็นจากส่วนต่างๆ ยังสามารถส่งความเห็นไปให้รัฐบาลได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าน พ.ร.บ.ประชามติ“ นายชูศักดิ์ ย้ำว่า วิปรัฐบาลยังเห็นด้วยกับการทำประชามติ แต่มองว่าการทำประชามติ หากดำเนินการโดยรัฐบาลก็จะมีโอกาสสำเร็จ เพราะที่ผ่านมา หากรัฐบาลและวุฒิสภาไม่เห็นด้วย การทำประชามติก็จะไม่สำเร็จ

นายชูศักดิ์ ยังกล่าวว่า มีความเห็นขัดแย้งกันมากที่สุด คือการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับมีความหมายอย่างไร โดยพรรคร่วมรัฐบาลมีความเห็นไปในทำนองเดียวกันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะไม่แก้ หมวด 1 และหมวด 2 ดังนั้น ส่งให้รัฐบาลไปก็เปล่าประโยชน์ เพราะยังเป็นความเห็นที่ขัดแย้งไม่ลงรอยกันมานานแล้ว จึงเห็นว่าควรให้รัฐบาลทำหน้าที่ไป และหวังว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าเดิม ขณะที่ นายภราดร ปริศนานันทกุล สส.อ่างทอง และโฆษกพรรคภูมิใจไทย ยืนยันว่า การลงมติในวันนี้ไม่ได้หมายความว่าพวกเราพรรคร่วมรัฐบาล ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติ เพื่อสอบถามพี่น้องประชาชนว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ ไม่ได้หมายความว่าพวกเราจะกอดรัดอยู่กับรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เป็นรัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการ พวกเราเห็นควรว่าต้องแก้ไขให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยมาจาก สสร.

สิ่งที่ไม่เห็นด้วยมีอยู่ 3 ประเด็นหลักคือ 1. รัฐบาลมีคณะกรรมการพิจารณาอย่างรอบคอบ มาจากทุกพรรคการเมือง นอกจากฝ่ายการเมือง ยังมีฝ่ายวิชาการเข้าร่วมด้วย ซึ่งมีความน่าเชื่อถือมากพอสมควรที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ 2. เนื้อหาสาระของคำถามที่จะส่งให้รัฐบาล พรรคก้าวไกลเสนอจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งขัดต่อเจตนารมย์ของพรรคร่วมรัฐบาลทุกพรรคที่ประกาศเอาไว้ตอนหาเสียงเลือกตั้ง ว่า พวกเราจะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวดที่หนึ่งและหมวดที่สอง แต่ญัตติของนายพริษฐ์จะให้แก้ไขทั้งระบบ ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของพวกเรา ไม่มีใครการันตีได้ว่าจะไม่มีการแก้ เพื่อไม่ให้ขัดต่อเสียงของประชาชน พรรคร่วมรัฐบาลจึงไม่เห็นด้วย 3. การตั้ง สสร. พรรคร่วมรัฐบาลยังไม่เห็นด้วยว่าจะต้องมาจากการเลือกตั้ง 100 % เพราะเราเห็นว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายมหาชนที่จะเกิดขึ้นจากพี่น้องประชาชนในหลากหลายสาขาอาชีพ ไม่มีอะไรที่ยืนยันได้ว่า สสร.จากการเลือกตั้ง จะมาจากทุกสาขาอาชีพและคนที่หลากหลาย ”เราไม่แน่ใจว่าจะมีกลุ่ม LGBT เข้ามาเป็นตัวแทน เราไม่แน่ใจว่าจะมีกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอาชีพเข้ามาหรือไม่”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

รวบสมาชิกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ยุคบุกเบิก หนีคดีกว่า 14 ปี สอบสวนกลาง ตามรวบ
"พิพัฒน์" นำทีมคุย "กลุ่มมิตรผล" ร่วมยกระดับมาตรฐาน-ศักยภาพแรงงาน
"พท." จัดหนักล็อตใหญ่ส่ง 9 สายแข็งชิง "นายกอบจ." ดับเครื่องชน "ก้าวไกล" ให้มันรู้ไผ่เป็นไผ่ศึกเลือกตั้งท้องถิ่น
"กฟน." รับผิดประมาท เหตุคนตกท่อดับ แจงสาเหตุนำฝาไม้ปิดแทน
สอบสวนกลาง รวบสาวรับจ้างเปิดบัญชีม้า ผู้เสียหายสูญเงินไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท
"จอมแฉ" สิ้นลาย ถูกสอบสวนกลางรวบตัว หลังขู่ยื่นหนังสือตรวจสอบประมูลงาน กรรโชกทรัพย์หลายบริษัทฯ
"พิมพ์ภัทรา "จี้ถาม"ปลัดอุตฯ" คาใจเหตุ "อธิบดีกรมโรงงาน" ลาออก
ระทึก สภ.ศรีราชา ผู้ต้องหาหญิง พยายามผูกคอ ในห้องขัง โชคดีเจ้าหน้าที่เห็นทัน
"นายกฯ" บ่นแรงอีกแล้วเหรอ เกิดอุบัติเหตุคนตกท่อกฟน.เสียชีวิต
ภาวะโลกรวน : วัฎจักรราคาสินค้าเกษตรสูงทั่วโลก บริโภคอย่างเข้าใจ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น