No data was found

ประธานศาลรธน.ชี้ชัดคำร้องผู้ตรวจการฯ โหวต “พิธา” ซ้ำ รู้ผลใน 7 วัน

กดติดตาม TOP NEWS

ประธานศาลรธน.ชี้ชัดคำร้องผู้ตรวจการฯ โหวต "พิธา" ซ้ำ รู้ผลใน 7 วัน

จากกรณีที่ทางด้านพ.ต.ท.กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการ​สำนักงาน​ผู้ตรวจการ​แผ่นดิน​ แถลงผลวินิจฉัยกรณีขอให้ยื่นคำร้องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญตีความกรณีรัฐสภาลงมติวินิจฉัยว่าการเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีถือเป็นญัตติ ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41 ว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 19 ก.ค.ในที่ประชุมรัฐสภาได้เสนอชื่อนายพิธา ลิ้ม​เจริญ​รัตน์​ หัวหน้า​พรรค​ก้าวไกล​ ให้ที่ประชุมพิจารณาเป็นครั้งที่ 2 แต่มีประเด็นโต้แย้งว่าการเสนอชื่อเป็นญัตติซ้ำเป็นข้อห้ามของข้อบังคับรัฐสภา กรณีที่ญัติใดที่ตกไปแล้วห้ามเสนอชื่ออีกในสมัยประชุมเดียวกัน

 

 

 

โดยสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับเรื่องร้องเรียนจากสมาชิกรัฐสภา และประชาชนจำนวน 17 คำร้อง ขอให้ผู้ตรวจการ​แผ่นดิน​เสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ​ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 213 จากกรณีที่ประชุมรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2566 ลงมติวินิจฉัยว่า การเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีถือเป็นญัตติ ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41 ซึ่งกำหนดว่าญัตติใดที่ตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเช่นเดียวกันขึ้นเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน เป็นการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้ร้องเรียน จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญนั้น

ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ประชุมปรึกษาหารือและเห็นชอบร่วมกัน โดยพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนว่า เข้าองค์ประกอบ เงื่อนไข และหลักเกณฑ์ ในการเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2561 หรือไม่

โดยเห็นว่า รัฐสภาเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นหนึ่งในสามของอำนาจอธิปไตย รัฐสภาจึงถือเป็นหน่วยงานซึ่งใช้อำนาจรัฐ หากการกระทำของรัฐสภาละเมิดสิทธิเสรีภาพ ย่อมถูกตรวจสอบได้โดยศาลรัฐธรรมนูญและการกระทำของรัฐสภา ในการลงมติวินิจฉัยว่าการเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีถือเป็นญัตติ ซึ่งต้องปฏิบัติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41 นั้น เป็นการนำข้อบังคับการประชุมไปทำให้กระบวนการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้กำหนดเรื่องการพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไว้เป็นการเฉพาะแล้วตาม มาตรา 159 ประกอบ มาตรา 272 การกระทำของรัฐสภาดังกล่าวจึงขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญการกระทำของรัฐสภาในการลงมติวินิจฉัยดังกล่าว เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ร้องเรียนโดยตรง

 

 

โดยผู้ร้องเรียนเป็นสมาชิกรัฐสภาและประชาชนผู้ทรงสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ ตามหมวด 3 ว่าสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย หากการกระทำของรัฐสภาดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นอันใช้ไม่ได้ และมีผลเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้ร้องเรียน นอกจากนี้ ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการกระทำของรัฐสภาดังกล่าวยังคงมีอยู่และมิได้รับการวินิจฉัยให้เป็นที่ยุติย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งสิทธิและเสรีภาพของผู้ร้องเรียนและประชาชนทั่วไป ซึ่งอยู่ภายใต้การใช้อำนาจของรัฐโดยรัฐสภา ผู้ร้องเรียนรวมถึงประชาชนทั่วไปจึงได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย หรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้

 

 

นอกจากนี้คำร้องเรียนส่วนหนึ่ง ได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุติการเลือกนายกรัฐมนตรีไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีข้อวินิจฉัยในเรื่องนี้ออกมา ซึ่งเป็นคำขอเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดมาตรการหรือวิธีการใด ๆ เป็นการชั่วคราวก่อนการวินิจฉัย ซึ่ง ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อป้องกันความเสียหายที่ยากแก่การเยียวยาในภายหลัง และเป็นคำขอที่อยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่จะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้ จึงได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้รัฐสภารอการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาเห็นชอบเพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไว้ก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญมีข้อวินิจฉัยในเรื่องนี้ออกมา ซึ่งก็เป็นดุลยพินิจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาตามความเหมาะสมกับข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่อไป

