พบกระดูกมนุษย์ “โฮโม เซเปียนส์” อายุกว่า 86,000 ปี ในลาว

โฮโม เซเปียนส์, มนุษย์สมัยใหม่, มนุษย์โฮโม เซเปียนส์, มนุษย์โบราณ, Homo Sapiens, นักโบราณคดี, ถ้ำผาลิง, กระดูกมนุษย์สมัยใหม่, กระดูกมนุษย์โฮโม เซเปียนส์

นักโบราณคดีพบ กระดูกมนุษย์สมัยใหม่ หรือ "โฮโม เซเปียนส์" อายุกว่า 86,000 ปี ในลาว เป็นฟอสซิลของมนุษย์ปัจจุบันที่เก่าแก่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นักโบราณคดี พบชิ้นส่วนกะโหลกและกระดูกหน้าแข้งของมนุษย์สมัยใหม่ หรือ “โฮโม เซเปียนส์” (Homo Sapiens) อายุกว่า 86,000 ปี ในถ้ำผาลิงของประเทศลาว ตอบคำถามสำคัญเรื่องการอพยพครั้งใหญ่ของมนุษยชาติออกจากแอฟริกา ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

การค้นพบในครั้งนี้ พบในถ้ำผาลิง ซึ่งอยู่สูงประมาณ 1,170 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลบนภูเขาทางตอนเหนือของประเทศลาว โดยนักโบราณคดีพบชิ้นส่วนกะโหลก และกระดูกหน้าแข้ง รายงานผลการศึกษาตีพิมพ์ในวารสาร Nature Communications เมื่อวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยคาดว่าชิ้นส่วนกระดูกน่าจะโดนพัดเข้ามาในถ้ำช่วงมรสุม แม้ชิ้นส่วนจะแตกหักและไม่สมบูรณ์ แต่ก็เพียงพอให้นักวิทยาศาสตร์เปรียบเทียบขนาดและรูปร่างกับมนุษย์สายพันธุ์อื่น ๆ

 

โฮโม เซเปียนส์, มนุษย์สมัยใหม่, มนุษย์โฮโม เซเปียนส์, มนุษย์โบราณ, Homo Sapiens, นักโบราณคดี, ถ้ำผาลิง, กระดูกมนุษย์สมัยใหม่, กระดูกมนุษย์โฮโม เซเปียนส์

 

ซึ่งพบว่า มีความใกล้เคียงกับมนุษย์ “โฮโม เซเปียนส์” มากที่สุด มากกว่ามนุษย์โบราณอื่น ๆ เช่น

  • โฮโมอีเรคตัส
  • นีแอนเดอร์ทัล
  • หรือเดนิโซแวน

จากการตรวจสอบพบว่า ชิ้นส่วนกะโหลกมีอายุประมาณ 73,000 ปี ส่วนกระดูกหน้าแข้งมีอายุประมาณ 86,000 ปี การค้นพบในครั้งนี้ ช่วยตอบคำถามในประเด็นที่เป็นที่ถกเถียงมานานหลายทศวรรษเกี่ยวกับระยะเวลาที่ “โฮโมเซเปียนส์” อพยพมาถึงเอเชีย

เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้น่าจะเป็นเส้นทางสำคัญที่มนุษย์สมัยใหม่เดินทางต่อไปออสเตรเลีย เป็นไปได้ว่ากลุ่มคนนี้มีความเชื่อมโยงกับชาวเกาะสุมาตราเมื่อประมาณ 68,000 ปีก่อน และอาจเกี่ยวข้องกับคนที่สร้างเครื่องมือในออสเตรเลียในช่วงเวลาเดียวกัน

 

โฮโม เซเปียนส์, มนุษย์สมัยใหม่, มนุษย์โฮโม เซเปียนส์, มนุษย์โบราณ, Homo Sapiens, นักโบราณคดี, ถ้ำผาลิง, กระดูกมนุษย์สมัยใหม่, กระดูกมนุษย์โฮโม เซเปียนส์

การศึกษาทางพันธุกรรมของชนพื้นเมืองในออสเตรเลียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่าพวกเขาแยกตัวออกจากชาวแอฟริกันเมื่อไม่นานมานี้ ในช่วงเวลาเดียวกับที่ชาวยุโรปและชาวอเมริกันพื้นเมืองแยกจากกัน

อย่างไรก็ตาม มีผู้เชี่ยวชาญบางส่วนไม่เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า โฮโมเซเปียนส์ น่าจะเป็นกลุ่มที่อพยพล้มเหลวมากกว่า และดูเหมือนจะไม่มีลูกหลานที่รอดชีวิต ซึ่งแสดงถึงความล้มเหลวในการขยายเผ่าพันธุ์ออกไป ประกอบกับงานวิจัยทางพันธุกรรมของมนุษย์ที่ใช้ชีวิตอยู่ตอนนี้ และข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องมือทั้งหมดชี้ว่า มาจากกลุ่มที่อพยพออกจากแอฟริกาครั้งเดียวเมื่อ 60,000 ปีที่แล้ว

 

โฮโม เซเปียนส์, มนุษย์สมัยใหม่, มนุษย์โฮโม เซเปียนส์, มนุษย์โบราณ, Homo Sapiens, นักโบราณคดี, ถ้ำผาลิง, กระดูกมนุษย์สมัยใหม่, กระดูกมนุษย์โฮโม เซเปียนส์

 

ส่วนสาเหตุที่ทำให้การขยายเผ่าในครั้งนี้ล้มเหลว หรือหายไปนั้น ยังไม่มีคำตอบแน่ชัด ต้องค้นหาคำตอบกันต่อไป โดยเฉพาะกลุ่มมนุษย์ที่พบในเอเชีย ซึ่งยังคงมีความซับซ้อนและเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาก

ข้อมูล : livescience และ iflscience

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อ.อ๊อด" แฉเบื้องหลัง "ทนายตั้ม" วางแผน ส่งคนสนิทพลิกสารภาพโกงเงิน "เจ๊อ้อย" หวังศาลเห็นใจ
MEA แจ้งปิดทำการ เนื่องในวันหยุดชดเชยวันฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม 2568
"เต้ อาชีวะ" พาเหยื่อสาวไทย แจ้งความถูก "หนุ่มเมียนมา" บุกคอนโดฯ-ขู่ฆ่า
กกพ.ประกาศลดค่าไฟ งวดพ.ค.-ส.ค.68 เหลือ 3.98 สต. หวังแบ่งเบาภาระประชาชน
อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ลงนามความร่วมมือพัฒนาฝีมือแรงงานไทยกับสมาคมนายจ้างส่งเสริมแรงงานไทย
สหกรณ์บ้านเงาะตราด ส่งเงาะตราดสีทอง ลุยตลาดดูไบ เพิ่มโอกาสขยายตลาดผลไม้
มติกนง.เสียงส่วนใหญ่ ให้ลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25 เหลือ 1.75% ต่อปี
ยาน'เสินโจว-19'ของจีนกล้บสู่พื้นโลกปลอดภัย
"ปตท." ผ่านการรับรองระบบงานหน่วยตรวจสอบความใช้ได้-ทวนสอบก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐาน ISO จากสมอ.
ร้านข้าวขาหมูดังเมืองศรีราชา ยืนราคาเดิม แม้เนื้อหมูในตลาดปรับราคาเพิ่มต่อเนื่องหากปรับราคากลัวลูกค้าหด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น