No data was found

“หน้าร้อน 2566” เตือนภัย 5 โรคติดต่อที่ต้องระวัง เช็คที่นี่

หน้าร้อน 2566

กดติดตาม TOP NEWS

"หน้าร้อน 2566" กรุงเทพมหานคร เตือนภัย 5 โรคติดต่อในช่วงฤดูร้อน อากาศร้อนแบบนี้อาจเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยในชีวิตประจำได้ง่าย เช็คก่อนที่นี่

“หน้าร้อน 2566” หน้าร้อนเดือนไหน ฤดูร้อน 2566 ฤดูร้อน ประเทศไทย เริ่มต้อนเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน ประจำปี 2566 กันแล้ว ทำให้ล่าสุดทางด้าน กรุงเทพมหานคร ได้ออกมาโพสต์ให้ข้อมูลความรู้ เตือนภัย 5 โรคติดต่อในช่วงฤดูร้อน พร้อมแนวทางป้องกัน ใครไม่อยากเจ็บป่วย ไม่สบาย รู้ก่อนเพื่อความสุขภาพที่ดีของร่างกาย ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

“หน้าร้อน 2566” โดยทางด้าน กรุงเทพมหานคร ได้โพสต์เตือนภัย 5 โรคติดต่อในช่วงฤดูร้อน ซึ่งสาเหตุโรคกลุ่มนี้เกิดจากการมีสุขนิสัยไม่ถูกต้อง ทั้งการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

ซึ่ง 5 โรคติดต่อในช่วงฤดูร้อน ได้แก่

  • โรคบิด

อาการของโรค ได้แก่ ท้องเสีย ถ่ายเหลว ร่วมกับมีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเบ่งเวลาถ่ายอุจจาระ มีอาการเหมือนถ่ายไม่สุด ในเด็กอาจพบอาการชักร่วมด้วย ผู้ป่วยที่มีอาการชัดเจนจะถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือมูกเลือด

  • อหิวาตกโรค

อาการของโรค ได้แก่ ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำอย่างมากโดยไม่มีอาการปวดท้อง บางรายอุจจาระขาวขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว บางครั้งมีคลื่นไส้ อาเจียน สูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วจนเกิดภาวะเป็นกรดในเลือด และการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ในรายที่รุนแรงน้อยอาจพบแต่อาการถ่ายเป็นน้ำ

หน้าร้อน 2566 หน้าร้อนเดือนไหน ฤดูร้อน 2566 ฤดูร้อน ประเทศไทย

  • โรคอุจจาระร่วง 

อาการของโรค ได้แก่ มักจะมีอาการอาเจียนนำมาก่อนจะเกิดอาการท้องเสีย อาจมีไข้ต่ำ ๆ และอาการปวดท้องร่วมด้วย

  • โรคอาหารเป็นพิษ

อาการของโรค ได้แก่ อาเจียนรุนแรง หรือถ่ายมากผิดปกติ (มากกว่า 8-10 ครั้งต่อวัน) มีไข้ ซึม ไม่มีแรง อ่อนเพลีย มือเท้าเย็น ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเกิน 6 ชั่วโมง หากเป็นเด็กเล็ก อาจมีอาการปากแห้ง ตาโหล ร้องให้แบบไม่มีน้ำตา

หน้าร้อน 2566 หน้าร้อนเดือนไหน ฤดูร้อน 2566 ฤดูร้อน ประเทศไทย

  • ไข้ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย

อาการของโรค ได้แก่ เริ่มจากมีไข้ต่ำและจะเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ปวดศีรษะ ไอแห้ง เบื่ออาหารและน้ำหนักตัวลด ปวดเมื่อยตามร่างกาย เซื่องซึม มีเหงื่อออก มีผื่นขึ้นบริเวณหน้าท้องหรือหน้าอก ปวดท้อง ท้องบวม ท้องเสียหรือท้องผูก หากไม่ได้รับการรักษาจะมีไข้อยู่นานถึง 2 – 3 สัปดาห์

วิธีการป้องกัน มีดังนี้

  • รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่
  • หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
  • ดื่มน้ำสะอาด
  • ล้างผักผลไม้ หลาย ๆ ครั้ง ก่อนรับประทาน
  • ล้างมือ ก่อนรับประทานอาหาร หรือปรุงอาหาร

หน้าร้อน 2566 หน้าร้อนเดือนไหน ฤดูร้อน 2566 ฤดูร้อน ประเทศไทย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : กรุงเทพมหานคร 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เครื่องบินขนส่งโบอิ้งลงจอดล้อไม่กาง ครูดทางวิ่งไฟลุก (คลิป)
มาเลเซีย เล็งใช้ การทูตอุรังอุตัง กระชับมิตรคู่ค้าน้ำมันปาล์ม
กกต.ซักซ้อมเลือกสว.สัปดาห์หน้า มั่นใจกม.คุมเข้มช่วยสกัดฮั้ว
แฉยับ "ณัฐชา" สส.ก้าวไกล แต่งตั้ง "ไมค์ ภาณุพงศ์ " นั่งที่ปรึกษาคกก.สวัสดิการสังคม แค่ 5 เดือนก่อนหนีหมายจับคดี 112
เมืองพัทยา ผนึกกำลังกรุงเทพมหานคร ร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว
ชาวบ้านแห่ทอดแหหวังได้ปลาจากน้ำหลากหลังฝนแรกเทไป 2 วัน เพื่อเลี้ยงครอบครัวสู้วิกฤติภัยแล้ง ตั้งแต่เช้ายันบ่ายได้ปลาไม่ถึง 2กิโล
"ประเสริฐ" สั่งตรวจสอบโครงการ "ดีอี" หลัง "ฐากร" ปูดส่อส่งกลิ่น ลั่นไม่ยอมให้มีทุจริตเกิดขึ้นแน่
จีน ปรากฏการณ์ ‘น้ำตกเมฆ’ ไหลอาบขุนเขาในฉงชิ่ง
จีน ทึ่ง! โรงงานรถอีวี Xiaomi ใช้หุ่นยนต์กว่า 700 ตัว ในการผลิต
จีน เฉิงตูเปิดตัว ‘รถไฟขบวนแพนด้า’ หนุนท่องเที่ยวจีน-ลาว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น