แมงมุม “ทารันทูล่า” นักวิทย์ไทยพบสายพันธุ์ใหม่ของโลกในจ.พังงา

ทารันทูล่า,​ แมงมุมทารันทูล่า, บึ้งประกายสายฟ้า, พังงา, ป่าชายเลน, ม.ขอนแก่น

นักวิทย์ฯ ไทย พบอัญมณีแห่งป่าชายเลน กับชื่อสุดเท่อย่าง บึ้งประกายสายฟ้า จากขนสีน้ำเงินสุดโดดเด่น เป็นแมงมุม "ทารันทูล่า" สายพันธุ์ใหม่ของโลก

นักวิทย์ฯ ไทย พบแมงมุม “ทารันทูล่า” สายพันธุ์ใหม่ของโลก มีขนเหมือนสายฟ้าสีน้ำเงินเหมือนหลุดมาจากหนัง ในป่าชายเลนของจังหวัดพังงา โดยตั้งชื่อว่า บึ้งประกายสายฟ้า ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

อ.ดร.นรินทร์ ชมภูวง อาจารย์ประจำสาขากีฏวิทยาและโรคพืชวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมคณะที่ออกสำรวจร่วมกับยูทูปเบอร์สายเดินป่าชื่อดังโจโฉ ในพื้นที่ จ.พังงา จนพบกับแมงมุม “ทารันทูล่า” ชนิดใหม่ของโลกที่สวยและดึงดูดความสนใจ

โดยบึ้งชนิดใหม่นี้ได้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า 𝑪𝒉𝒊𝒍𝒐𝒃𝒓𝒂𝒄𝒉𝒚𝒔 𝒏𝒂𝒕𝒂𝒏𝒊𝒄𝒉𝒂𝒓𝒖𝒎 และมีชื่อภาษาไทยว่า บึ้งประกายสายฟ้า ซึ่งเป็นลักษณะสีของบึ้งที่เมื่อสะท้อนกับแสงไฟแล้วมีประกายสีน้ำเงินคล้ายกับสีของ สายฟ้าสีน้ำเงิน 

 

ทารันทูล่า,​ แมงมุมทารันทูล่า, บึ้งประกายสายฟ้า, พังงา, ป่าชายเลน, ม.ขอนแก่น

 

นอกจากนี้ บึ้งชนิดนี้ยังมีสีม่วงด้วย ซึ่งตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วสีน้ำเงินเป็นสีที่หายากในธรรมชาติ เนื่องจาก สีน้ำเงินเป็นสีที่มีพลังงานสูง

แต่ความลับของ บึ้งประกายสายฟ้า คือ สีน้ำเงินที่เป็นประกายงดงามสลับกันบริเวณขาเกิดจากโครงสร้างระดับนาโนของเส้นขนบึ้ง ซึ่งมาจากการหักเหของแสง ทำให้แสงสะท้อนพลังงานที่ในช่วงความถี่ของแสงสีน้ำเงิน โดยไม่ได้เกิดจากกลไกที่รงควัตถุดูดซับพลังงานเหมือนกับการเกิดสีของพืชหรือสัตว์ในธรรมชาติโดยทั่วไป 

 

ทารันทูล่า,​ แมงมุมทารันทูล่า, บึ้งประกายสายฟ้า, พังงา, ป่าชายเลน, ม.ขอนแก่น

นอกจากสีน้ำเงินแล้ว บึ้งประกายสายฟ้า ยังปรากฏสีม่วงในบางส่วนของร่างกายอีกด้วย ซึ่งสีม่วงเป็นสีที่มีพลังงานมากกว่าสีน้ำเงินและมีช่วงในสเปกตรัมแสงที่แคบมาก นับเป็นสีที่พบได้ยากที่สุดในสิ่งมีชีวิต

บึ้งในสกุลนี้มีรายงานการพบในประเทศไทยเพียง 2 ชนิดเท่านั้น บึ้งประกายสายฟ้า ถือได้ว่าเป็นชนิดที่ 3 จากการค้นพบในไทยครั้งล่าสุดเมื่อ 27 ปีที่แล้ว แต่ชนิดที่พบในอดีตไม่ปรากฏความแวววาวของสีที่เป็นประกายเหมือนกับบึ้งประกายสายฟ้า

 

ทารันทูล่า,​ แมงมุมทารันทูล่า, บึ้งประกายสายฟ้า, พังงา, ป่าชายเลน, ม.ขอนแก่น

 

นับเป็นบึ้งที่มีความพิเศษลักษณะสวยงามและยังพบได้ในพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น จึงควรหาแนวทางอนุรักษ์พื้นที่ป่า ให้บึ้งที่พบในป่าชายเลนที่มีความหลากหลายทางชีวภาพตัวแรกและตัวเดียวของประเทศไทยในตอนนี้คงอยู่ต่อไปในอนาคต

ข้อมูล : iflscience และ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Faculty of Agriculture

 


Firster Lifestyle & Beauty : BEAUTY WEEK ช้อปบิวตี้ รับส่วนลดสุดฟิน [ทุกๆ เสาร์ – อาทิตย์- จันทร์] ตลอดเดือนกันยายน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อช.ภูกระดึง เตรียมพร้อมรับนักท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดยาว คาดจะมี นทท.แห่ขึ้นพิชิตยอดภูกระดึงเป็นจำนวนมาก
"ศาลรธน." ตอบสภาฯ "ตุลาการ" วิจารณ์ยุบก้าวไกล ไม่ใช่เสียดสี กระทบการปฏิบัติหน้าที่
สุดอาลัย "พล.ต.อ.ณรงค์ มหานนท์" อดีตอธิบดีกรมตำรวจ เสียชีวิตด้วยโรคชราวัย 98 ปี
กองเรือยุทธการ จัดกิจกรรม แสงเทียนแห่งใจจารึกไว้ตราบนิรันดร์ เรือของพ่อ เรือ ต.9 ประชาชนร่วมจุดเทียนสว่างไสว น้อมรำลึกในหลวง ร.9
ปลดป้ายใหญ่ยักษ์ “ดิไอคอนกรุ๊ป” สี่แยกใจกลางเมืองพัทยา
แห่กันมาเจิมมือ "หลวงพ่อสง่า" กันอย่างไม่ขาดสาย หลังเจิมมือแล้วถูกรางวัลที่ 1 กัน 30 ล้านบาท เมื่องวดวันที่ 1 ต.ค. 67 ที่ผ่านมา
รวบ ! พ่อเลี้ยงลูกเลี้ยง สามัคคี ชวนกันเสพยาบ้า
"นักวิชาการ" ชี้เตรียมรับมือ ฝนตกหนัก น้ำมาก อากาศหนาวนาน อ่วมสุดฝุ่นพิษ PM2.5 จะรุนแรงมากขึ้น
รวบตัวได้แล้ว โจรโรคจิตขี่รถตระเวนขโมยชุดชั้นในผู้หญิง
"ไพศาล" ยันชัด "ที่ดินอัลไพน์" ไม่ใช่ที่ธรณีสงฆ์ นายกฯไม่ได้ทำผิด ชี้เรื่องนี้ก็ล้มรัฐบาลไม่ได้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น