No data was found

โอกาสประเทศ “ส.อ.ท.” เผยข่าวดี “ซาอุฯ” สนใจลงทุนธุรกิจปิโตรเคมี เฮลท์แคร์ในไทย

กดติดตาม TOP NEWS

สภาอุตฯ เผยร่วมคณะภาครัฐและเอกชน เยือนซาอุฯ ชี้เป็นโอกาสประเทศไทย พร้อมขยายความร่วมมือ การลงทุนร่วมกัน เผยข่าวดี ซาอุฯ เล็งเข้ามาลงทุนธุรกิจปิโตรเคมี ปุ๋ย เฮลล์แคร์ รวมถึงเมกะโปรเจกต์ในไทย

วันที่ 14 มิ.ย.66 นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) พร้อมด้วย นายชาติชาย พานิชชีวะ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงการเข้าร่วมคณะเดินทางเยือนซาอุดีอาระเบียกับนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วยคณะภาครัฐและภาคเอกชน ระหว่างวันที่ 6-10 มิถุนายน 2566 เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือทวิภาคี และส่งเสริมการเจรจาการค้าและการลงทุนระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ ในการเร่งผลักดันการค้า การลงทุน

ปัจจุบัน ซาอุดีอาระเบียต้องการดึงนักลงทุนจากทั่วโลกและนักลงทุนจากไทยไปร่วมโครงการ Saudi Vision 2030 โดยตั้งเป้าหมายจะนำพาซาอุดีอาระเบียไปสู่อนาคตใหม่ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมกับนโยบายในการสร้างเมืองใหม่ที่มีชื่อว่า “นีอุม” NEOM (Saudi Arabia Smart City) อีกทั้งซาอุฯ ยังเป็นประเทศที่มีศักยภาพหลายด้านทั้งการเป็นศูนย์กลางและเป็นผู้นำของกลุ่มคาบสมุทรอ่าวอาหรับ (GCC) ขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าไทย มีประชากร 35 ล้านคน คาดว่าจะเพิ่มเป็น 50 ล้านคนในปี 2030 (พ.ศ. 2573) และยังสามารถเชื่อมโยงตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ

 

นายชาติชาย พานิชชีวะ รองประธาน ส.อ.ท. ระบุว่า การเข้าร่วมเดินทางกับคณะ ในครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการผลักดันการค้า การลงทุนร่วมกันระหว่างประเทศไทยและซาอุดีอาระเบีย พร้อมขยายความร่วมมือและการลงทุนในด้านต่างๆ อาทิ

– อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ จากมูลค่าการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ พบว่าสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์และชิ้นส่วนประกอบรถยนต์เป็นหนึ่งในสินค้าส่งออก 15 อันดับแรกของไทยที่ส่งออกไปซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีมูลค่ากว่า 214.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจากการที่ประเทศซาอุดีอาระเบียได้ยกเลิกกฎหมายและอนุญาตให้ผู้หญิงชาวซาอุดีอาระเบียสามารถขับรถยนต์ได้ สนับสนุนให้ความต้องการใช้รถยนต์เติบโต จึงเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยในการขยายตลาดในซาอุฯ มากขึ้น โดยเฉพาะสาขาชิ้นส่วนยานยนต์ซึ่งไทยมีความเชี่ยวชาญ และจะช่วยผลักดันให้ซาอุดีอาระเบียเป็นส่วนหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานของการผลิตในระดับโลก

 

ข่าวที่น่าสนใจ

– อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง บริษัท เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีนโยบายขยายการลงทุนโดยมุ่งขยายธุรกิจและพัฒนาระบบนิเวศด้านการก่อสร้าง (Construction Ecosystem) ไปสู่การขยายห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ในด้านอื่นๆ ทั้งธุรกิจปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ (Packaging) และ PVC เป็นต้น เพื่อต้องการสร้างเครือข่าย Supply chain ระหว่างประเทศ จึงมีแผนการจัดตั้งสำนักงาน ณ เมืองริยาดภายในเดือนกันยายนปี 2566

– นอกจากนี้ สินค้าอื่นๆ ที่ยังมีโอกาสเติบโต เช่น เหล็ก ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ได้รับประโยชน์จากการลงทุน Mega Project ของซาอุฯ ในการสร้างเมืองและขยายเมืองเพื่อให้สอดรับกับแผน Saudi Vision 2030

– อุตสาหกรรมปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ ประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกปุ๋ยเคมีอันดับที่ 6 ของโลก จากการเข้าพบหน่วยงาน Saudi Basic Industries Corporation (SABIC) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตปุ๋ยรายใหญ่รายหนึ่งของโลกและเป็นรายใหญ่ของซาอุดีอาระเบีย ได้แสดงความสนใจที่จะร่วมมือและขยายลงทุนกับไทยและในช่วงการเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ผ่านมา ประเทศไทยได้นำเข้าปุ๋ยและเคมีภัณฑ์จากซาอุฯ และทางบริษัทมีส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจปุ๋ยในไทยมากถึง 45% ซึ่งไทยมีแนวโน้มนำเข้าสินค้าปุ๋ยและเคมีภัณฑ์จากซาอุฯ ในจำนวนมากขึ้น

