No data was found

ด่วน มติผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นศาลรธน. วินิจฉัย เสนอชื่อ “พิธา” ซ้ำรอบสอง ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ พ่วงชะลอโหวตนายกฯ

กดติดตาม TOP NEWS

ด่วน มติผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นศาลรธน. วินิจฉัย เสนอชื่อ "พิธา" ซ้ำรอบสอง ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ พ่วงชะลอโหวตนายกฯ

วันที่ 24 ก.ค. 66 พ.ต.ท.กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงว่า สืบเนื่องจากที่ประชุมร่วมรัฐสภาเมื่อวันที่ 19 ก.ค. ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามรธน.มาตรา 272 โดยมีสมาชิกรัฐสภา เสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล ให้ที่ประชุมพิจารณาเป็นครั้งที่สอง แต่ก็มีประเด็นแย้งว่าการเสนอชื่อนั้น เป็นการเสนอญัตติซ้ำ อันเป็นการต้องห้ามตามข้อบังคับการประชุมของรัฐสภาข้อที่ 41 หรือไม่ โดยข้อบังคับกำหนดว่า “ญัตติใดที่ตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเดียวกันขึ้นเสนออีก ในสมัยประชุมเดียวกัน กรณีนี้ ท่านประธานรัฐสภา ได้ดำเนินการใช้ข้อบังคับการประชุมข้อ 151 ขอให้สมาชิกลงมติวินิจฉัยว่าเป็นการเสนอญัตติซ้ำหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมมีมติ 395 ต่อ 312 เสียง งดออกเสียง 8 เสียง ไม่ลงคะแนน 1 เสียง ซึ่งสรุปว่า การเสนอชื่อนายพิธา ครั้งที่สอง ขัดต่อข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 41 ทำให้ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลดังกล่าวได้อีกต่อไป ในสมัยการประชุมนี้

เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวว่า นับตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคมเป็นต้นมา ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าทั้งในรัฐสภา นักวิชาการและประชาชนทั่วไป สงสัยว่าการดำเนินการดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ นับตั้งแต่วันดังกล่าวประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน และผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้มอบหมายให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินติดตามข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของรัฐสภา ดังกล่าวตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาจนถึงวันนี้ก็ได้มีสมาชิกรัฐสภา และประชาชนทั่วไป ได้ยื่นคำร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินให้พิจารณาวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว ตอนนี้เรารับเรื่องไว้ทั้งสิ้น 17 คำร้อง ซึ่งในคำร้องมีคำขอที่สำคัญที่จะให้ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณา เป็น 2 เรื่อง ๆ แรก การกระทำของรัฐสภาที่มีมติไม่ให้เสนอรายชื่อบุคคลเพื่อให้ความเห็นชอบเป็นนายกฯ เป็นการกระทำที่เสนอญัตติซ้ำเป็นการกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ประเด็นที่สอง ผู้ร้องเรียนมีความประสงค์ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีคำขอไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้ศาลฯ ออกมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวเพื่อให้ชลอการให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ไว้ชั่วคราวก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

พ.ต.ท.กีรป กล่าวว่า ซึ่งจากการติดตามข้อมูลข่าวสาร ทราบว่าในวันที่ 27 กรกฎาคม นี้ ทางรัฐสภาได้ประกาศจะมีการลงมติให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีในวันดังกล่าว ทางผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนและควรพิจารณาให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะมีการนัดประชุมครั้งต่อไป เพราะมีประเด็นข้อสงสัย วันนี้ที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินได้ประชุมปรึกษาหารือและเห็นชอบร่วมกันแล้ว มีมติดังนี้

 

 

 

ประเด็นที่หนึ่ง ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าการดำเนินการให้ความเห็นชอบรายชื่อบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นการกระทำตามขั้นตอนที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ซึ่งมิใช่เป็นกรณีที่จะต้องปฏิบัติในเรื่องการเสนอญัตติตามข้อบังคับการประชุมร่วมรัฐสภาข้อ 41 การเสนอรายชื่อบุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีนั้น มีกำหนดไว้เป็นการเฉพาะในรัฐธรรมนูญและในข้อบังคับ ซึ่งคนละหมวดกันในการเสนอญัตติเข้าที่ประชุมรัฐสภา ผู้ตรวจการแผ่นดินปรึกษาหารือแล้ว จึงมีความเห็นชอบร่วมกันว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินปรึกษาหารือแล้วจึงมีความเห็นชอบร่วมกันว่าการดำเนินการของรัฐสภา ในวันที่ 19 กรกฎาคม ถือว่าเป็นหน่วยงานที่ใช้อำนาจรัฐและมีการกระทำที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 88 มาตรา 159 ประกอบมาตรา 272 ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงมีมติร่วมกันจะให้สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

 

 

