นักวิชาการ วสท. แจงชัดเสาตอม่อสะพานพระราม 3 ไร้ปัญหา หลังสื่อไทยตีข่าวต่างชาติสงสัยบอบบางผิดปกติ

นักวิชาการ วสท. แจงชัดเสาตอม่อสะพานพระราม 3 ไร้ปัญหา หลังสื่อไทยตีข่าวต่างชาติสงสัยบอบบางผิดปกติ

จากกรณีที่มีนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นรายหนึ่ง ได้โพสต์ภาพผ่านทวิตเตอร์ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า “ที่นี่คือเมืองไทย เสาบางเกินไปหรือเปล่าครับ” โดยหลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ทำให้มีคนวิพากษ์วิจารณ์ถึงกรณีดังกล่าวกันเป็นจำนวนมาก

โดยรศ.เอนก ศิริพานิชกร กรรมการควบคุมอาคาร ที่ปรึกษาสาขาวิศกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย อธิบายว่า หากมองตามความรู้สึกขนาด อาจจะดูไม่มั่นคงแข็งแรง เพราะมีขนาดที่บางมาก แต่มีความแข็งแรงไม่น้อยไปกว่าสะพานที่ใช้เสาตอม่อขนาดใหญ่ 2 ต้น เพราะมีการวางเสาต่อเนื่องกัน ในการถ่ายเทน้ำหนัก ปัจจุบันการ ออกแบบเสาตอม่อให้เล็กมีความนิยมกันมาก เพราะประหยัดพื้นที่ ให้พื้นที่ด้านล่างน้อย โดยเฉพาะในต่างประเทศมีการใช้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และ ญี่ปุ่น การทำโครงตั้งฉากในลักษณะดังกล่าวจะลดรอยต่อให้น้อยลง ที่สำคัญจุดดังกล่าวเป็นเชิงสะพานก่อนเข้าถึงตัวสะพานกลางแม่น้ำเท่านั้น แต่พอไปถึงช่วงกลางสะพาน การออกแบบเสาตอม่อก็มีขนาดใหญ่เหมือนสะพานอื่นๆ

สะพานพระราม 3 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก สะพานพระราม 3 ก่อสร้าง วันที่ 29 สิงหาคม 2539 และเปิดให้สัญจรในวันที่ 30 มี.ค.2543 สร้างขนานกับสะพานกรุงเทพ เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร เนื่องจาก สะพานกรุงเทพยังคงต้องเปิด-ปิดสะพานอยู่ จึงต้องสร้าง “สะพานพระราม 3” ให้สูง เพื่อให้เรือสินค้าแล่นผ่านได้ ปัจจุบันเปิดใช้งานมาแล้ว 23 ปี โดยมีกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้ดูแลและก่อสร้าง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

รศ.เอนก อธิบายเพิ่มเติมว่า แม้ว่าเสาจะมีขนาดเล็ก และบางกว่าเสาตอม่อที่เราคุ้นเคยกัน แต่มีความแข็งแรงไม่น้อยไปกว่าสะพานที่ใช้เสาตอม่อขนาดใหญ่ 2 ต้น เพราะมีการวางเสาต่อเนื่องกัน และในการถ่ายเทน้ำหนัก ซึ่งปัจจุบันการ ออกแบบเสาตอม่อให้เล็กมีความนิยมกันมาก เพราะประหยัดพื้นที่ ให้พื้นที่ด้านล่างน้อย โดยเฉพาะในต่างประเทศมีการใช้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น การทำโครงตั้งฉากในลักษณะดังกล่าวจะลดรอยต่อให้น้อยลง ทำให้ดังนั้นจึงมั่นใจไดว่าเสาตอม่อ “สะพานพระราม 3” มีความแข็งแรงมั่นคงพอ และที่สำคัญจุดดังกล่าวเป็นเชิงสะพานก่อนเข้าถึงตัวสะพานกลางแม่น้ำเท่านั้น แต่พอไปถึงช่วงกลางสะพานการออกแบบเสาตอม่อก็ให้เสาตอม่อขนาดใหญ่เหมือนสะพานอื่นๆ อีกทั้งการออกแบบลักษณะดังกล่าว จะทำให้สะพานขยับตามแนวทิศทางการวิ่งของรถ ลดรอยแตกร้าวได้ดี

 

ต่อมาในโลกออนไลน์ต่างพากันแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก อาทิ เพจเฟซบุ๊ก “The METTAD” โพสต์ข้อความระบุว่า จะเสี้ยมกีบไปฟาดตู่ แต่สร้างตั้งแต่ปี 39 ส่วนกีบผู้ชาญฉลาด ก็เอาไปฟาดตู่ต่อ สื่อฯชนะ” , “ต่างชาติ สงสัย ไม่ผิด แต่สื่อไทยแท้ๆ นอกจากไม่มีความสามารถในการหาข้อมูล มาเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้กับผู้อ่านแล้วยังทำได้แค่นั่งเทียนเขียนข่าวเหมือนรับเด็กไร้ประสบการณ์ทำงานมาทำหัวข้อข่าวขายขำไปวันๆ น่าอนาถใจ”

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“พิชัย” เร่งเจรจา FTA ไทย-ยูเรเซีย เปิดการค้าการลงทุน
ตร.บช.ก.สอบ "เจ๊อ้อย" มาราธอนนานกว่า 10 ชั่วโมง ปมเงิน 71 ล้านบาท
ฮือฮา วัตถุมงคล "หมูเด้ง ฮิปโปกวักทรัพย์"  ด้าน "สำนักปฏิบัติธรรมฯ" แจงฆราวาสเป็นผู้จัดสร้าง นิมนต์พระไปอธิษฐานเท่านั้น
อบจ.อยุธยา เตรียมจัดงานแสง สี เสียง ลอยกระทงกรุงเก่า อาบน้ำเพ็ญเดือน12กับเกจิชื่อดัง ชมแข่งขันชกมวยเยาวชนไทย
20 ปี “เทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะ” เปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยว ตอกย้ำความประทับใจ ชวนสัมผัสธรรมชาติ
เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เสด็จเป็นองค์ประธานการประกวดผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายสิริวชิราภรณ์”
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 1 ไทยตอนบนอากาศแปรปรวน ภาคใต้ฝนตกหนัก 2-5 พ.ย.นี้
แชร์สนั่น ปลุกเสก หมูเด้ง ฮิปโปกวักทรัพย์
ผบ.ทร. มอบประกาศเกียรติคุณยกย่องชมเชย กำลังพล ประกอบคุณงามความดี
เจ้าอาวาสวัดดัง ขีดเส้นตาย "พระปีนเสา" กลับวัดภายใน 7 วัน ชี้พฤติกรรมไม่เหมาะสม

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น