No data was found

แห่หากล้วยด่างคึกคักถึงศูนย์เพาะเนื้อเยื่อ

กดติดตาม TOP NEWS

กระแสกล้วยด่างยังมาแรงทำให้ที่ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จ.ตรังหรือศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ช่วงนี้คึกคักเพราะมีชาวบ้านเดินทางไปเลือกซื้อพันธุ์กล้วยชนิดต่าง ๆ ที่มีลักษณะด่าง ๆ ตั้งแต่ออกจากห้องแลปและในโรงเรือน บางคนไปเลือกนานถึง 3 ชั่วโมง บางคนเสี่ยงซื้อนำไปต่อยอด ขณะที่นักวิชาการชี้ส่วนหนึ่งเป็นความผิดปกติของพันธุกรรมพืช

วันที่ 11 ส.ค. 2564 ที่ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 2 จ.ตรังหรือศูนย์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งทำการเพาะพันธุ์ไม้หายากและเพาะไม้ผลทางการเกษตร เพื่อแจกจ่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจนำไปปลูกเพื่อสร้างรายได้เสริม โดยมีกล้วยชนิดต่างๆ ทั้งกล้วยหอมทอง กล้วยน้ำว้า กล้วยเล็บมือนาง กล้วยหิน และกล้วยไข่ ซึ่งจะแจกจ่ายไปยัง 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง แต่ปรากฏว่าหลังจากที่กระแสกล้วยด่างมีความนิยมเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีเกษตรกรส่วนหนึ่งหันมาเลือกซื้อต้นกล้วยที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อตั้งแต่อายุ 3 เดือน หรือที่เพิ่งออกจากห้องแลปกันเลยทีเดียว เพื่อดูความด่าง ความแปลกที่แตกต่างจากต้นกล้วยทั่วไป

รวมถึงตามไปเลือกต้นกล้าในโรงเรือนที่มีนับพันต้น ซึ่งบางคนใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมงกว่าจะได้สัก 1-2 ต้นที่คิดว่าแปลก และบางคนวนเวียนเข้าออกอยู่หลายรอบ ในแต่ละเดือน ซึ่งส่วนมากจะผิดหวังเนื่องจากต้นกล้วยของศูนย์เพาะพันธุ์พืชที่ 2 จ.ตรัง ได้จากการเพาะเนื้อเยื่อจากต้นแม่โดยตรง ทำให้ยีนส์/พันธุกรรมไม่ผิดเพี้ยนและตรงตามต้นแม่ทุกอย่าง แต่ก็ยังคงมีเกษตรกรแวะเวียนมาคัดเลือกอยู่เป็นประจำ ขณะที่นักวิชาการเกษตรฯ ได้แนะนำให้นำไปปลูก หากเป็นกล้วยด่างที่อาจจะหลุดรอดออกไปก็จะขายได้ราคา แต่หากนำไปปลูกลงดินแล้วไม่ด่าง อนาคตยังได้กินกล้วยที่ปลูกเองโดยไม่ต้องซื้อหา ชี้กล้วยด่างของศูนย์ฯ เกิดจากความผิดเพี้ยนทางพันธุกรรมเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปได้แค่ 1 ใน 1,000 เท่านั้น โดยขณะนี้มียอดสั่งจองกล้วยชนิดต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก แต่ทางศูนย์ฯ ผลิตได้เดือนละประมาณ 3,000 ต้น เพราะต้องเลี้ยงจากห้องแลปจนถึงมือเกษตรกร ใช้เวลาเกือบ 1 ปีความสูงของลำต้นประมาณ 1 ฟุตจึงสามารถนำออกจำหน่ายได้ในราคาต้นละ 15 บาท ส่วนใหญ่นำไปปลูกเพื่อลดรายจ่าย สร้างรายได้ในระยะยาว

ด้าน น.ส นพรัตน์ ถวิลเวทิน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ศูนย์ขายพันธุ์พืชที่ 2 จ.ตรังกล่าวว่า ตอนนี้มีเกษตรกรแวะมาดูอย่างต่อเนื่อง และต้องใช้เวลาหน่อยเพราะมีกล้วยด่างน้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่เหมือนต้นพ่อแม่พันธุ์ แต่ก็มีชาวบ้านไปเจอบ้าง บางคนใช้เวลาหลายชั่วโมง แต่ถ้าเจอก็คุ้ม เพราะซื้อไป 15 บาทเลี้ยงไปเดือนสองเดือนหากกลายพันธุ์ก็ขายต้น 400-500 บาทก็ได้กำไรแล้ว แต่หากไม่ใช่กล้วยด่างก็ปลูก และต้องใช้เวลา ซึ่งส่วนใหญ่เกษตรกรที่เข้ามาจะเป็นเกษตรกรที่ซื้อไปปลูกในแปลงเกษตรของตน

ถนอมศักดิ์  หนูนุ่ม  ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.ตรัง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมิติเวช ชลบุรี และ ศรีราชา ให้การต้อนรับ มิสเตอร์ เจสัน รองกรรมการโรงพยาบาลสมัยใหม่ กวางโจ สาธารณประชาชนจีน นายชนะพล คลังรุ่งเรือง นายกสมาคมการค้า ไทย-เหลียวหนิง พร้อมทั้งโชว์ศักยภาพการให้บริการโรงพยาบาลในเครือ "สมิติเวช"
"ทนายเดชา" ฟันธงหลักฐานมัด "บิ๊กโจ๊ก" เตรียมต่อสู้ในชั้นศาล หักล้างความผิด
"จั๊กกะบุ๋ม" จุดธูปสาบานกลางรายการ ตอบชัดๆ "เป็ด เชิญยิ้ม" โทรหา "แม่ปูนา" หรือไม่
“อุ๊งอิ๊ง” แจงปมร้อน บินฮ่องกง มีหลายบทบาท ลั่นพร้อมรับฟังทุกดราม่า
วันไหลแห่เจ้าพ่อพระปรง หรือ วันไหล สงกรานต์ สระแก้ว อย่างยิ่งใหญ่
สื่อยิวเผยอิสราเอลยิงขีปนาวุธพิสัยไกลเข้าอิหร่านไม่ใช่โดรน
"ธีรยุทธ" ร้องผู้ตรวจการแผ่นดิน ยื่นศาลรธน.วินิจฉัยพรป.เลือกสว.เอื้อระบบฮั้วขัดกม.
"ก้าวไกล" หัวร้อนหนัก แจงโต้ "ชัยวัฒน์" กล่าวหาฝ่ายค้านเอี่ยวเผาป่าหวังผลการเมือง
“เสรีพิศุทธ์” ตอบทุกคำถาม หลังถูกมองเข้าข้าง “บิ๊กโจ๊ก” มีความเป็นกลางหรือไม่ในการวิเคราะห์
นานาชาติเรียกร้องอิหร่าน-อิสราเอลยุติการตอบโต้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น