No data was found

“ไข้เลือดออกอีโบลา” ทำความรู้จักโรคระบาดร้าย อัตราเสียชีวิตสูง

ไข้เลือดออกอีโบลา

กดติดตาม TOP NEWS

"ไข้เลือดออกอีโบลา" กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชวนทำความรู้จักโรคระบาดร้าย หลังพบมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 50-80 อาการไหนมีความเสี่ยง

“ไข้เลือดออกอีโบลา” ebola กรมควบคุมโรค อีโบลา โรคไข้เลือดออกจากไวรัส ไวรัสอีโบล่า โรคไข้เลือดออก โดยทางด้าน กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้เผยข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ ไข้เลือดออก อีโบลา โรคระบาดร้ายอันตรายถึงชีวิต อาการแบบไหนเข้าข่ายมีความเสี่ยง เช็คได้ที่นี่ TOP News หากสงสัยว่าเข้าข่ายติดเชื้อแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที

ข่าวที่น่าสนใจ

โรคไข้เลือดออกอีโบลา เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอีโบลา อยู่ในตระกูล Filoviridae ซึ่งในปัจจุบันไวรัสในกลุ่มอีโบลา แบ่งออกได้เป็น 6 species ได้แก่ Bombaliebolavirus, Bundibugyoebolavirus, Reston ebolavirus, Sudan ebolavirus, Tai Forest ebolavirusและ Zaire ebolavirus ซึ่งพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง ร้อยละ 50-90

โดยสายพันธุ์ Reston ebolavirus มีรายงานพบในประเทศฟิลิปปินส์ ทำให้เกิดโรครุนแรงในลิง พบการติดต่อสู่คนโดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือเครื่องในของลิงที่ติดเชื้อ

ไข้เลือดออกอีโบลา ebola กรมควบคุมโรค อีโบลา โรคไข้เลือดออกจากไวรัส ไวรัสอีโบล่า โรคไข้เลือดออก

อีโบลา จัดเป็นโรคประจำถิ่นในทวีปแอฟริกา มักพบการระบาดในประเทศคองโก ยูกันดา และกลุ่มประเทศแอฟริกาตะวันตก โดยเชื้ออีโบลา จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของเชื้อกลุ่มที่ 4 ซึ่งเป็นเชื้อที่มีความเสี่ยงสูงต่อบุคคลและชุมชน ก่อโรคร้ายแรงในคนและสัตว์ที่สามารถแพร่ไปยังบุคคลอื่นหรือสัตว์อื่นโดยทางตรงหรือทางอ้อม และเป็นโรคที่ยังไม่มีวิธีการป้องกันหรือรักษาแบบได้ผล

การติดต่อของโรคนี้ สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คน จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง และเนื้อเยื่อจากอวัยวะของผู้ป่วยที่แสดงอาการหรือผู้เสียชีวิต หรือจากการสัมผัสสิ่งของที่มีการปนเปื้อนสารคัดหลั่ง โดยเชื้อจะเข้าสู้ร่างกายผ่านเยื่อบุ เช่น ตา จมูก ปาก และผิวหนัง โดยผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ระยะเริ่มมีไข้ และตลอดระยะที่มีอาการ

ไข้เลือดออกอีโบลา ebola กรมควบคุมโรค อีโบลา โรคไข้เลือดออกจากไวรัส ไวรัสอีโบล่า โรคไข้เลือดออก

สังเกตอาการเสี่ยงของโรคไข้เลือดออกอีโบลา

การติดเชื้อมีระยะฟักตัวตั้งแต่ 2-21 วัน พบได้ในทุกกลุ่มอายุ โดยอาการเบื้องต้น ได้แก่

  • มีไข้สูง
  • รู้สึกอ่อนเพลีย
  • ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ
  • ไอ เจ็บคอ

รายที่มีอาการรุนแรงจะมีผื่นนูนแดงตามตัว และมีอาการเลือดออกทั้งภายในและภายนอกร่างกาย มักพบภายใน 7 วันหลังจากเริ่มแสดงอาการ จะพบอาการที่ระบบประสาทส่วนกลาง และภาวะอวัยวะภายในล้มเหลว ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูงประมาณ 50-80%

หากสงสัยว่าเข้าข่ายติดเชื้อ สามารถส่งตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้ดังนี้

เมื่อพบผู้ป่วยสงสัยติดเชื้ออีโบลา ให้สถานพยาบาลแจ้งกับกองระบาดวิทยา หรือ สำนักงานป้องกันและควบคุมโรค หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อดำเนินการสอบสวนโรคและวางแผนการเก็บตัวอย่าง สามารถเก็บสิ่งส่งตรวจได้หลังจากมีอาการ 3-10 วัน

การเก็บตัวอย่างและการนำส่งตัวอย่างต้องปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยทางชีวภาพ และขนส่งแบบแช่เย็น (Ice pack) โดยการประสานกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการรับตัวอย่างส่งตรวจ สอบถามการส่งตัวอย่าง โทร.02-9511485, 02-9510000-11, 02-5899850-8 ต่อ 99248, 99614

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 

ไข้เลือดออกอีโบลา ebola กรมควบคุมโรค อีโบลา โรคไข้เลือดออกจากไวรัส ไวรัสอีโบล่า โรคไข้เลือดออก

Officemate (TH) จัดแคมเปญ รวมดีลห้ามพลาด เครื่องใช้ไฟฟ้าแบรนด์ดัง 

ลดสูงสุด 80% + ลดเพิ่มสูงสุด 1,000.- + ของแถมฟรีแบบจัดเต็ม

ซื้อครบ 499.- ส่งฟรี*

ระยะเวลาโปรโมชัน ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2566

สนใจช้อปสินค้า : คลิกเลยที่นี่ 

ไข้เลือดออกอีโบลา ebola กรมควบคุมโรค อีโบลา โรคไข้เลือดออกจากไวรัส ไวรัสอีโบล่า โรคไข้เลือดออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"โรงเรียนดังย่านมีนบุรี" แจงดราม่าเวลาเรียน หลังผู้ปกครองหลายคนกังวล ตารางเรียนแน่นเกินไป
นทท.จีนแห่เที่ยวเชียงใหม่ หลังฝุ่นจาง บรรยากาศสุดคึกคัก
บูชาหญิงเร่ร่อนเป็นพระแม่
ม็อบต้านเทสลารวมพลบุกโรงงานในเยอรมนี ตร.สกัดวุ่น(คลิป)
"มูลนิธิยังมีเรา" ร่วมท็อป นิวส์ เดินหน้าสานฝันเยาวชนยากไร้ มอบทุนการศึกษา เด็กๆฝากขอบคุณทุกน้ำใจ
ฮือฮา ล้างป่าช้าจีนโคราช "พบร่างอาจารย์ทอง" ครั้งแรกรอบ 12 ปี
วินจยย.เล่านาทีระทึก โจรเมียนมาชิงมือถือนทท. ซอยนานา พลาดตกสะพานลอยเจ็บ
"นายกฯ" เผยยังไม่คุยภท. ดึงกัญชากลับเป็นยาเสพติด ยันเห็นตรงกัน ต้องฟังความเห็นทุกภาคส่วน
“โฆษกรบ.” ซัดยับ พวกวิจารณ์ด้อยค่าข้าว 10 ปี ชี้วาทกรรมลวงโลก “ข้าวเน่า”
2 คนร้ายโจรกรรม จยย.หนุ่มผู้ช่วยกุ๊ก ชาวบ้านผวาหนักเกิดเหตุบ่อยครั้ง ตร.นิ่งเฉยไม่ตามจับ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น