No data was found

เลอะเทอะใหญ่ “นักเรียนเลว” จี้ยกเลิกสวดมนต์ในโรงเรียน อ้างละเมิดเสรีภาพ

กดติดตาม TOP NEWS

เลอะเทอะใหญ่ "นักเรียนเลว" จี้ยกเลิกสวดมนต์ในโรงเรียน อ้างละเมิดเสรีภาพ

เมื่อวันที่ 20 กันยายนเพจ Facebook นักเรียนเลว ซึ่งเป็นเครือข่ายม็อบ 3 นิ้ว ได้เผยแพร่บทความให้ยกเลิกการสวดมนต์ในโรงเรียน โดยบทความดังกล่าว ระบุตอนหนึ่งว่า การสวดมนต์ตอนเช้าดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติที่เราสามารถเห็นได้ในโรงเรียนรัฐบาลทั่วไป แต่การที่นักเรียนส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในโรงเรียนรัฐนั้นเป็นเรื่องที่ควรเกิดขึ้นจริงหรือ

การสวดมนต์หน้าเสาธงในโรงเรียนนั้นมีระบุไว้ในระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการสวดมนต์ไว้พระของนักเรียน พ.ศ.2503 ให้มีการสวดมนต์ไหว้พระหลังเคารพธงชาติและตอนเลิกเรียนในวันสุดท้ายของสัปดาห์ และให้ครู อาจารย์ร่วมสวดมนต์โดยพร้อมเพรียงกัน หากในโรงเรียนมีนักเรียนที่นับถือศาสนาอื่นจำนวนมาก โรงเรียนสามารถจัดให้มีการสวดมนต์ตามแบบศาสนานั้นด้วยก็ได้ โดยจัดนักเรียนแยกไว้ตามศาสนา

ข่าวที่น่าสนใจ

แต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 31 ระบุไว้ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน”

เมื่อยึดตามรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ การสวดมนต์ซึ่งเป็นพิธีกรรมทางศาสนาควรจะเป็นเสรีภาพของแต่ละบุคคล แต่นักเรียนในโรงเรียนกลับถูกบังคับให้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเสียอย่างนั้น ดังนั้นอาจเรียกได้ว่ากิจกรรมสวดมนต์ในโรงเรียนเป็นการละเมิดเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประชาชนก็ได้ แม้นักเรียนที่นับถือศาสนาอื่นอาจจะสามารถแจ้งครูอาจารย์ว่าไม่สามารถสวดมนต์ตามแบบศาสนาพุทธได้ แต่ปัญหาที่แท้จริงก็ยังคงหนีไม่พ้นการบังคับให้นักเรียนประกอบพิธีทางศาสนาอยู่นั่นเอง แม้ว่านักเรียนจะนับถือศาสนาพุทธ แต่ไม่ต้องการจะสวดมนต์ในตอนเช้า โรงเรียนก็ควรจะเคารพสิทธิตามรัฐธรรมนูญของนักเรียน

ถึงแม้ประเทศไทยจะมีประชาชนนับถือศาสนาพุทธจำนวนมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติอย่างเป็นทางการ เพราะไม่ได้มีกฎหมายใดเลยที่ระบุไว้เช่นนั้น ในทางนิตินัยแล้ว ประเทศไทยเป็นรัฐโลกวิสัย (secular state) ทั้งนี้ ลักษณะที่ควรจะเป็นในรัฐโลกวิสัย คือศาสนากับรัฐจะต้องแยกออกจากกัน ไม่มีศาสนาใดสามารถควบคุมหรือมีอิทธิพลต่อรัฐได้ ประชาชนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา แต่จะไม่มีผู้ใดได้รับสิทธิพิเศษเพราะนับถือหรือไม่นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง

เสรีภาพในการนับถือศาสนาของแต่ละบุคคลเป็นสิ่งที่ได้รับความเคารพ โรงเรียนจึงควรคำนึงว่านักเรียนมีความแตกต่างหลากหลายในด้านความเชื่อ โรงเรียนของรัฐจึงไม่ควรสนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่ง หรือยกศาสนาใดศาสนาหนึ่งมาเป็นศาสนาประจำโรงเรียน

การไม่ให้มีศาสนาประจำโรงเรียนในโรงเรียนรัฐไม่ได้หมายความว่าห้ามไม่ให้มีการสอนเกี่ยวกับศาสนาในโรงเรียน ห้ามนักเรียนนับถือศาสนา หรือห้ามไม่ให้นักเรียนปฏิบัติตามความเชื่อของศาสนาตน แต่เป็นเพียงการที่โรงเรียนไม่สนับสนุนศาสนาใดศาสนาหนึ่งเป็นพิเศษเพื่อให้ทุกศาสนาเท่าเทียมกันเท่านั้น จะไม่มีศาสนาใดที่ถูกยกย่องเชิดชูเป็นพิเศษในโรงเรียน นักเรียนที่นับถือศาสนาต่างกันหรือไม่นับถือศาสนาจะได้รู้สึกว่าความเชื่อ (หรือความไม่เชื่อ) ของตนเท่าเทียมกับของคนอื่น ๆ

สิ่งที่บทความนี้กล่าวถึงอาจจะดูไม่คุ้นเคยในประเทศไทยที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธจำนวนมากและคุ้นชินกับการสวดมนต์ในโรงเรียนเสียแล้ว แต่ถ้าหากต้องการให้ประเทศไทยเป็นรัฐโลกวิสัยที่ทุกศาสนาเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง ศาสนาประจำโรงเรียนของรัฐเป็นสิ่งที่ควรถูกยกเลิกไป เพื่อให้โรงเรียนรัฐเป็นพื้นที่ของคนทุกคน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ทนายด่าง" เผย 3 สาเหตุ "บุ้ง ทะลุวัง" เสียชีวิตก่อนถึงรพ. พร้อมขอประวัติการรักษาย้อนหลัง
ลอวเรนซ์ หว่อง ลั่นจะรับใช้ปชช.ด้วยหัวใจ สิงคโปร์ผลัดใบครั้งแรกในรอบ 20 ปี
รัสเซีย ยึดหมู่บ้านสำคัญเชิงสัญลักษณ์
ศุลกากรร่วมกับกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรี กอ.รมน. แถลงข่าวการจับกุมร้านลักลอบจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า 2 แห่ มูลค่ากว่า 1 ล้านบาท
9 ขวบรอดฉิวเฉียดกระสุนทะลุห้องฝุ่นตลบ (คลิป)
"สมศักดิ์" หนุนนำกัญชาต่อยอดการแพทย์ สร้างประโยชน์ศก. รับฟังทุกเสียงค้านขึ้นบัญชียาเสพติด
จีนเปลี่ยน ‘ฟาง’ เป็น ‘พลังงาน’ หนุนรักษ์สิ่งแวดล้อม
เฮงสุดๆ ลูกค้า "สนง.สลากฯ" ซื้อสลากฯ รับโชคใหญ่ ถูกรางวัลที่ 1 งวด 16 พ.ค. คนเดียวรวย 72 ล้าน
เกาหลีใต้ พุทธศาสนิกชนรวมตัวไหว้พระวันวิสาขบูชา
สโลวาเกีย เรียกประชุมความมั่นคงหลังนายกฯถูกลอบสังหาร

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น