“ก้าวไกล” ค้านระเบียบมท.ปรับเกณฑ์รับเบี้ยผู้สูงอายุ ชี้ฉุดระบบสวัสดิการถอยหลัง

“ก้าวไกล” ค้านระเบียบมท.ปรับเกณฑ์รับเบี้ยผู้สูงอายุ ชี้ฉุดระบบสวัสดิการถอยหลัง

วันที่ 17 ส.ค. 66 ที่รัฐสภา นายเซียร์ จำปาทอง สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยสส.ของพรรคก้าวไกล แถลงคัดค้านระเบียบมหาดไทย ลดบำนาญประชาชน พร้อมสนับสนุนพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) บำนาญถ้วนหน้า ว่า ประเด็นที่ 1 คือการประกาศระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2566 ที่ออกมาเมื่อวันที่ 11 ส.ค. และบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค.ที่ผ่านมา เป็นของขวัญวันแม่ ที่มอบให้กับผู้สูงอายุทั้งประเทศนั้น พรรคก้าวไกลเห็นว่าประกาศดังกล่าวเป็นการหมุนกงล้อระบบสวัสดิการย้อนกลับจากที่ไทยควรก้าวไปสู่การมีระบบสวัสติการถ้วนหน้ากลับไปสู่ระบบสงเคราะห์ ที่ต้องพิสูจน์ความจนเพื่อได้รับการช่วยเหลือ เป็นการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างไม่นำให้อภัย และไม่น่าเกิดขึ้นในยุดโลกาภิวัฒน์ที่ให้คุณค่ากับสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียม

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ ปัญหาที่ทางเรากังวลว่าจะมีเพิ่มตามมาคือเรื่องกฎเกณฑ์ที่จะต้องออกตามมาจากประกาศฉบับนี้ ซึ่งถ้าหากมีการใช้ฐานข้อมูลจากบัตรคนจน ก็มีการประเมินกันว่าจะมีผู้สูงอายุที่หลุดออกจากระบบไม่ได้รับเบี้ยผู้สูงอายุประมาณอีก 6 ล้านคน นอกจากนี้ ฐานข้อมูลของบัตรคนจนเองก็มีความไม่เที่ยงตรงอยู่พอสมควร เพราะมีการสำรวจว่ามีคนจนประมาณ 46% ที่ไม่ได้บัตร แปลว่าข้อมูลตกหล่นจากฐานข้อมูลไปเยอะมาก ฉะนั้น ทางพรรคก้าวไกลเลยเห็นว่าเราจึงต้องมีการให้สวัสดิการแบบถ้วนหน้า เพื่อไม่ต้องมาเสียเวลาพิสูจน์ความจนเพื่อจะรับเงิน 600 บาทหรือแค่ประมาณ 20 บาทต่อวัน

พรรคก้าวไกลขอคัดค้านการออกระเบียบดังกล่าว ตามเหตุผลที่กล่าวมา และเราขอยืนยันในสิ่งที่เราได้หาเสียงไว้คือการสร้างสวัสดิการถ้วนหน้าซึ่งได้มีการพิสูจน์มาแล้วหลายที่ในโลกว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ พรรคก้าวไกลเชื่อว่าสวัสดิการถ้วนหน้าไม่ได้มีราคาแพง ไม่เป็นภาระด้านงบประมาณ เมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้โดยตรง เพราะเราเชื่อว่าสวัสดิการถ้วนหน้าคือสิ่งที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ

ประเด็นที่ 2 คือการเตรียมยื่นร่าง พ.ร.บ.บำนาญถ้วนหน้า เพื่อเป็นก้าวแรกที่จะทำให้ระบบสวัสดิการของเราก้าวไปข้างหน้า โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1. มาตรา 5 ของพ.ร.บ.ของเรา เรายืนยันว่าบุคคลทุกคนที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไปต้องได้รับบำนาญ
แห่งชาติโดยไม่ตัดสิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุที่ได้รับบำนาญตามกฎหมายอื่นหรือตามมติคณะรัฐมนตรี
2. จะต้องมีการกำหนดอัตราบำนาญแห่งชาติใหม่ทุกสามปี
3.ทุกคนต้องได้รับบำนาญต่อเดือไม่ต่ำกว่า เส้นความยากจนของสำนักงานสภา ตามที่เราเคยหาเสียงไว้คือประมาณ 3,000 บาท และ ถ้าหากมีการปรับเส้นความยากจน ตัวเงินบำนาญตัวนี้ก็ต้องปรับขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน

พรรคกัาวไกลเราเห็นว่าการยื่นพ.ร.บ.ฉบับนี้ จะเป็นก้าวแรกสู่สวัสดิการถ้วนหน้า และประเทศไทยจะเดินหน้าสู่รัฐสวัสดิการด้วยการมี Universal basic income ให้ทุกคนอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่ต้องพิสูจน์ความจนกันอีกต่อไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อ.อ๊อด" แฉเบื้องหลัง "ทนายตั้ม" วางแผน ส่งคนสนิทพลิกสารภาพโกงเงิน "เจ๊อ้อย" หวังศาลเห็นใจ
MEA แจ้งปิดทำการ เนื่องในวันหยุดชดเชยวันฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม 2568
"เต้ อาชีวะ" พาเหยื่อสาวไทย แจ้งความถูก "หนุ่มเมียนมา" บุกคอนโดฯ-ขู่ฆ่า
กกพ.ประกาศลดค่าไฟ งวดพ.ค.-ส.ค.68 เหลือ 3.98 สต. หวังแบ่งเบาภาระประชาชน
อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ลงนามความร่วมมือพัฒนาฝีมือแรงงานไทยกับสมาคมนายจ้างส่งเสริมแรงงานไทย
สหกรณ์บ้านเงาะตราด ส่งเงาะตราดสีทอง ลุยตลาดดูไบ เพิ่มโอกาสขยายตลาดผลไม้
มติกนง.เสียงส่วนใหญ่ ให้ลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25 เหลือ 1.75% ต่อปี
ยาน'เสินโจว-19'ของจีนกล้บสู่พื้นโลกปลอดภัย
"ปตท." ผ่านการรับรองระบบงานหน่วยตรวจสอบความใช้ได้-ทวนสอบก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ISO จากสมอ.
ร้านข้าวขาหมูดังเมืองศรีราชา ยืนราคาเดิม แม้เนื้อหมูในตลาดปรับราคาเพิ่มต่อเนื่องหากปรับราคากลัวลูกค้าหด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น