No data was found

“ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์” โชว์เทคโนฯผลิตสุดล้ำ โรงงานผลิต “มาม่า” พร้อมรุกตลาดใน-นอกประเทศ ปี 67 โตเพิ่ม 5-7%

กดติดตาม TOP NEWS

"ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์" โชว์เทคโนฯผลิตสุดล้ำ โรงงานผลิต "มาม่า" พร้อมรุกตลาดใน-นอกประเทศ ปี 67 โตเพิ่ม 5-7%

นายพันธ์ พะเนียงเวทย์  ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TFMAMA เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัท โรงงานผลิต “มาม่า” มีจำนวนทั้งหมด 8 แห่ง แบ่งเป็นในประเทศ 5 แห่ง โดย 3 แห่ง เป็นโรงงานผลิตเส้นบะหมี่ ได้แก่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จังหวัดลำพูน และจังหวัดระยอง/ โรงงานผลิตเส้นขาวจังหวัดราชบุรีจำนวน 2 แห่ง และโรงงานผลิตในต่างประเทศ  อีก 4 แห่ง ได้แก่ เมียนมาร์ กัมพูชา บังคลาเทศ และฮังการี

 

 

ทั้งนี้ หากแบ่งประเภทกำลังการผลิตบะหมี่ประเภทซองอยู่ที่ 964,320 หีบต่อเดือน กำลังการผลิตบะหมี่ประเภทถ้วยอยู่ที่ 1,159,498 หีบต่อเดือน กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์จากข้าวอยู่ที่ 193,125 หีบต่อเดือน โดยความเร็วในไลน์ผลิตแบบซองความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 450 ซองต่อนาที ความเร็วไลน์ผลิตแบบถ้วยสูงสุดอยู่ที่ 300 ถ้วยต่อนาที

ปัจจุบันบริษัท ฯ ได้ขยายกำลังการผลิตเพิ่มในโรงงานหลายแห่ง โดยมีการปรับปรุงเครื่องจักรเดิม รวมถึงการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่ที่ให้ประสิทธิภาพและความเร็วในการผลิตเพิ่มขึ้น โดยบริษัทฯ  มีแผนที่จะก่อสร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อรองรับการทำตลาดที่มากขึ้นในอนาคต

 

นอกจากการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศแล้ว บริษัทฯ มีการส่งออกผลิตภัณฑ์ “มาม่า” ไปแล้ว 68 ประเทศทั่วโลก เนื่องจากตลาดต่างประเทศมีขนาดใหญ่กว่าในประเทศจึงมีโอกาสในการทำตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยตลาดที่น่าสนใจได้แก่ จีน เนื่องจากปัจจุบันเทรนด์ผู้บริโภคจีนนิยมอาหารไทยมักจะซื้อเป็นของฝากมากขึ้น และตลาดที่จะขยายเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยุโรปและอเมริกา ส่วนตลาดใหม่ที่น่าจับตามอง ได้แก่ อินเดียและแอฟริกา

สำหรับทิศทางการทำธุรกิจในอนาคต บริษัท ฯ จะมุ่งต่อยอดสู่ Future food โดยจะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของตลาดและไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปและไม่หยุดนิ่ง

ด้านผลประกอบการคาดว่าในปี 2566 นี้ จะมีอัตราการเติบโตขึ้นจากปี 2565 อยู่ที่ 4 % โดยคาดการณ์ว่าในปี 2567 จะสามารถเติบโตอยู่ที่ 5 – 7 % โดยปัจจุบันสัดส่วนการทำตลาดแบ่งเป็นในประเทศ 70 % และต่างประเทศ 30 % ในอนาคตตั้งเป้าว่าจะเพิ่มสัดส่วนการทำตลาดต่างประเทศอยู่ที่ 40 – 50 %

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

อย่างไรก็ดี บริษัท ฯ ยังมีแผนการสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคได้เห็นมาม่าในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ เช่น Mama Station หรือ ร้านอาหารมาม่าในห้างสรรพสินค้า รวมไปถึงร้านอาหารไทยในต่างประเทศ ซึ่งจะได้เห็นมากขึ้นตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป

นายพันธ์ กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ได้เชิญผู้ประกอบการเข้าหารือในช่วงที่ผ่านมาว่า ในการเข้าหารือเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกรมการค้าภายใน โดยกระทรวงพาณิชย์ ได้ติดตามสถานการณ์กำลังซื้อของผู้บริโภค แนวโน้มต้นทุน รวมถึงแนวทางความร่วมมือในการลดค่าใช้จ่ายของประชาชนตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งโครงการดังกล่าวเริ่มตั้งแต่เดือน ต.ค. ไปจนเดือน ธ.ค. เชื่อว่าจะเป็นการช่วยเหลือประชาชนได้มาก เพราะเป็นการลดราคาของสิ้นค้าหลายชนิดไม่เฉพาะมาม่าเพียงอย่างเดียว

 

 

ทั้งนึ้ ในส่วนของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มเงินในกระเป๋าให้กับประชาชนก็เป็นเรื่องจำเป็น แต่จะทำด้วยวิธีใด รูปแบบใด การแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ตจะแจกอย่างไร ให้เป็นหน้าที่ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นผู้พิจารณา แต่คาดว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปน่าจะเป็นสินค้าที่ได้รับอานิสงส์จากนโยบายนี้ด้วย เพราะทุกครั้งที่มีการกระตุ้นเศรษฐกิจ อัดฉีดเงินเข้ากระเป๋า ประชาชนก็จะไปของอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ซึ่งหนีไม่พ้นข้าวสารอาหารแห้ง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

