พบซากดึกดำบรรพ์ “ปลาซีลาแคนธ์” ครั้งแรกในไทย

พบซากดึกดำบรรพ์ “ปลาซีลาแคนธ์” ครั้งแรกในไทย ที่ จ.มุกดาหาร และครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดอยู่ในยุครีเทเชียสตอนต้น

เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2566 เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีการเผยแพร่ข่าวน่ายินดี ในการค้นพบ ซากดึกดำบรรพ์ “ปลาซีลาแคนธ์” ที่ บ้านคำพอก อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร โดยถือได้ว่าเป็นการค้นพบครั้งแรกในประเทศไทย และครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และได้มีการคาดการณ์อายุซากดึกดำบรรพ์น่าจะมีอายุในยุครีเทเชียสตอนต้น

นักวิจัยจากศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยาร่วมกับคณะวิจัยชาวต่างชาติ สามารถระบุได้ว่า ซากดึกดำบรรพ์ที่พบเป็นปลาซีลาแคนธ์ในกลุ่มมอว์โซนิด แต่ด้วยข้อจำกัดของกระดูกที่พบเพียงชิ้นเดียวจึงไม่สามารถระบุรายละเอียดได้มากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม นี่คือหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ของซีลาแคนธ์ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เบื้อต้นได้คาดการณ์ว่า ซากดึกดำบรรพ์ของปลาซีลาแคนธ์ ในหมวดหินภูกระดึงตอนบน อายุครีเทเชียสตอนต้น เป็นกระดูกขากรรไกรส่วนล่าง รหัสตัวอย่าง PRC 160 อายุอายุในยุครีเทเชียสตอนต้น

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับ ปลาซีลาแคนธ์ (Coelacanth) เป็นปลาดึกดำบรรพ์ที่ดำรงชีวิตมาตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิก ในช่วงตอนกลางของยุคดีโวเนียน หรือประมาณ 393-382 ล้านปีที่แล้วและยังคงหลงเหลือมาถึงยุคปัจจุบัน ปลากลุ่มนี้มีลักษณะเด่นคือครีบที่มีลักษณะเป็นพู่เนื้อขนาดใหญ่ 4 ครีบ ซีลาแคนธ์กลุ่มมอว์โซนิดเป็นพวกที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดในช่วงตอนต้นของมหายุคมีโซโซอิก ในยุคไทรแอสซิกประมาณ 251-201 ล้านปีที่แล้ว

ต่อมาเมื่อเปลี่ยนเข้าสู่ในยุคจูแรสซิกตอนปลายประมาณ 163-145 ล้านปีก่อน พบว่าปลากลุ่มนี้เปลี่ยนแหล่งอาศัยไปอยู่ในทะเล และมีการเปลี่ยนแหล่งอาศัยกลับมาอยู่ในแหล่งน้ำจืดเมื่อเข้าสู่ยุคครีเทเชียสราว 145-66 ล้านปีที่แล้ว

ซีลาแคนธ์ของไทยตัวนี้เคยแหวกว่ายอยู่ในแม่น้ำโบราณร่วมกับฉลามน้ำจืดกลุ่มไฮโบดอนต์ (Hybodonts) ปลาน้ำจืดไทยอิกธิส (Thaiichthys buddhabutrensis) เต่ายักษ์บาซิโลคีลิส (Basilochelys macrobios) พญาจระเข้ชาละวัน (Chalawan thailandicus)

 

 

 

 

 

 

 

นอกจากนี้ ยังพบฟอสซิลของไดโนเสาร์กินเนื้อกลุ่มเมเทรียแคนโธซอริดอีกด้วย การค้นพบครั้งนี้จึงเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในหมดหินภูกระดึงของไทย และเพิ่มข้อมูด้านการกระจายทางบรรพชีวภูมิศาสตร์ของปลาโบราณกลุ่มนี้มากยิ่งขึ้น.

 

 

ขอบคุณข้อมูล/ภาพ  ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ศูนย์ข่าวภูมิภาค TOP NEWS ภาคอีสาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อัษฎางค์" แจงที่มาร้องเอาผิด "ดร.พอล" ยันแปลข้อความพบหมิ่นสถาบันฯ ไม่ได้บิดเบือนเนื้อหา
"อุทยานฯเขาใหญ่" รู้ตัวแล้วหนุ่มถือมีดบุกประชิดช้างป่า ลุยเอาผิด หลังคลิปว่อนโซเชียล
“พุทธิพงษ์” จี้ “รบ.” หยุดกม.เอ็นเตอร์เทนเมนต์ฯ เร่งมาตรการช่วยปชช. ลั่นปากท้องคนสำคัญกว่าบ่อน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) กุ้ยโจวพบ 'วังคริสตัล'อายุ 480 ล้านปีซุกซ่อนใต้พิภพ
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนแข่ง 'วิ่งส้นสูง' นานาชาติ เด็กไทยร่วมประชันฝีเท้า
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนฉลอง 2,500 ปี คลองใหญ่แห่งปักกิ่ง
ระทึก! "น้องหม่ำ" ลิงเลี้ยงหลุดกรง ไล่กัดเด็ก 2 คน หน้า-แขน-หัวโดนขย้ำเย็บ 14 เข็ม
สุดยื้อ เหยื่อปูนร่วงใส่รถพระราม 2 กระจกแตกยับ เสียชีวิตแล้ว
"อุตุฯ" เตือน 38 จังหวัด รับมือฝนถล่ม-ลมกระโชกแรง กทม.ร้อยละ 30 ของพื้นที่
เที่ยวบินครม.สัญจรระทึก เจออากาศแปรปรวนหนักลงจอดไม่ได้ ต้องบินกลับพิษณุโลก

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น