No data was found

จุดยืน “อภิสิทธิ์” ไม่เอาลุงตู่-บนทางเลือกประชาธิปัตย์

กดติดตาม TOP NEWS

เจาะลึกจุดยืน “อภิสิทธิ์” คำรบสองยังไม่สนับสนุน “พล.อ.ประยุทธ์” ทำประชาธิปัตย์สะเทือน หลังมีดีลดึงตัวนั่งส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับต้น ๆ หวังกอบกู้พรรค ย้อนบทเรียนเลือกตั้ง 62 อุดมการณ์ไม่เอาลุงตู่ ทำประชาธิปัตย์วอดวาย ภาคใต้ถูกเจาะ ส่วนกทม.สูญพันธุ์

การเมืองในพรรคประชาธิปัตย์กลับมาร้อนแรงอีกครั้ง หลังจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ประกาศจุดยืนเป็นคำรบที่สองจะไม่สนับสนุน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และน่าสนใจยิ่งนักเมื่อผู้สื่อข่าวย้อนถาม ถึงประกาศจุดยืนครั้งแรก ที่ส่งผลให้ประชาธิปัตย์ต้องพ่ายแพ้ในสนามเลือกตั้งปี 62 ซึ่งนายอภิสิทธิ์ ตอบกลับไปว่า คำประกาศที่ออกไปคือ “การยึดถืออุดมการณ์” ของพรรคตั้งแต่การก่อตั้ง

 

เช็กรายชื่อ สส.ล็อตใหญ่ จ่อโบกมือลาปชป. ซบรวมไทยสร้างชาติ-เพื่อไทย

 

 

นับตั้งแต่ปี 2489 ภาพของประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ถือมั่นในอุดมการณ์ ตั้งแต่ยุคนายควง อภัยวงศ์, ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมทย์, นายชวนหลีกภัย, และนายอภิสิทธิ์ และยังมีอีกหลายบุลคลที่ยึดหลักการความถูกต้องมาอย่างต่อเนื่อง โดยสิ่งที่นายอภิสิทธิ์พูดในครั้งนี้แม้จะเป็นการยืนยันตามอุดมการณ์ของหลักการประชาธิปไตย แต่ในวันนี้บริบทการเมืองเปลี่ยนไป โดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ ที่วันนี้สามารถลบล้างภาพของนายทหารกระทำรัฐประหารมาสู่นักการเมืองเต็มตัว ในรั้วของพรรครวมไทยสร้างชาติ

 

 

ดังนั้นการประกาศจุดยืนครั้งที่สอง ที่จะไม่จับมือกับ พล.อ.ประยุทธ์ มีเรื่องต้องให้วิเคราะห์กันว่า พรรคประชาธิปัตย์จะมีแนวทางจัดการในเรื่องดังกล่าวอย่างไร หากต้องการให้นายอภิสิทธิ์หวนคืนสู่สนามการเมืองในฐานะ ส.ส.ปาร์ตีลิสต์อันดับต้น ๆ ซึ่งเรื่องนี้เป็นโจทย์ที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคต้องดีดลูกคิดให้ถี่ท่วน

หากย้อนดูการเลือกตั้งปี 62 ต้องยอมรับว่ากระแสของลุงตู่แรงสุด ๆ ขณะที่กระแสของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ในช่วงทรง ๆ แต่ไม่ถึงกลับขาลง เพราะด้วยตัวตนของพรรคประชาธิปัตย์ และความนิยมในตัวของนายอภิสิทธิยังเชื่อขนมกินได้ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ประชาธิปัตย์ไม่เคยเป็นสองรองใคร

 

 

