กกพ.รับฟังความเห็นเอฟที “ขาลง” ก่อนเคาะรอบ ก.ย.-ธ.ค.66 ปลายเดือนนี้

กกพ. เปิดรับฟังเสียงประชาชน ร่วมเคาะค่าไฟฟ้า ปลายเดือน ขณะที่ กฟผ. เสนอยืดหนี้ เพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้าเหลือ 4.45 บาทต่อหน่วย ชี้ค่าไฟฟ้าที่เอกชนเสนอ 4.25 บาทต่อหน่วย เหตุต้นพลังงานยังพุ่งสูง

จากปัจจัยทิศทางราคาพลังงานในตลาดโลกเริ่มคลายตัวรวมทั้งแนวโน้มราคาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในตลาดโลกที่แกว่งตัวในระดับต่ำ ทำให้การนำเข้า LNG เพื่อมาทดแทนก๊าซธรรมชาติทางท่อที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้ามีค่าใช้จ่ายที่ลดลง แต่ยังคงมีภาระที่ กฟผ. ต้องแบกรับจากภาระต้นทุนราคา LNG ในช่วงวิกฤตพลังงานมากกว่าแสนล้านบาทแทนผู้ใช้ไฟฟ้าที่ต้องทยอยจ่ายคืน ส่งผลให้ทางเลือกค่าเอฟทีที่ต่ำสุดที่ 66.89 สตางค์ต่อหน่วยหรือค่าไฟฟ้า 4.45 บาทต่อหน่วยตามที่ กฟผ. เสนอ โดย กกพ. เปิดรับฟังความเห็นตั้งแต่วันที่ 7 – 21 ก.ค. 2566 ก่อนประกาศใช้จริงปลายเดือน กรกฎาคมนี้

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมครั้งที่ 32/2566 (ครั้งที่ 860) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ที่ประชุม กกพ. มีมติรับทราบภาระต้นทุนค่าเอฟทีประจำรอบเดือน ม.ค. – เม.ย. 2566 และเห็นชอบผลการคำนวณประมาณค่าเอฟทีสำหรับงวดเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2566

พร้อมให้สำนักงาน กกพ. นำค่าเอฟทีประมาณการและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ไปรับฟังความคิดเห็นในกรณีต่างๆ ดังนี้

กรณีที่ 1 (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างทั้งหมด) ค่าเอฟทีเรียกเก็บประจำงวดเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2566 จำนวน 249.81 สตางค์ต่อหน่วย แบ่งเป็นเอฟทีขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2566 จำนวน 28.58 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชำระเงินที่ กฟผ. กู้มาเพื่อตรึงค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือน ก.ย. 2564 – เม.ย. 2566 คิดเป็นเงินจำนวน 135,297 ล้านบาท เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.28 บาทต่อหน่วย ตามรายงานการคำนวณตามสูตรเอฟที

กรณีที่ 2 (ตรึงค่าเอฟทีเท่ากับงวดเดือน พ.ค. – ส.ค. 66) ค่าเอฟทีเรียกเก็บประจำงวดเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2566 จำนวน 91.19 สตางค์ต่อหน่วย แบ่งเป็นเอฟทีขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2566 จำนวน 28.58 สตางค์ต่อหน่วย และทยอยชำระเงินที่ กฟผ. กู้มาเพื่อตรึงค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือน ก.ย. 2564 – เม.ย. 2566 จำนวน 38,291 ล้านบาท เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น โดยคาดว่า ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2666 มีภาระหนี้คงเหลือที่ต้องชำระคืนให้ กฟผ. 97,006 ล้านบาท เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) คงเดิมที่ 4.70 บาทต่อหน่วย

กรณีที่ 3 (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 5 งวด) ค่าเอฟทีเรียกเก็บประจำงวดเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2566 จำนวน 66.89 สตางค์ต่อหน่วย แบ่งเป็นเอฟทีขายปลีกประมาณการที่สะท้อนต้นทุนเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2566 จำนวน 28.58 สตางค์ต่อหน่วย และทยอยชำระเงินที่ กฟผ. กู้มาเพื่อตรึงค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือน ก.ย. 2564 – เม.ย. 2566 โดยแบ่งเป็น 5 งวดๆ ละ 23,428 ล้านบาท โดยคาดว่า ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 2666 มีภาระหนี้คงเหลือที่ต้องชำระคืนให้ กฟผ. 111,869 ล้านบาท ทำให้ค่าไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับลดลงเป็น 4.45 บาทต่อหน่วย ตามข้อเสนอของ กฟผ.

