No data was found

“โรคหัวใจ” เช็คลิสต์ 6 วิธีดูแลสุขภาพช่องปากที่ผู้ป่วยต้องรู้

กดติดตาม TOP NEWS

ใครเป็น "โรคหัวใจ" ต้องรู้ เช็คลิสต์ 6 วิธีดูแลสุขภาพช่องปากที่ผู้ป่วยไม่ควรมองข้าม เสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือดอันตรายต่อชีวิต

รู้หรือไม่ นอกจากอาหาร และการใช้ชีวิตแล้ว ผู้ป่วย “โรคหัวใจ” โรค หลอดเลือด หัวใจ โรค หัวใจ โต ยังต้องระวังเรื่องสุขภาพช่องปากด้วย เช็คลิสต์ 6 วิธีดูแลสุขภาพช่องปากที่ผู้ป่วยไม่ควรมองข้าม ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP New

ข่าวที่น่าสนใจ

นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เผยว่า สุขภาพช่องปาก เป็นเรื่องที่ควรให้ความใส่ใจและดูแลเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่ป่วยเป็น “โรคหัวใจ” เนื่องจาก ปัญหาโรคเหงือกและฟันมีความเกี่ยวข้องกับโรค หัวใจ

หากพบว่า ในช่องปากมีโรคเหงือก ฟันผุ หรือหนองจากฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน จะทำให้เกิดอาการปวดฟัน รากฟันอักเสบเป็นหนอง และอาจเกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรียแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดไปตามอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงหัวใจ ทำให้เกิดพยาธิสภาพที่หัวใจได้

 

โรคหัวใจ, โรค หลอดเลือด หัวใจ, โรค หัวใจ โต, โรคเหงือก ฟันผุ, สุขภาพช่องปาก, ทำฟัน, ปัญหาสุขภาพช่องปาก

 

นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อระบบการกลืนอาหาร การหายใจ หรือการมองเห็น ดังนั้น การดูแลสุขภาพช่องปากจึงมีความสำคัญ ไม่เพียงเพื่อป้องกันการเกิดโรคในช่องปาก แต่รวมถึงโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมาจากปัญหาสุขภาพช่องปาก

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปากต่าง ๆ

มักเกิดจากพฤติกรรมของผู้ป่วย อาทิเช่น

การสูบบุหรี่

  • ทำให้เกิดปัญหากลิ่นปาก
  • และโรคปริทันต์อักเสบ

การรับประทานของหวาน

  • ของว่างระหว่างมื้อบ่อย ๆ อาจทำให้เกิดฟันผุ
  • ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟัน

 

โรคหัวใจ, โรค หลอดเลือด หัวใจ, โรค หัวใจ โต, โรคเหงือก ฟันผุ, สุขภาพช่องปาก, ทำฟัน, ปัญหาสุขภาพช่องปาก

การเคี้ยวของแข็ง

  • ส่งผลทำให้ฟันบิ่น หรือฟันแตก

การรับประทานยาหลายชนิด

  • อาจทำให้เกิดภาวะปากแห้ง

การแปรงฟันแรง

  • แปรงฟันไม่ถูกวิธี อาจทำให้ฟันสึก หรือฟันผุ

ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ เพื่อลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพช่องปากในอนาคต

 

โรคหัวใจ, โรค หลอดเลือด หัวใจ, โรค หัวใจ โต, โรคเหงือก ฟันผุ, สุขภาพช่องปาก, ทำฟัน, ปัญหาสุขภาพช่องปาก

 

ข้อควรระวัง และการเตรียมตัวในการทำฟันของผู้ป่วย “โรค หัวใจ”

  • ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัว ขอใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยันว่าสามารถทำฟันได้หรือไม่ รวมถึงข้อควรระวัง ชนิดของโรค หัวใจที่เป็น และยาที่รับประทานอยู่
  • ต้องแจ้งทันตแพทย์ทุกครั้งเกี่ยวกับชนิดของโรค หัวใจ ยาที่รับประทาน รวมถึงปัญหาที่ผู้ป่วยเคยมีในการทำฟัน เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ประจำตัวและทันตแพทย์อย่างเคร่งครัดในการปรับ หรืองดยาละลายลิ่มเลือด การเจาะเลือดก่อนการทำฟัน การรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนทำฟัน และการปฏิบัติตนภายหลังการทำฟัน
  • ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาใด ๆ มาเอง หากไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือทันตแพทย์

 

โรคหัวใจ, โรค หลอดเลือด หัวใจ, โรค หัวใจ โต, โรคเหงือก ฟันผุ, สุขภาพช่องปาก, ทำฟัน, ปัญหาสุขภาพช่องปาก

 

วิธีการดูแล และป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก

1. แปรงฟันอย่างถูกวิธีด้วยแปรงสีฟันขนนุ่มและยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ วันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน

2.ใช้ไหมขัดฟัน หรือแปรงซอกฟัน เพื่อทำความสะอาดบริเวณด้านประชิดของฟัน

3. ควรพบทันตแพทย์ตามนัดหมายเป็นประจำทุก 6 เดือน หากปรับพฤติกรรมที่ไม่ดีร่วมกับการดูแลฟันอย่างถูกวิธีตามคำแนะนำของแพทย์ ก็สามารถช่วยลดปัญหาสุขภาพช่องปากในระยะยาวลงได้

ข้อมูล : กรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ตร.สงขลา บุกจับก๊วนวัยรุ่นมั่วสุมเสพ “คอลลาเจน” ยาเสพติดแบบผงชนิดใหม่ คุมตัวส่งบำบัดด่วน
ผอ.โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 58 จ.อุทัยธานี เปิดใจ แจงปมดราม่าไม่มี "นมโรงเรียน" ให้เด็กกิน
"สุริยะ" มอบทอท.ดูแล-ช่วยเหลือผู้ประสบเหตุเครื่องบิน "สิงคโปร์แอร์ไลน์" ลงจอดฉุกเฉินสุวรรณภูมิ
"ปลัดกระทรวงเกษตร" ยันส่งนมให้โรงเรียนในนครสวรรค์เช้านี้ พร้อมสางปัญหาจัดสรรนมไม่เป็นธรรม
"นายกฯ" ย้ำปมดราม่าข้าว 10 ปี จบแล้ว ขั้นตอนซื้อขายให้เป็นตามกลไกเชิงพาณิชย์
ซีพีเอฟ ร่วม เขตหนองจอก กทม. โครงการปลูกต้นไม้ 1 ล้านต้น เพิ่มพื้นที่สีเขียวและความหลากหลายทางชีวภาพ
"รมว.วธ." ปลื้มรับ "โกลเด้นบอย-สตรีพนมมือ" เปิดเข้าชม 22 พ.ค.นี้
“พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์” ถอนฟ้อง “บุ้ง ทะลุวัง” คดีหมิ่นประมาท
พล.ร.11 นำกำลังพลร่วมประกอบพิธีเวียนเทียนวันวิสาขบูชา
ทรภ. 1 จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา ”เนื่องในวันอาภากร” ประจำปี 2567

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น