สำหรับประเด็นที่สอง ผู้ตรวจการแผ่นดินได้พิจารณาคำร้องเรียนของผู้ร้องเรียนจำนวนหนึ่งที่ขอให้มีการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดมาตรการ หรือวิธีการชั่วคราวเพื่อชลอการให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไว้เป็นการชั่วคราวก่อน ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวมีลักษณะที่อาจจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ประกอบกับปล่อยให้มีการดำเนินการหรือให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว หากมีการดำเนินการใด ๆ ต่อไปก่อนที่ศาลจะมีคำวินิจฉัยว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อประเทศ และยากต่อการที่จะเยียวยาแก้ไข ผู้ตรวจการแผ่นดินจึงมีความเห็นชอบร่วมกันที่เห็นด้วยกับคำร้องเรียนดังกล่าวที่จะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวเพื่อขอให้ชลอการให้ความเห็นชอบบคุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนากยรัฐมนตรีออกไปก่อน จนกว่าศาลรธน.จะมีคำวินิจฉัยว่าการที่จะเสนอชื่อบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซ้ำในวันที่ 19 ก.ค.นั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งนี้ทางผู้ตรวจการแผ่นดินจะยื่นต่อศาลรธน. ก่อนที่จะมีการนัดประชุมรัฐสภา วันที่ 27 ก.ค. อาจจะยื่นวันที่ 25 หรือ 26 ก.ค. ขอตรวจสอบคำร้องที่จะยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์และถูกต้องก่อน

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 21 ก.ค.66 ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน รองศาสตราจารย์พรชัย เทพปัญญา อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง และ ศ.ดร.บุญส่ง ชเลธร ผอ.หลักสูตรผู้นำ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต เข้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้ผู้ตรวจการฯ เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการลงมติของที่ประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2566 ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการให้ความเห็นชอบเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีเข้าสู่กระบวนการพิจารณาตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41 เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คุ้มครองไว้หรือไม่

รศ.พรชัย เปิดเผยว่า จากการประชุมรัฐสภาเพื่อเสนอชื่อโหวตนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2 ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ตามสื่อต่างๆ เกี่ยวกับมติของสภาฯ ซึ่งมองว่าจะเป็นการละเมิด และขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และกระทบสิทธิโดยตรงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ซึ่งตนเองในฐานะพลเมืองไทยที่ใช้สิทธิเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 66 ที่เลือกพรรคก้าวไกล ทั้งแบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ โดยตามที่พรรคก้าวไกล เสนอชื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เพื่อเป็นนายกฯ ก็หมายความว่า เจตนารมณ์ของการเลือกตั้งในวันนั้น ผู้ที่ได้เสียงมากที่สุดก็สามารถรวบรวมคะแนนเสียงได้จากการรวบรวม 8 พรรคร่วมฯ เป็น 312 เสียงเพื่อเป็นนายกรัฐมนตรี

รศ.พรชัย กล่าวต่อว่า แต่เมื่อโหวตครั้งแรกไม่ผ่าน การโหวตครั้งถัดไปคือ วันที่ 19 ก.ค. ที่สภากลับมีมติข้อบังคับการประชุมที่ 41 ของรัฐสภา ว่าไม่สามารถเสนอญัตติซ้ำได้ ทำให้การเสนอชื่อของนายพิธา ครั้งที่ 2 จึงถูกปัดตกไป ซึ่งนักวิชาการหลายคน ก็มองว่าจะขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือไม่ จึงได้นำเรื่องดังกล่าวมายื่นต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้วินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญถูกละเมิดโดยข้อบังคับที่ 41 หรือไม่

อีกทั้ง ตนได้ขอกับศาลรัฐธรรมนูญเอาไว้ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องดังกล่าวเป็นคดีแล้ว ขอให้มีมติในการยุติการสรรหานายกรัฐมนตรี หรือเลือกนายกรัฐมนตรีไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมองว่าผลสุดท้ายหากกระบวนการประชาธิปไตย และกระบวนการของประเทศที่จะก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลง ถูกสกัดกั้นโดยคนบางกลุ่มบางพวกที่ไม่ได้เป็นความก้าวหน้าของประเทศ และควรปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามครรลองของประเทศไป

 

รศ.พรชัย กล่าวอีกว่า กระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรียังไม่สิ้นสุดลง และสามารถเลือกได้อีกหากยึดตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่ข้อบังคับที่ 41 นั้นละเมิดสิทธิของตนที่จะต้องให้นายพิธามีโอกาสได้เลือกอีกครั้ง ส่วนจะได้หรือไม่ ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับเรา แต่ต้องจบด้วยการที่นายพิธาได้รับการเสนอชื่อเป็นครั้งที่ 2 รวมทั้งไม่ใช่แค่กระทบสิทธิของตนเพียงคนเดียว แต่จะกระทบสิทธิคนที่เลือกนายกฯ มาจากพรรคเพื่อไทย และพรรคอื่นๆ ที่มีสิทธิได้เลือกเพียงครั้งเดียวอีกด้วย