แต่มีข้อเสนอฝากถึงรัฐบาลว่าการแจกเงินครั้งนี้ ควรทำให้ประชาชนใช้งานได้อย่างสะดวกด้วย เมื่อจะเอาเงินให้เขาแล้วอย่าให้เขาเกิดความลำบากในการใช้งาน

 

 

นายพันธ์ ระบุว่า ในส่วนของมาตรการต่างๆที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับขึ่นค่าแรงขั้นต่ำ ในส่วนของผู้ประกอบการ เป็นสิ่งที่ต้องทำ เพราะจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลต้องพิจารณาและทบทวนอย่างเหมาะสม ซึ่งการปรับค่าแรงมองว่าจะไม่กระทบต่อต้นทุนของบริษัท เพราะอยู่ในภาวะผู้ประกอบการที่ปรับตัวและยอมรับได้ และจะพยายามชะลอการขึ้นราคาสินค้าให้ได้นานที่สุด ขออย่าเพิ่งมองว่าสินค้าอุตสาหกรรมจะปรับราคาขึ้นตามค่าแรง โดยขณะนี้บริษ้ทมีต้นทุนค่าแรงอยู่ที่ 10 %ของการผลิต หากปรับขึ้น 10-20 % จะกระทบการผลิต 1 %

 

 

ในส่วนของผู้ประกอบการรายเล็ก ๆ อาจปรับตัวไม่ทันหากมีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งรัฐบาลควรมีมาตรการเยียวยา เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยปรับตัวด้วย

พร้อมยืนยันว่า ขณะนี้บริษัทยังไม่มีแนวทางพิจารณาปรับขึ้นราคาสินค้าในประเทศ โดยยังคงอยู่ที่ซองละ 7 บาท หลังจาก 14 ปีที่ผ่านมาเพิ่งปรับขึ้นซองละ 1 บาทไปเมื่อปีที่แล้ว

 

 

ส่วนภาวะต้นทุนราคาสินค้าที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่ปี 65 ทั้งราคาน้ำมันปาล์มและแป้งสาลี ขณะนี้ราคาเริ่มอยู่ในภาวะสมดุล และยังอยู่ในเกณฑ์ควบคุมได้ เช่นเดียวกับค่าไฟฟ้า และราคาน้ำมันที่แพงขึ้นยังไม่กระทบต่อกำลังการผลิตของบริษัทโดยตรง รวมทั้งยังไม่ได้รับผลกระทบการค้าทางตรงกรณีความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลาง

 

 

 

สำหรับ โรงงานผลิต “มาม่า”ของบริษัท ฯ มีกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพและ ใช้เทคโนโลยีเครื่องจักรทันสมัย และเป็นโรงงานที่ให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทดแทน โดยได้เริ่มนำร่องใช้โซลาร์ฟาร์มภายในโรงงาน และมีแนวโน้มจะใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ทางบริษัทฯ ได้เริ่มทำการศึกษาในการนำซองมาม่าเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นเม็ดพลาสติก และนำมาผสมกับผงไม้เพื่อนำไปใช้สร้างประโยชน์กลับคืนให้กับชุมชน เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนอีกด้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

รองเลขาธิการนายกฯ ย้ำชัด รัฐบาลเดินหน้า "แลนด์บริดจ์" เต็มกำลัง คาดพ.ร.บ.SEC เข้าสภาฯปลายปีนี้
สมาคมฯ ชวนคนไทย "มาร่วมเป็นเจ้าภาพที่ดีร่วมกัน" ฟีฟ่า คองเกรส ครั้งที่ 74
เครือข่ายกัญชา ดีเดย์ 16 พ.ค. รวมตัวคุยรมว.สาธารณสุข เร่งทำข้อมูลข้อดี ข้อเสีย เทียบบุหรี่-เหล้าให้เห็น ก่อนขึ้นบัญชียาเสพติด
งงทั้งโซเชียล ลูกค้าสั่งขนมโตเกียว เจอถุงกระดาษ แทบรับไม่ได้ คอมเมนต์เพียบ หลุดมาได้ยังไง
อรรถพล ส่งต่อภารกิจ CEO แก่ ดร.คงกระพัน ขับเคลื่อน ปตท. สู่ความยั่งยืน
สะเทือนแน่ “ทนายอนันต์ชัย” เตรียมนำทีมงาน มูลนิธิทนายกองทัพธรรม บุกกองปราบฯพรุ่งนี้ แจ้งเอาผิด “ลัทธิเชื่อมจิต”
"ไทยสร้างไทย" จัดโครงการ "ห่วงหัวใจ" ถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมืองพัทยา จับมือ MCOT จัดกิจกรรม Doraemon Run 2024 Thailand by MCOT at PATTAYA
จีน ตามมา! แม่ลูก ‘แพนด้ายักษ์’ เดินต้วมเตี้ยมกลางป่า
จีน รถไฟสาย ‘กุ้ยโจว-เวียงจันทน์’ เที่ยวแรกกระตุ้นท่องเที่ยวคึกคัก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น