– โครงการปลูกต้นไม้ 50,000 ล้านต้น ในกลุ่มประเทศอาหรับ ตามเป้าหมายของ Vision 2030 ของซาอุดีอาระเบีย มีแผนที่จะนำเข้าต้นไม้จากทั่วโลกเพื่อให้บรรลุตามนโยบายซาอุดีอาระเบียสีเขียว (The Saudi Green Initiative) เพื่อเปลี่ยน พื้นที่เสื่อมโทรมให้กลับมามีชีวิตชีวา โดยการปลูกต้นไม้ 10,000 ล้านต้น และร่วมสนับสนุนผลักดันโครงการปลูกต้นไม้ 50,000 ล้านต้นทั่วภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งปัจจุบัน ประเทศไทยได้ส่งต้นไม้ไปยังซาอุฯ แล้วกว่า 200,000 ต้น และถือว่ายังมีโอกาสให้ไทยส่งออกต้นไม้ไปยังซาอุฯ ได้อีกมาก ซึ่งซาอุฯ จะร่วมมือกับประเทศสมาชิก GCC และประเทศหุ้นส่วนอื่นๆ ในการปลูกต้นไม้ในเอเชียตะวันตกเพิ่มอีก 4 หมื่นล้านต้น

นอกจากนี้ ทางคณะฯ ยังได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมศูนย์วิทยากรและเทคโนโลยีของซาอุดีอาระเบีย (King Abdulaziz City for Science and Technology : KACST) ซึ่งมีการแสดงนวัตกรรมของสินค้าอุตสาหกรรม เช่น Carbon Fiber อุตสาหกรรม 4.0 และอุตสาหกรรม Semi – Conductor ในอนาคต เป็นต้น โดยฝ่ายซาอุฯ มีความยินดีที่จะให้ใช้ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการของซาอุฯ หากสตาร์ทอัพ ทั้งสองประเทศตกลงที่จะร่วมกันเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนการทำงานร่วมกัน และหากผู้ประกอบการทั้ง 2 ฝ่ายเกิดการร่วมทุนกันต่อเนื่อง หน่วยงานดังกล่าวพร้อมให้การสนับสนุนธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture capital) ให้อีกด้วย

 

 

ด้านนายเกรียงไกร ระบุว่า ในส่วนของนักลงทุนซาอุฯ นั้น ยังให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ในส่วนของอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี การผลิตวัตถุดิบในการทำปุ๋ย /รวมถึงธุรกิจสุขภาพหรือ เฮลแคร์ เนื่องจากที่ซาอุฯ มีราคาสูง และถือโอกาสมาท่องเที่ยว

โดยเรื่องปุ๋ย ทางซาอุฯ มีมองเห็นโอกาสจากที่ไทย เป็นประเทศเกษตรกรรม การที่มาทำปุ๋ยในไทยย่อมมีประโยชน์สำหรับไทย และซาอุฯ ก็มีวัตถุดิบเหลือเฟือ โดยจะนำเทคโนโลยีมาคุยกับทางปตท. เพื่อผลิตวัตถุดิบ ป้อนการผลิตปุ๋ย

ขณะที่ ปิโตรเคมีนั้น ซาอุฯ สนใจลงทุนในเรื่องของปิโตรเคมีในพื้นที่ภาคใต้ของไทย เพื่อให้เป็นฮับน้ำมันทดแทนประเทศเพื่อนบ้าน ที่เคยเป็นศูนย์กลางอยู่ ซึ่งเป็นโปรเจกต์ยักษ์ที่อยู่ระหว่างการเจรจา รวมถึงอีกหลายโปรเจกต์ ที่จะมีการเจรจาตามมา ซึ่งการเดินทางครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ม็อบหนุนยิวชนม็อบหนุนปาเลสไตน์ที่ UCLA ตีกันเละ (คลิป)
สุดมึน "หนุ่มหลอน" บุกยึดบ้านนอน-กิน แถมขับรถไปซื้อกาแฟ สุดท้ายอ้างเฉยเป็นเจ้าของบ้าน
"ทีมแอนิเมชั่น 2475" แจ้งข่าวดี ก.วัฒนธรรม ผ่านเรทติ้งเหมาะผู้ชม "ทั่วไป" แล้ว
"สำนักพุทธฯ" บุกสอบ "เจ้าอาวาส" ฉาวเปิดฮาเร็มเคลมเด็กหนุ่ม ว่อนโซเชียล
กวางตุ้งระทึก ถนนยุบพังถล่ม รถ 20 คันไถลลงข้างทาง ดับ 24 ศพ
เปิดภาพ "ทักษิณ” ควง “สุวัจน์” ทัวร์สวนน้ำอันดามันภูเก็ต หวังบูมท่องเที่ยว
ถนนในกวางตุ้งยุบตัว พังถล่มเป็นทางยาว18 เมตร ดับ 24 ศพ
"อธิบดีกรมโรงงาน" เครียดปัญหากากแร่แคดเมียม แจ้งลาออกกลางวงกมธ.อุตฯ
แฉลึกนายทุนใหญ่ กว้านซื้อโควต้าสลากฯ "มูลนิธิผู้พิการ" ปล่อยขายผู้ค้าย่อยกินกำไรรวย 100 ล้าน
ชายคลั่งอาละวาด คว้าปังตอจามหัวตร. 3 ครั้ง บาดเจ็บ แต่ใจสู้เข้าสยบผู้ก่อเหตุได้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น