No data was found

“ธาลัสซีเมีย” แนะพ่อแม่วางแผนก่อนมีลูกเลี่ยงเด็กป่วยเลือดจาง

ธาลัสซีเมีย

กดติดตาม TOP NEWS

เลี่ยงเด็กป่วย "ธาลัสซีเมีย" กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี แนะพ่อแม่ทุกคนวางแผนก่อนมีลูก

TOP News ห่วงใยภาวะป่วย “ธาลัสซีเมีย” กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เผยประเทศไทยพบเด็กป่วยเพิ่มขึ้น แนะพ่อแม่ควรวางแผนก่อนมีลูกเลี่ยงเด็กป่วยเลือดจาง

ข่าวที่น่าสนใจ

thalassemia

นายแพทย์ วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ตามที่องค์การอนามัยโลกหรือ World Health Organization (WHO) กำหนดให้วันที่ 8 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันธาลัสซีเมียโลก เพื่อกระตุ้นให้ทุกประเทศให้ความสำคัญในการป้องกัน thalassemia ซึ่งสามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปยังลูก ข้อมูลจากทั่วโลกพบผู้ป่วยเด็กกว่า 80,000,000 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 6 ทั้งนี้ สามารถป้องกันหรือรักษาให้หายขาดหรือดีขึ้นได้

“ธาลัสซีเมีย” (thalassemia) คืออะไร

เป็นโรคโลหิตจางชนิดหนึ่งที่เกิดจากพันธุกรรม ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบยีนด้อยอันเนื่องมาจากความผิดปกติของการสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงลดน้อยลงและหรือผิดปกติ ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงมีลักษณะผิดปกติ แตกง่ายและมีอายุสั้น ก่อให้เกิดอาการซีด เลือดจางเรื้อรัง และภาวะแทรกซ้อนอื่นตามมา ทั้งบิดาและมารดาของผู้ที่เป็นโรคจะมี thalassemia แฝง หรือเรียกว่าเป็นพาหะของ thalassemia ซึ่งผู้ที่มียีน thalassemia แฝงนี้จะไม่มีอาการของโรคนี้ จะเหมือนคนปกติ แต่สามารถถ่ายทอดยีนที่ผิดปกตินี้สู่ลูกหลาน

นายแพทย์ อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวว่า thalassemia มีหลายชนิด ความรุนแรงแตกต่างกันมาก ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคขั้นรุนแรงมาก จะเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์หรือเมื่อคลอดเพียง 1 – 2 ชั่วโมง แต่เป็นเพียงส่วนน้อย โดยส่วนมากจะพบว่าผู้ป่วยจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

  1. ไม่มีอาการเลยหรือมีอาการไม่มาก แต่จะซีดลงเมื่อมีไข้ ไม่สบาย
  2. อาการรุนแรงปานกลาง – รุนแรงมาก ผู้ป่วยจะซีด อาจสังเกตหรือตรวจพบตั้งแต่อายุเพียง 6 – 7 เดือนแรก ถ้ารุนแรงมาก จะมีตาเหลือง อ่อนเพลีย เจริญเติบโตไม่สมอายุ ม้ามและตับโต ลักษณะกระดูกใบหน้าเปลี่ยนรูป ที่เรียกว่า หน้า thalassemia ในระยะยาวจะมีกระดูกเปราะหักง่าย เจ็บป่วยไม่สบายบ่อย ๆ

วิธีดูแลรักษาผู้ป่วยทำได้ดังนี้

  1. การดูแลทั่วไป ผู้ป่วยต้องมีสุขอนามัยที่ดี สะอาด รับประทานอาการครบ 5 หมู่ และวิตามินโฟเลตตามแพทย์สั่ง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ฉีดวัคซีนได้ครบถ้วนเหมือนเด็กปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัคซีนป้องกันตับอักเสบ, วัคซีนไอพีดี (IPD) หลีกเลี่ยงการกระแทก เพราะกระดูกเปราะอาจหักได้ง่าย
  2. รักษาแบบประคับประคอง
  3. รักษาให้หายขาด โดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด เมื่อมีลูกเป็น พ่อแม่ควรมีส่วนร่วมกับแพทย์ในการดูแลลูกให้ดีที่สุด โดยทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของโรค อาการของโรค แนวทางการรักษาโรค ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ร่วมดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เริ่มแรก หากมีข้อสังเกตหรือมีข้อสงสัยใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์

กรมการแพทย์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

แทบช็อก ถางป่าหลังบ้าน เจอกะโหลก-กระดูกมนุษย์ กระจายเกลื่อน รีบแจ้งตร.เข้าตรวจสอบ
"อธิบดีสถ." โต้เพจดังปั่นข่าวปลอม แจงรัวโดนกล่าวหาเรียกเงินสมัครสอบขรก.
รบ. โชว์ผลงานปราบยาเสพติด 6 เดือน เห็นผลชัด ยึดยาบ้า 900 ล้านเม็ด ยึดทรัพย์อีกมหาศาล
สภาพอากาศวันนี้ กรมอุตุฯเตือน อากาศร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุด 43 องศา ระวังพายุ31จว.
อ.ไพศาล เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พระเครื่อง ของผอ.ฟ้า เผยมีพระสมเด็จกว่า 100 หีบ มากสุดเท่าที่เคยเห็น
นอภ.บางละมุง สางปัญหาความเดือดร้อนลำคาญชายหาดจอมเทียน
ผู้ว่าชลฯ บูรณาการ ทุกหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาภัยแล้งบนเกาะล้าน พร้อมแจกจ่ายน้ำให้ประปาให้ชาวบ้านบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น
อบต.ตะพง ชวนเที่ยวงานเทศกาลดนตรี สีสัน ผลไม้สไตล์ตะพง ของดีเมืองระยอง เลือกซื้อ ชิม ช้อปผลไม้ขึ้นชื่อเมืองระยอง ทั้งทุเรียน เงาะ ลองกอง มังคุด
น้องชายยิงพี่ชายทนายความรุ่นใหญ่ ดับคาบ้าน เหตุหึงเมีย
เมียนมาห้ามชายวัยเกณฑ์ทหารออกไปทำงานตปท.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น