 

 

ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวอาจจะขัดต่อกฎหมาย และอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศ และยากที่จะเยียวยาแก้ไข จึงเห็นด้วยกับคำร้องที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ​กำหนดการชะลอพิจารณานายกฯ ออกไปก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญ​จะมีคำวินิจฉัย อย่างไรก็ตามการยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ​ นี้คาดว่าจะเป็นวันที่ 25 ก.ค. หรือ 26 ก.ค.นี้

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

 

ล่าสุดทางด้านนายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ผู้ตรวจการแผ่นดิน เพิ่งยื่นคำร้องผ่านระบบอิเลคทรอนิคส์ถึงศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งหลังจากรับเรื่องแล้วเจ้าหน้าที่จะใช้เวลาในการตรวจสอบความถูกต้อง 2 วัน แล้วส่งให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดเล็กพิจารณาว่าจะรับคำร้องไว้วินิจฉัยหรือไม่ และใช้เวลาในการพิจารณาอีก 5 วัน

“ศาลรัฐธรรมนูญจะพูดอะไรกลัวเป็นตำบลกระสุนตก จะพิจารณาเร็วเดี๋ยวก็หาว่าจะช่วยใครหรือไม่ พิจารณาช้าก็หาว่าดึงเรื่อง เพราะฉะนั้นก็เดินตามกติกาของกฎหมายที่เขียนไว้คงไม่เร็วกว่านี้และไม่ช้ากว่านี้”ประธานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าว

 

 


WORK HARD, SHOP HARD ไอเทมคนชอบเวิร์ก
ระยะเวลาโปรโมชั่น : 18 Jul – 31 Jul 2023

ลดเพิ่มสูงสุด 10% ไม่มีขั้นต่ำ
ลดเพิ่มสูงสุด 20% เมื่อช้อป 3,000.-

Code : MIDJUL
คลิกเพื่อช้อปได้ที่นี่ : https://omgrefer.com/FdzAo

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"โฆษกกระทรวงดีอี" ยันเดินหน้าปิดแพลตฟอร์ม "ลอตเตอรี่พลัส" ปคบ.แจ้งผิดหลายข้อหา เตือนปชช.ระวังสูญเงิน
ไม่ทิ้งกัน "ผอ.อผศ." ลงพื้นที่พบปะเยี่ยมทหารผ่านศึก นอกประจำการ พร้อมนำกายอุปกรณ์มอบให้ถึงที่
"เขตรัฐ" ยื่นลาออกสมาชิก "รทสช." ลั่นยังทำเพื่อบ้านเมืองต่อ
หนุ่มทุกข์ใจ เชื่อถูกทำคุณไสย วอน "หมอปลา" ช่วยด้วย อ้างมีแมลงชอนไชออกมาตามตัว
อบต.หลุ่งประดู่อำเภอห้วยแถลงประสานปภ.จังหวัด อบจ.นครราชสีมา เทศบาลข้างเคียงช่วยเหลือปัญหาภัยแล้ง
งานเข้ารัวๆ พม.ขอหมายศาล ส่งตรวจจิตทั้งบ้าน “ทนายอนันต์ชัย” จี้ “วราวุธ” จัดการเด็ดขาดลัทธิเชื่อมจิต
เศรษฐีสวนผลไม้จากจังหวัดตราดนำผลไม้มาถวายแก้บนหลวงพ่อใหญ่หลังให้โชคใหญ่
ลืมไปหรือเปล่า ใครบ้างโดนคดี 112 ศาลอนุญาตประกันตัว พรรคส้ม 3 นิ้ว อย่าโหน "บุ้ง" อย่างเดียว
"ตะวัน-แฟรงค์" นอนคุกต่อ ศาลอาญาไม่อนุญาตประกันตัว
"ทีมโฆษกภท." แถลงพรรคคิดรอบคอบกม.กัญชาเพื่อการแพทย์ สร้างประโยชน์ศก. พร้อมถกรัฐร่วมดันผ่านสภาฯ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น