ศิลปะตรงไหน “อัษฏางค์” จวกยับนิสิต ผู้บริหารจุฬาฯ ปล่อยนำตราพระเกี้ยว วางบันไดคนเดินเหยียบย่ำ

ศิลปะตรงไหน "อัษฏางค์" จวกยับนิสิต ผู้บริหารจุฬาฯ ปล่อยนำตราพระเกี้ยว วางบันไดคนเดินเหยียบย่ำ

จากกรณีที่เพจเฟซบุ๊ก คณะจุฬาได้โพสต์ภาพงานศิลปที่นำพระเกี้ยวมาวางบนหมอน จัดใส่พานและนำไปวางที่บันได พร้อมกับตั้งชื่อภาพว่า “ซุกไว้ใต้หมอนขนาดแปรผันตามพื้นที่” รวมทั้งยังบอกว่าให้สามารถติชมผลงานกันได้เหมือนเดิม แต่ปรากฏว่าไม่ได้มีกระแสตอบรับกับผลงานชิ้นนี้

 

 

ล่าสุดทางด้านนายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการ ได้โพสต์ภาพการแสดงงานศิลปะของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้นำสัญลักษณ์พระเกี้ยวมาวางแล้วมีอาหารหมาวางรอบ ๆ และมีแผ่นเอกสารแถลงการณ์ของสโมรสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีรองศาสตราจารย์ ดร.กุลลดา เกษบุญชู-มี้ด อดีตอาจารย์จุฬาฯ ที่ถูกฟ้องกรณีวิทยานิพนธ์ฉาวของณัฐพล ใจจริง ซึ่งเจ้าตัวเป็นที่ปรึกษา

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยนายอัษฏางค์ แสดงความเห็นต่องานศิลปะดังกล่าวว่า ศิลปะที่เหมือนการเอาภาพพ่อแม่ตัวเอง มาวางไว้บนบันได ให้คนเหยี่ยวย่ำ ไม่เชื่อลองเอาภาพพ่อแม่ตัวเอง มาสร้างงานศิลปะแบบนี้ดูได้ นักศึกษาหรือศิลปินบางคน คิดเอาเองว่านี่คือความศิวิไลซ์ในการแสดงออกทางการเมืองด้วยศิลปะ แต่คนทั่วไปรู้ว่า นี่คือการเปิดเผยตัวตนของคนหรือสถาบันที่ไร้ความศิวิไลซ์ สำหรับอารยชน การให้เกียรติผู้อื่นคือการให้เกียรติตนเอง และการดูถูกเหยียดหยามผู้อื่น คือการเปิดช่องให้คนอื่นดูถูกเหยียดหยามตนเอง

นายอัษฏางค์ระบุอีกว่า ถ้าคณาจารย์และผู้บริหารของจุฬาฯ แยกไม่ออกว่าอะไรคือความศิวิไลซ์ อะไรคือขยะ หรืออะไรคือส่งเสริมความเจริญรุ่งเรือง อะไรคือการทำลาย อะไรคือการย่ำยีสถาบันของตน อนาคตและความเป็นจุฬาฯ จะเป็นอย่างไร อนาคตของเยาวชนและอนาคตของชาติจะเป็นอย่างไร ถ้าอาจารย์และสถาบันการศึกษา ส่งเสริมนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้ทำลายทุกอย่างที่ดีงามของไทย ประชาธิปไตย สิทธิ เสรีภาพและความเท่าเทียมกัน คือการทำลายทุกอย่างที่เป็นไทยอย่างนั้นหรือ ปัญญาชนแยกแยะไม่ได้ ก็อย่ามีมันเลยสถาบันการศึกษาอันทรงเกียรติ์ เพราะเรื่องต่ำทรามแบบนี้ ไม่ต้องเรียนหนังสือมาก็ทำได้ งบประมาณหลายพันหลายหมื่นล้านเพื่อสถาบันการศึกษา เอาไปพัฒนาอย่างอื่นเถิด

 

 

