No data was found

“ดร.สามารถ” ซัดตรง “สุริยะ” มั่วหนัก โทษรัฐประหาร เหตุพัฒนาสุวรรณภูมิล่าช้า

กดติดตาม TOP NEWS

"ดร.สามารถ" ซัดตรง "สุริยะ" มั่วหนัก โทษรัฐประหาร เหตุพัฒนาสุวรรณภูมิล่าช้า

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะนักวิชาการด้านวิศวกรรมขนส่ง โพสต์เฟซบุ๊ก “ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte” โดยระบุข้อความว่า เรื่องจริง “สนามบินสุวรรณภูมิ” ใครทำ ? ใครอวย ? ใครแขวะ ? มีการเปิดใช้อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (Satellite 1 หรือ SAT-1) ในสนามบินสุวรรณภูมิไปเมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้สนามบินสุวรรณภูมิอยู่ในโฟกัสความสนใจของสาธารณชนอีกครั้ง ข้อมูลที่ถูกเปิดเผยออกมาในระหว่างพิธีเปิดใช้ SAT-1 ไม่ถูกต้องทั้งหมด ซึ่งอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้ เนื่องจากสนามบินสุวรรณภูมิมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ถ้าอ่านบทความนี้จะรู้ว่าใครมีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ ใครทำ ? ใครอวย ? ใครแขวะ ?

1. มีการจัดทำแผนแม่บทสนามบินสุวรรณภูมิเมื่อปี 2535-2536 (รัฐบาลชวน หลีกภัย)

แนวคิดการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิมีมานานมากแล้ว แต่เริ่มมาเป็นรูปเป็นร่างเมื่อปี 2535-2536 (รัฐบาลชวน หลีกภัย) เมื่อมีการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิขึ้นมา แผนแม่บทนี้จัดทำโดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. โดยมีบริษัท หลุยส์ เบอร์เจอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชื่อดังของอเมริการ่วมอยู่ด้วย

ในช่วงหนึ่งของชีวิตการทำงานของผม ผมมีอาชีพเป็นวิศวกรที่ปรึกษาด้านคมนาคมขนส่ง โดยได้มีโอกาสทำงานในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย อีกทั้ง ได้ทำงานกับบริษัท หลุยส์ เบอร์เจอร์ฯ อยู่หลายปี โดยได้ร่วมจัดทำแผนแม่บทสนามบินสุวรรณภูมิด้วย ทำให้ผมมีข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิพอสมควร

แผนแม่บทนี้ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักดังนี้

(1) อาคารผู้โดยสารหรือเทอร์มินัล 2 หลัง ประกอบด้วยเทอร์มินัล 1 อยู่ทางทิศเหนือด้านมอเตอร์เวย์ และเทอร์มินัล 2 อยู่ทางทิศใต้ด้านถนนบางนา-ตราด
(2) อาคารเทียบเครื่องบินรอง (สำหรับให้ผู้โดยสารนั่งรอขึ้นเครื่องบิน) 2 หลัง ตั้งอยู่ระหว่างเทอร์มินัล 1 และเทอร์มินัล 2
(3) รถไฟฟ้าไร้คนขับ (Automated People Mover หรือ APM) วิ่งใต้ดินเชื่อมระหว่างเทอร์มินัล 1 กับเทอร์มินัล 2 และ
(4) รันเวย์ 4 เส้น ตั้งอยู่ด้านตะวันตก 2 เส้น และด้านตะวันออก 2 เส้น องค์ประกอบเหล่านี้จะทำให้สนามบินสุวรรณภูมิมีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 120 ล้านคนต่อปี

 

ข่าวที่น่าสนใจ

2. ปี 2540 “นายชวน หลีกภัย” นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นประกาศในสภาฯ เดินหน้าก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2540 นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นแถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่าจะเร่งก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิโดยใช้งบประมาณ 1.2 แสนล้านบาท ตามที่ ครม. ได้อนุมัติไว้เมื่อประมาณปี 2537 (รัฐบาลชวน หลีกภัย)

3. ปี 2544-2545 (รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร) ประมูลก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 ประมาณปี 2544-2545 มีการประมูลก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 หรือ เทอร์มินัล 1 (อาคารผู้โดยสารที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน) ราคากลาง 45,000 ล้านบาท แต่บริษัทที่ชนะการประมูลเสนอราคาสูงกว่าราคากลาง รัฐบาลในขณะนั้นจึงปรับลดเนื้องานโดยตัดปีกด้านตะวันออกและตะวันตกออก พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนวัสดุบางส่วน ทำให้ราคากลางลดลงเหลือ 36,000 ล้านบาท ด้วยเหตุนี้ เทอร์มินัล 1 จึงยังก่อสร้างไม่ครบถ้วนตามแผนแม่บท เหลือเป็นที่ว่างด้านตะวันออกและตะวันตกอยู่ ซึ่ง ทอท. จะต้องขยายเทอร์มินัล 1 ออกไปทั้งสองด้าน

4. อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) และรถไฟฟ้า APM เป็นการก่อสร้างตามแผนแม่บท

จะเห็นได้ว่า SAT-1 และรถไฟฟ้า APM ที่เพิ่งเปิดใช้เมื่อเร็วๆ นี้ เป็นการก่อสร้างตามแผนแม่บทที่ได้จัดทำไว้เมื่อปี 2536 (รัฐบาลชวน หลีกภัย) ไม่ได้ก่อสร้างตามวิสัยทัศน์ของใครคนใดคนหนึ่ง

5. อาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 (SAT-1) ไม่ได้ล่าช้าเพราะรัฐประหาร

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว. คมนาคม กล่าวรายงานในพิธีเปิด SAT-1 ว่า หากไม่มีรัฐประหาร SAT-1 คงเสร็จไปตั้งแต่ปี 2560 แล้ว การกล่าวเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่า รมว. คมนาคมโยนเหตุแห่งความล่าช้าไปที่รัฐประหารปี 2557 ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย

ความจริงก็คือ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2553 ครม. ได้มีมติเห็นชอบโครงการ SAT-1 ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งในแผนพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ 2554-2559) ของ ทอท. นั่นหมายความว่าตามแผนพัฒนาระยะที่ 2 ทอท. ต้องการก่อสร้าง SAT-1 ให้แล้วเสร็จในปี 2559 แต่ที่ล่าช้า เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อเร็วๆ นี้ รมว. คมนาคม ควรเรียกผู้บริหาร ทอท. มาซักถามดูว่าเป็นเพราะอะไร ? อาจเป็นเพราะงานออกแบบล่าช้าเกือบ 2 ปี ? และ/หรือ เพราะการมุ่งมั่นที่จะก่อสร้างเทอร์มินัลหลังใหม่ซึ่งไม่มีอยู่ในแผนแม่บท ?

เทอร์มินัลหลังใหม่นี้ผมเรียกว่า “เทอร์มินัล 2 ตัดแปะ” โดย ทอท. ต้องการที่จะก่อสร้างเทอร์มินัล 2 ตัดแปะบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเทอร์มินัล 1 ตามที่เคยเป็นข่าวโด่งดังช่วงปี 2561-2564

 

6. สรุป

ในพิธีเปิดอาคารที่สำคัญดังเช่น SAT-1 ในสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งมีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน ผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงจะต้องนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่อวย ไม่แขวะผู้ใดผู้หนึ่งโดยไม่รู้ข้อเท็จจริง เพราะจะทำให้การเขียนประวัติศาสตร์การพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิถูกบิดเบือนไปอย่างไม่น่าให้อภัย

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

รมต.เฮ้ง ขอทำงานให้ประเทศชาติ ไม่ยึดติด จาก รมว.มาเป็น รมช.
เมืองทองแทบแตก ชาวบ้านนับหมื่นแห่เข้าแถว กินทุเรียนฟรี 10 ตัน
"ดร.อานนท์" จวกหนัก "โน้ส อุดม" ปัญญาตื้นเขิน พูดเสียดสีศก.พอเพียง
"ต๊อบ วุฒินันท์" ซัดจุกอก "โน้ส อุดม" แขวะพ่อสอนรู้จักใช้ชีวิตพอเพียง
"อธิบดีอัยการ" พร้อมช่วยญาติเหยื่อ "ตกท่อเสียชีวิต" ชี้โทษหนักคุก 10 ปี
ชุมชนคุณธรรมฯ วัดท่าขนุน กาญจนบุรี ต้นแบบ“เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ปี ๒๕๖๖
"ธนดล" บุกสนามกอล์ฟไมด้า เมืองกาญฯ เตรียมยึดที่ ส.ป.ก. คืน 139 ไร่
เปิดใจ คนขับรถสองแถว-เรือเช่า แจงปมดราม่า หลังยูทูปเบอร์ญี่ปุ่น ลงคลิปประสบการณ์สุดแย่ที่ไทย
หนุ่มหัวร้อนยิงคนตาย ปมโมโหจอดรถขวางหน้าบ้าน ก่อนหนีหาย 34 ปี สอบสวนกลางตามรวบ
34 ปีไม่เคยเจอ พายุฤดูร้อนกระหน่ำรพ.อุตรดิตถ์ พาคนไข้อพยพวุ่น เครื่องมือแพทย์เสียหายเพียบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น