เช่นเดียวกับพื้นที่กรุงเทพหานคร พรรคประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์ยังได้รับการตอบรับจากคนชั้นกลาง และแฟนคลัปอย่างเหนียวแน่ แต่ด้วยบริบทการเมืองที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะในช่วงรอยต่อปี 57 และปี 62 การเมืองไทยแบ่งขั้วกันชัดเจนระหว่างขั้วคนเอาทักษิณ ชินวัตร และคนเสื้อแดงกับขั้วอนุรักษ์นิยมที่หนุน พล.อ.ประยุทธ์ เนื่องจากมีภาพความซื่อสัตย์สุจริต และเทิดทูนสถาบัน โดยไม่สนถึงการเข้ามาถือครองอำนาจจากการรัฐประหาร

 

 

จากรูปแบบการเมืองที่แตกเป็นสองขั้วชัดเจน ทำให้เกิดแรงผลักมายังพรรคประชาธิปัตย์กลายเป็นพรรคตัวเลือกแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไปโดยปริยาย ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นายอภิสิทธิ์เลือกแทงหวย ด้วยการประกาศจุดยืนไม่เอาเผด็จการ ไม่สนับสนัน พล.อ.ประยุทธ์ ทั้งที่นายอภิสิทธิ์ ทราบดีถึงการที่ พล.อ.ประยุทธ์ กระทำรัฐประหารว่ามีสาเหตุมาจากความวุ่นวายของบ้านเมือง นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังเคยมีบทเรียนเมื่อครั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ถูกกลุ่มคนเสื้อแดงทุบรถจนแทบจะเอาชีวิตไม่รอด

ข่าวที่น่าสนใจ

จากการประกาศจุดยืนดังกล่าวทำให้ประชาธิปัตย์และนายอภิสิทธิ์ได้รับบทเรียนอย่างเจ็บแสบจากขั้วอนุรักษ์นิยม โดยผลการเลือกตั้งปี 62 ทำให้ประชาธิปัตย์แทบจะวอดวายในทุกพื้นที่แม้กระทั่งใน 14 ภาคใต้ที่เคยถือครองยิ่งใหญ่ ประชาธิปัตย์ถูกพลังประชารัฐที่มาด้วยกระแสลุงตู่เจาะเก้าอี้ได้ถึง 1 3 นั่ง ส่วนประชาธิปัตย์ได้เพียง 22 ที่นั่งใน 50 เขต และที่ย่ำแย่ที่สุดคือ “กรุงเทพมหานคร” ประชาธิปัตย์ถูกคนกรุงสั่งสอนถึงกับสูญพันธุ์ไม่มี ส.ส.คนใดเข้ามานั่งในสภา

 

 

 

ทั้งนี้ภายหลังการเลือกตั้งพรรคพลังประชารัฐของ พล.อ.ประยุทธ์ รวมเสียงจัดตั้งรัฐบาลจากพรรคการเมืองต่าง ๆ โดยพรรคประชาธิปัตย์ถูกโจมตีอย่างหนักจากฝั่งตรงข้ามกรณีประกาศไม่สนับสนุนเผด็จการ แต่จะเข้าร่วมรัฐบาลคงเป็นเรื่องน่าอายเพราะเคยอวดอ้างเป็นพรรคการเมืองที่ยึดมั่นอุดมการณ์มาตลอด ซึ่งตอนนั้นหลายคนในพรรคประชาธิปัตย์ออกมาเห็นแย้งว่า การประกาศจุดยืนเป็นความเห็นส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ไม่ใช่มติของพรรคแต่อย่างใด ซึ่งเรื่องทำให้นายอภิสิทธิ์ ต้องประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเปิดทางให้พรรคเข้าร่วมรัฐบาล

 

 

จากนั้นต่อมาภาพของนายอภิสิทธิ์แทบจะเลือนหายไปจากประชาธิปัตย์ หลังจากนายจุรินทร์ขยับขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค แม้กระทั่งกลุ่มแกนนำ ส.ส.ที่เป็นฝั่งของนายอภิสิทธิ์ เริ่มถูกลดบทบาทในพรรคประชาธิปัตย์ อาทิ นายเทพไท เสนพงศ์ นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์ นายสาธิต ปิตุเตชะ นายศิริโชค โสภา ฯลฯ และปัจจุบันแกนนำบางคนย้ายออกจากพรรคประชาธิปัตย์โดยไปช่วยงานลุงตู่ที่รวมไทยสร้างชาติ

