logo

“ศรีสุวรรณ” ยื่นศาลปกครอง ร้องเบรกกฟผ.ซื้อไฟฟ้าเอกชน กระทบค่าเอฟทีแพง

"ศรีสุวรรณ" ยื่นศาลปกครอง ร้องเบรกกฟผ.ซื้อไฟฟ้าเอกชน กระทบค่าเอฟทีแพง

 

วันนี้ (18 เม.ย.66) เมื่อเวลา 11.00 น.ที่ศาลปกครองกลาง นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอไต่สวนฉุกเฉิน ในคดีหมายเลขดำที่ 1961/2565 เนื่องจากมีกรณีฉุกเฉินเนื่องจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนดให้ กฟผ.ลงนามในสัญญาซื้อไฟฟ้าจากเอกชนจำนวน 175 ราย ที่มีปริมาณเสนอขายรวม 4,852.26 เมกะวัตต์ จากที่ กกพ.ประกาศเปิดรับซื้อ 5,203 เมกะวัตต์ ในวันที่ 19 เมษายน 2566 นี้

 

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ โรงพยาบาล

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า ประเทศไทยมีกำลังการผลิตมากถึง 51,048 เมกกะวัตต์ ขณะที่ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศในปี 2565 มีเพียง 30,135 เมกกะวัตต์เท่านั้น อันทำให้มีปริมาณการผลิตไฟฟ้าสำรองล้นประเทศ หรือมากเกือบ 60% แต่ทว่าคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กลับมีมติให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไปดำเนินการจัดซื้อไฟฟ้าจากเอกชนเพิ่มในโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (Fit) ปี 2565-2573

 

สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน, พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน(Battery Energy Storage System : BESS), สำหรับพลังงานลม, สำหรับก๊าซชีวภาพ(น้ำเสีย/ของเสีย) และโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าล้นประเทศมากถึง 53,659 เมกกะวัตต์ หรือมีกำลังไฟฟ้าสำรองมากกว่า 62% ซึ่งมาตรฐานสากลกำหนดไว้เพียงประมาณ 15-20% เท่านั้น

การที่มีพลังงานไฟฟ้าสำรองมากกว่า 53,659 เมกกะวัตต์ หรือกว่า 62% จะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่าเอฟที (Ft) ซึ่งการไฟฟ้าก็จะไปไล่เก็บจากประชาชนทุกครัวเรือนเพื่อเอามาชดเชยให้เอกชนเจ้าของโรงไฟฟ้าที่ กฟผ.ได้ลงนามในสัญญาซื้อสำรองไว้ แบบเสียเปล่า เพราะปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศไทยมีเพียงแค่ 3 หมื่นกว่าเมกกะวัตต์เท่านั้น และหากพิจารณาบริษัทต่าง ๆ ใน 175 รายนั้นส่วนใหญ่ก็จะเป็นของบริษัทขนาดใหญ่ ผู้ร่ำรวยระดับปะเทศที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แทบทั้งสิ้น

 

 

อาจเป็นรูปภาพของ 1 คน และ ห้องข่าว

การฮึกเหิมในการใช้อำนาจตามอำเภอใจและน่าจะเป็นการตอบสนองความต้องการของฝ่ายการเมืองดังกล่าว ในที่สุดผู้ที่จะต้องแบกรับภาระค่าจัดซื้อจัดหาไฟฟ้าจากผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าของเอกชน คือ พลเมืองไทยทุกครัวเรือน ทุกห้างร้าน ทุกผู้ประกอบกิจการ แม้แต่วัดวาอาราม ศาสนสถานก็ไม่เว้น เยี่ยงนี้สังคมไทยจะปล่อยให้เลยตามเลยไปมิได้ เพราะจะมีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะบนความทุกข์ของประชาชนทุกครัวเรือน ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ในคดีที่ 1/2566 ลงวันที่ 9 ม.ค.2566 ที่ผ่านมา สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยจึงจำต้องมาร้องขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินเพื่อมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับการลงนามซื้อไฟฟ้าในวันนี้ นายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด

 

 

กฟผ.' แจงซื้อไฟเอกชนโปร่งใสไม่เอื้อต่อกลุ่มทุน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อัจฉริยะ" ร้อง "นายกฯ" สอบ "บิ๊กเอก" เอี่ยวเว็บพนันฯ ลักรถหรูอดีตผู้กำกับโจ้
เกาหลีเหนือ ยิงดาวเทียมสอดแนมแต่ระเบิดกลางอากาศ
ตร.รวบเครือข่าย "พ่อค้าเฮโรอีน" ยึดของกลาง 380 แท่ง
เตือนอย่าหลงเชื่อ "รัฐบาล" แจงดันรถไถนาเป็นซอฟต์พาวเวอร์ ข่าวปลอม
"เศรษฐา" เซ็นตั้ง "วิษณุ" นั่งที่ปรึกษาสลค. จัดห้องทำงานดูแลข้อกม.
รัฐบาลใช้บริการ "เนติบริกร" ค้ำเก้าอี้ "เศรษฐา" ฝ่าวิบากกรรมตั้ง "รมต.มีตำหนิ" ผ่า3ทางออกคดี112 "ทักษิณ" จับตาหวยออกทางไหน
จีน ทุ่มลงทุนชิป อีกเกือบ 5 หมื่นล้านดอลลาร์
สหรัฐ ทอร์นาโดกระหน่ำ ดับแล้ว 21 ราย
ไซโคลนถล่มบังกลาเทศ-อินเดีย ดับ 16
ปิดฉาก10ปีแห่งการต่อสู้คดี 4 แกนนำ "กปปส." ขวางเลือกตั้งขับไล่รัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" ศาลฎีกาคุก "สนธิญาณ" 8 เดือนแต่ให้รอลงอาญา 2 ปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น