 

 

ทั้งนี้จากการตรวจสอบของทีมข่าวท็อปนิวส์ พบว่า ผลงานศิลปะชิ้นดังกล่าวเป็นของ นางสาวเพชรนิล สุขจันทร์ นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาทัศนศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเจ้าตัวได้โพสต์ข้อความถึงผลงานศิลปะชิ้นดังกล่าวผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัวชื่อ Nam Ninz ว่า

“เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน” ความขัดแย้งกันของความหมายในสโลแกนสำคัญ ในโลกทุนนิยมที่จุฬาฯเองไม่ได้รับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง แต่จุฬาฯรับใช้ผู้มีอำนาจและนายทุน โดยเฉพาะผู้บริหาร ในขณะที่นิสิต ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมเพื่อสิทธิและผลประโยชน์ของตัวนิสิตเองและมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งสำคัญ เช่น เรื่องการรื้อถอนโรงภาพยนต์สกาล่า สิทธิการชุมนุมในรั้วมหาลัยไม่ใช่เรื่องผิด การไล่ที่ชุมชนสามย่าน รวมถึงการรื้อถอนประเพณีที่ล้าหลังอย่าการอัญเชิญพระเกี้ยว ซึ่งทุกๆอย่างเป็นสิ่งที่จุฬาฯไม่ยอมอนุมัติ เพิกเฉยและมักผิดคำสัญญาที่ให้ไว้ เพราะมันขึ้นอยู่กับผู้อยู่เบื้องหลังที่อาจจะไม่ใช่นิสิต แต่คือผู้ที่มีอำนาจ พร้อมติดแฮชแทก #เกียรติภูมิจุฬาฯคือเกียรติแห่งการรับใช้ประชาชน #ผลงานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาเรียนสามารถติชมกันได้เหมือนเดิมนิ้นเป็นมือใหม่หัด installed

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ขนลุก! มูลนิธิร่วมกตัญญู จัดโต๊ะจีนเชิญดวงวิญญาณตึกสตง.ถล่ม "หนุ่มกู้ภัย" ร้องลั่น "หิว ช่วยด้วย"
"เอกสิทธิ์" เผยมาตรฐาน-คุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ ปัจจัยสำคัญสร้างเชื่อมั่นความปลอดภัย รองรับพิบัติภัยในอนาคต
"รมว.ท่องเที่ยว" ระดมภาครัฐ-เอกชน ถกปัญหาความปลอดภัย ฟื้นภาพลักษณ์เที่ยวไทย หลังเจอกระแสข่าวด้านลบ
นาทีชีวิต! ส่งเฮลิคอปเตอร์ EC-725 ช่วยผู้ป่วยวิกฤต ส่งถึงมือแพทย์ได้ทันเวลา
วธ. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระกุศล "เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ" วันคล้ายวันประสูติ
"สก.นภาพล" ซัดกระทู้ถาม "กทม." เมื่อไหร่จะจ่ายคืนหนี้ BTS ย้ำดอกเบี้ยเพิ่มวันละ 4.5 ล้าน แฉฟาดรายได้ค่าโดยสาร 3 เดือน กว่า 2 พันล้าน แต่ให้เอกชนแบกภาระวิ่งรถไฟฟ้า
จีนสั่งยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าบางประเภทจากสหรัฐ
"รองผอ." คดีฮั้วประมูล เผย "3 วิศวกร" รับลงชื่อตรวจงานสร้างตึกสตง.จริง เร่งสอบลายมืออีก 7 ราย ยังปฏิเสธ
"นายกฯ" รับมอบเงิน 5 ล้าน มูลนิธิเรนวูด ช่วยผู้ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว
"อดีตผู้พิพากษา" ชี้ตรง ป.ป.ช.-อสส.ไม่ทำหน้าที่โจทก์ เหตุศาลฎีกาฯ ต้องออกโรงไต่สวนเอง "ทักษิณ"ไม่ติดคุกจริงตามคำพิพากษา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น