มาถึงครั้งนี้นายอภิสิทธ์ กำลังถูกทาบทามนั่งในตำแหน่ง ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อช่วยพรรคกอบกู้ชื่อเสียง และกระชากเรตติ้งให้ประชาธิปัตย์กลับมายิ่งใหญ่ในสถานการณ์การเมืองปี 66 ที่กำลังเดินหน้าสู่โหมดเลือกตั้งในวันที่ 7 พฤษภาคม ดังนั้นการประกาศจุดยืนของนายอภิสิทธิ์ในคำรบที่สองคาดว่าจะส่งแรงกระเพื่อมต่อพรรคประชาธิปัตย์อย่างแน่นอน

 

เรืองนี้เป็นโจทย์ที่นายจุรินทร์จะต้องไปจับเข่าพุดคุยกับนายอภิสิทธิ์ถึงบทบาทและท่าทีในการร่วมถือธงนำ เพราะบทเรียนที่ผ่านมาน่าจะทำให้ประชาธิปัตย์ รู้ซึ้งถึงทุกสถานการณ์ว่า การกลับมาของนายอภิสิทธิ์จะพาพรรคไปในทิศทางใดกันแน่ แม้ชื่อของนายอภิสิทธิ์ยังคงหอมหวานและดึงดูดบรรดาแฟนคลับเพียงใดก็ตาม.. แต่ในยุคสมัยที่การเมืองไทยเห็นผลประโยชน์เหนืออุดมการณ์เชื่อว่า ประชาธิปัตย์มีคำตอบในใจแล้วว่าจะวางนายอภิสิทธิ์ไว้ในจุดใด…?

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“อนุทิน” มอบ “ศุภชัย” เข้าพบ จุฬาราชมนตรี หารือ อำนวยความสะดวก ชาวไทยมุสลิม 8 พันคน เดินทางประกอบพิธีฮัจญ์
ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ "พระธรรมวชิรมุนี-พระธรรมวัชรบัณฑิต" ขึ้นเป็นรองสมเด็จฯ
สาธุ "สามเณร 8 ขวบ" สอบผ่าน "ปาติโมกข์" ท่องจบภายใน 55 นาที
สามีทะเลาะภรรยา แม่ยายฉุนขาด คว้ามีดแทงลูกเขยดับสลด เจ้าตัวเล่าหมดเปลือกถึงเหตุลงมือ
อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม นำ 4 ประกอบการรับกำจัดของเสียรายใหญ่ สำรวจกากสารเคมีในโกดังที่ถูกไฟไหม้ของโรงงานวินโพรเสส จ.ระยอง
ตม.ชลบุรี ปิดล้อมตรวจค้นแหล่งที่พักต่างด้าวลักลอบเข้าเมือง หนีภัยสงคราม
"รองปลัดคมนาคม" นำตรวจทางเดินเลื่อนอัตโนมัติ เชื่อมรถไฟฟ้าชมพู-ม่วง เสร็จพร้อมใช้แล้ว
เดือดร้อน ! ผู้รับเหมาทิ้งงานก่อสร้างถนน ทำชาวบ้านเดินทางลำบากหวั่นเกิดอุบัติเหตุ
“รทสช.” ขออย่าโยงปม “บุ้ง” เสียชีวิต เหมารวมต้องนิรโทษฯคดี 112 ซัดหาคนบงการ ยุยงคนทำผิดกม.
ครอบครัวสุดเศร้า รอรับศพ "ลูกชาย" แรงงานไทยในอิสราเอล หลังถูกจับเป็นตัวประกัน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น