เตรียมชม “ดวงจันทร์เต็มดวง” ไกลโลกที่สุดในรอบปี 5-6 ก.พ. นี้

ดวงจันทร์เต็มดวง

"ดวงจันทร์เต็มดวง" ไกลโลกที่สุดในรอบปี ไมโครฟูลมูน (Micro Full Moon) NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เชิญชมปรากฏการณ์ธรรมชาติ 5-6 ก.พ. นี้

“ดวงจันทร์เต็มดวง” ดวงจันทร์ เต็มดวง ไกลโลกที่สุดในรอบปี ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด 2566 เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ทางด้านธรรมชาติที่ควรติดตามชมมากอีก 1 เหตุการณ์ เมื่อทางด้าน NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้เปิดเผยว่า คืนวันที่ 5 ถึง รุ่งเช้าวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 จะเกิดเหตุการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี นั่นเอง ติดตามเรื่องราวทั้งหมดนี้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยทางด้านเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ระบุข้อความว่า วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 01:30 น. จะเกิดปรากฏการณ์ ‘ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี’ หรือ ‘ไมโครฟูลมูน (Micro Full Moon)’ มีระยะห่างจากโลก 405,818 กิโลเมตร เวลาที่เหมาะสมในการสังเกตการณ์ คือช่วงเย็นวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:02 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ดวงจันทร์ เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อย

ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 27.3 วัน ในแต่ละเดือนจะมีทั้งวันที่ดวงจันทร์ใกล้โลกและไกลโลก ตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุด เรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 357,000 กิโลเมตร และตำแหน่งที่ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด เรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 406,000 กิโลเมตร

ดวงจันทร์เต็มดวง ดวงจันทร์ เต็มดวง ไกลโลกที่สุดในรอบปี ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด 2566

การที่ผู้คนบนโลกมองเห็นดวงจันทร์ เต็มดวงในคืนที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้หรือไกลโลกมีขนาดที่แตกต่างกัน นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

ทั้งนี้ ขณะที่ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งไกลโลกที่สุด หรือใกล้โลกที่สุด อาจไม่ใช่วันที่ดวงจันทร์ เต็มดวงก็ได้ แต่ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นวันที่ดวงจันทร์อยู่ในระยะทางที่ไกลโลกมากที่สุดและเป็นดวงจันทร์ เต็มดวงพอดีนั่นเอง

ดวงจันทร์เต็มดวง ดวงจันทร์ เต็มดวง ไกลโลกที่สุดในรอบปี ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด 2566

สำหรับปรากฏการณ์ ‘ดวงจันทร์ เต็มดวง ใกล้โลกที่สุดในรอบปี’ หรือ ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) จะเกิดขึ้นในคืนวันที่ 30 ถึง เช้าวันที่ 31 สิงหาคม 2566 นอกจากนี้ยังเป็นดวงจันทร์ เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน หรือ บลูมูน (Blue Moon) จึงเรียกว่า ซูเปอร์บลูมูน (Super Blue Moon) มีระยะห่างจากโลก 357,334 กิโลเมตร ช่วงเวลาดังกล่าวดวงจันทร์ เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย

ผู้สนใจสามารถติดตามข้อมูลปรากฏการณ์ดาราศาสตร์เพิ่มเติมได้ทางเฟซบุ๊กสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ที่ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ดวงจันทร์เต็มดวง ดวงจันทร์ เต็มดวง ไกลโลกที่สุดในรอบปี ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด ดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด 2566

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชัดมั้ยล่ะ! “ครูลิต้า” สมจริงที่สุด ตกน้ำตามแนวใบพัด แต่ไม่โดนใบพัดเรือดูด
"ถาวร" รับเกียรติ "สมาคมการศึกษาเอกชน สงขลา" เชิญเป็นประธานกิจกรรมวันครู ย้ำสำคัญผู้สร้างอนาคตของชาติ
"บิ๊กซี" ฉลองตรุษจีนอย่างยิ่งใหญ่ "เฮง เฮง รับปีมะเส็ง ช้อปครบจบที่บิ๊กซี" ขนทัพสินค้ากว่า 1,000 รายการ ลดสูงสุด 50%
"แพทยสภา" เอาจริง เริ่มลุยสอบ รพ.ตร.ส่งมอบข้อมูลชั้น 14 คาดมี.ค.รู้ผลถ้าเวชระเบียนมาครบ
ขนลุก! เสียงปริศนาผู้หญิง สั่งมิสแกรนด์ชุมพรโดดน้ำ ได้ยินทั้งเรือนับ 1 2 3
"ฉก.ราชมนู" แจงยังไม่พบตัว "หยาง เจ๋อ ฉี" จนท.ขึ้นป้ายเตือนทั่วแม่สอด ระวังโดนถูกหลอกทำงานแก๊งคอลฯ
มติกกพ.เสนอนายกฯ ดูแนวทางลดค่าไฟฟ้า ทำได้ทันที 17 สต.ต่อหน่วย เหลือ 3.98 บ.
บุกรวบ "หนุ่มหื่น" ลวงขืนใจ "เด็กชายวัย 15 ปี" ถ่ายคลิปลงโซเชียล-ปล่อยกลุ่มลับ
การเคหะแห่งชาติจับมือ 3 หน่วยงาน พัฒนาศักยภาพเพิ่มทักษะชาวชุมชนหวังสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี
นายกฯ เยือนยะลา พบปะผู้นำศาสนา 5 จังหวัด ย้ำรัฐบาลพร้อมสนับสนุน พี่น้องภาคใต้ทุกมิติ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น