ด้าน ศ.ดร.บุญส่ง ระบุว่า ประเด็นที่มาร้องในวันนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะบ้านเมืองจำเป็นที่จะต้องมีกฎระเบียบกติกาที่แน่นอน ฉะนั้นเหตุการณ์เมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา เกิดจากความไม่ชัดเจน และความขัดแย้งว่ากฎกติกาควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งตนมองว่าเรื่องนี้ ไม่ใช่แค่ผู้ที่สนับสนุนพรรคก้าวไกล หรือนายพิธา แต่ทุกฝ่ายควรที่จะเข้าใจให้ชัดเจนร่วมกัน และคนที่ไม่ได้สนับสนุนนายพิธาก็ควรจะได้รับการรับรองหรือยืนยันกฎระเบียบที่แท้จริง เพื่อให้สังคมเดินหน้าต่อไปได้

ไม่เช่นนั้นจะมีการตีความที่แตกต่างกันออกไป แล้วแต่ผลประโยชน์ของแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเมืองในอนาคตระยะยาว จึงขอให้ผู้ตรวจการพิจารณาเรื่องนี้โดยด่วน ก่อนที่จะสร้างความแตกแย้งไปมากกว่านี้

ขณะที่ พ.ต.ท.กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เปิดเผยว่า เรื่องนี้ในทางกฎหมาย ตามวิธีพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีความเห็นส่งศาลรัฐธรรมนูญภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำร้อง หรือนานกว่านั้นหากมีเหตุจำเป็นที่ศาลรัฐธรรมนูญอนุญาต ซึ่งในการหารือเบื้องต้น ตามข้อเท็จจริงเป็นไปตามปรากฏ โดยที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะต้องพิจารณาคือ จะต้องมาดูตามกฎหมายการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่า การลงมติที่ประชุมสภา ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ รวมถึงการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ หรือ เป็นการเสนอญัตติ

อย่างไรก็ดี ในการที่จะเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ มีเรื่องที่สำคัญคือในประเด็นของผู้เสียหาย จะตัองมีการพิจารณาว่าผู้ร้องเรียนตามกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญว่าผู้ใดเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิเสรีภาพโดยตรง และได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย ผู้นั้นถึงจะมีสิทธิยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดย พ.ต.ท.กีรป ยืนยันว่า จะรับเรื่องนี้ไว้ และจะรีบดำเนินการเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด

 


WONDER SALE ดีลมันส์แบบตะโกน

ระยะเวลาโปรโมชั่น 18 กค – 31 กค 2023

ลดเพิ่มสูงสุด 10% ไม่มีขั้นต่ำ

ลดเพิ่มสูงสุด 20% เมื่อช้อป 3,000.-

Code : MIDJUL

คลิกเพื่อช้อปได้ที่นี่ : https://omgrefer.com/Jsz8z

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"แม่ทัพภาคที่ 1" เป็นปธ.พิธีอำลาชีวิตราชการทหาร ขอบคุณที่ทุ่มเท เสียสละ กล้าหาญ ปฏิบัติหน้าที่
“ทนายอนันต์ชัย” ฟาดเดือดลัทธิ “เชื่อมจิต” บิดเบือนไร้ยางอาย
ผู้คนยังแห่เจิมเปิดดวงเศรษฐีและส่องเลขอ่างน้ำมนต์อาศรมฤาษีเณร สาวดวงเฮงถวายเงินทำบุญหนึ่งแสนหลังรับโชคกว่าล้าน
เดินหน้าต่อเนื่อง "ท็อปนิวส์" มอบของบริจาค ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเมียนมา ส่งตรงถึงมือที่อุ้มผาง แล้ว
เขื่อนแตกในเคนยา น้ำทะลักซัดดับ 45
แมวทรหด เจ้าของหาแทบตาย ที่แท้ติดไปกับพัสดุพันกว่ากิโลฯ
KFC มาเลเซีย ปิดชั่วคราวกว่า 100 สาขา เซ่นบอยคอตอเมริกา
อัยการสั่งฟ้อง "รุ้ง-บี๋" ผิดม.112 เป็นแอดมินเพจ "แนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ" โพสต์หมิ่น ใส่ร้าย สถาบันฯ
"ผู้พิการสายตา" สุดทน แฉสมาคมฯส่อตุกติกโควต้าสลากฯ โอดทุกข์หนักแบกต้นทุน บากหน้าซื้อยี่ปั๊วราคาโหด
นายกโต้ง รับฟังดราม่าเสาไฟฟ้าบังองค์พระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์ จุดที่มองเห็นองค์พระสวยงามที่สุด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น