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับผลการคำนวณประมาณค่าเอฟทีและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ทั้ง 3 กรณีที่กล่าวข้างต้นนั้นเป็นไปตามการประมาณการต้นทุนเชื้อเพลิงโดย ปตท. และ กฟผ. นำประมาณการดังกล่าวมาคำนวณต้นทุนค่าไฟฟ้า

นายคมกฤช ระบุว่า ปัจจัยราคาพลังงานในตลาดโลกเริ่มคลายตัว ทำให้ “ราคาก๊าซธรรมชาติเหลวในตลาดจร (Spot LNG) ที่ลดลงในรอบ พ.ค.- ส.ค. 66 ส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญต่อค่าประมาณการค่าเอฟที ในงวดเดือน ก.ย. – ธ.ค. 2566 ถึงแม้ว่าก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยจะทยอยปรับเพิ่มขึ้น แต่จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของแหล่งก๊าซธรรมชาติในเมียนมา ประกอบกับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคปิโตรเคมีและอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นทำให้ปริมาณก๊าซที่ส่งให้ภาคไฟฟ้ามีจำนวนจำกัด

ประกอบกับยังคงมีภาระที่ต้องจ่ายคืน กฟผ. จากการแบกรับต้นทุน LNG ในช่วงวิกฤตพลังงานในช่วงที่ผ่านมาแทนผู้ใช้ไฟฟ้ามากกว่าแสนล้านบาท จึงมีความเป็นไปได้ว่าทางเลือกค่าFt ต่ำสุดจะอยู่ในระดับ 66.89 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้การเรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้างวดที่ 3 จะอยู่ที่ 4.45 บาทต่อหน่วยตามที่ กฟผ. เสนอ จากปัจจุบันเรียกเก็บที่ 4.70 บาทต่อหน่วย แต่อย่างไรก็ตามอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามนโยบายรัฐบาลชุดใหม่ แต่ยังคงต้องนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช. ) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสม เช่น ออกพันธบัตร หรือพักหนี้ เป็นทางเลือก รองรับมาตรการดังกล่าวเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการ

นอกจากนี้การเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกรวมทั้งการเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวของยุโรปส่งผลให้ความต้องการใช้ LNG เพิ่มมากขึ้นและอาจส่งผลต่อราคา LNG ในตลาดเอเชีย สำนักงาน กกพ. ร่วมกับ ปตท. กฟผ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์การผลิตและใช้ก๊าซธรรมชาติอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานในราคาที่เหมาะสม

 

ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ. จะดำเนินการรับฟังความคิดเห็นค่าเอฟที (Ft) สำหรับการเรียกเก็บในรอบเดือนกันยายน – ธันวาคม 2566 ทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 7 – 21 กรกฎาคม 2566 ก่อนที่จะมีการสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป

ส่วนกรณีที่เอกชนได้เสนอให้อัตราค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 4.25 บาทต่อหน่วยนั้น นายคมกฤช ระบุว่าหากต้องการให้อัตราค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 4.25 บาทต่อหน่วย จะต้องมีการพิจารณาในเรื่องของภาระหนี้ว่าจะมีการดำเนินการอย่างไร เนื่องจาก ปัจจุบันภาระต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 4 บาทกว่า และมีโอกาสที่จะปรับเพิ่มขึ้นอีก จากราคาแก๊สที่มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงปริมาณแก๊สในอ่าวไทย และพม่าที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

ส่วนแนวโน้มอัตราค่าไฟฟ้าในช่วงต้นปี คาดว่า จะอยู่ในระดับที่ทรงตัว เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงในเรื่องของราคา LNG ที่จะมีความต้องการสูงในช่วงปลายปีและต้นปี แต่ทั้งนี้ จะต้องติดตามสถานการณ์อีกครั้ง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“อภิสิทธิ์” ร่วมวง “น้าแอ๊ด-สินเจริญ” ร้องเพลงทะเลใจ ปลื้มค่ำคืนมิตรภาพ
อุตุฯประกาศฉบับ 2 เตือนพายุดีเปรสชัน ไทยเจอฝนตกหนัก ช่วง 20–23 ก.ย.นี้
"สืบนครบาล" บุกจับบัญชีม้า "แก๊งคอลเซ็นเตอร์" อ้างเป็น ตร. หลอกเหยื่อสูญเงินกว่า 2 ล้านบาท
“บิ๊กป้อม” ปิดปาก ไม่ตอบปมคลิปเสียงหลุด ถูกแฉในรายการหมาแก่
คณะกรรมาธิการการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สภาผู้แทนราษฎร ศึกษาดูงานการบริหารจัดการน้ำบาดาล ณ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ซิมบับเวเล็งฆ่าช้าง 200 ตัวเลี้ยงประชาชน
รื้อกฎต่างด้าว รับโทษเท่าคนไทย ห้ามตั้งท้องเด็ดขาด ตรวจจับส่งกลับทันที
"บิ๊กต่อ" เข้าให้ปากคำคดีเส้นเงินเอี่ยว ‘เว็บพนัน-ส่วย’ ก.ร.ตร.ยันเอาผิดย้อนหลังได้ แม้จะเกษียณราชการ
คนร้ายลอบวางบึ้ม ทหารพรานยะลา เจ็บ 4 นาย
"นักวิชาการ" ค้านแก้รธน.หมวดจริยธรรม ชี้เป็นมโนสำนึก คนปกติทั่วไปชั่งน้ำหนักได้ 

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น