No data was found

“ชลน่าน” ซัด “นายกฯ” ไม่เห็นหัวปชช. ตั้ง “พีระพันธุ์” นั่งเลขานายกฯ

กดติดตาม TOP NEWS

นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการแต่งตั้ง นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งที่ดำรงตำแหน่งในฐานะหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ ว่า การแต่งตั้งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สามารถทำได้ ไม่มีกฎหมายใดมาห้ามว่าควรหรือห้ามแต่งตั้งใคร โดยเฉพาะหัวหน้าพรรคการเมือง แต่ถามว่าเหมาะสมหรือไม่ ตั้งไปเพื่อการใดนี่คือคำถาม อายุของสภาฯ มีถึงวันที่ 23 มีนาคม 2566 การเปลี่ยนแปลงบุคลากรของรัฐโดยเฉพาะฝ่ายการเมืองในเวลาแบบนี้ โดยสามัญสำนึกทุกคนก็รู้ว่าไม่เหมาะสม โดยเฉพาะตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีคนเดิม เป็นคนมีความรู้ ความสามารถ มีผลงาน ทุกคนยอมรับ วัตถุประสงค์การแต่งตั้งครั้งนี้ตนเชื่อว่าไม่เกี่ยวกับหน้าที่การงาน แต่มองถึงความไม่เหมาะสมเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองหรือไม่ เป็นการเอื้อพรรคที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะไปอยู่ด้วยหรือไม่ การทำแบบนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่เห็นหัวประชาชน เป็นการใช้อำนาจและหน้าที่เอาเปรียบทางการเมือง ของพรรคตัวเองที่จะไปสังกัดนี้ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง

ส่วนจะเข้าข่ายครอบงำหรือชี้นำพรรคการเมืองหรือไม่นั้น หากสมาชิกพรรค กรรมการบริหารพรรค ยินยอมให้บุคคลภายนอกมาครอบงำชี้นำในการทำกิจกรรมพรรคการเมืองไม่ว่าทางตรงหรืออ้อมถือเป็นการครอบงำ โดยเฉพาะทำให้สมาชิกขาดความอิสระในการทำกิจกรรมทางการเมือง การตั้งหัวหน้าพรรคมาเป็นเลขานายกมนตรี เป็นกิจกรรมของพรรคการเมืองหรือไม่ต้องไปดูตามข้อกฎหมาย หากนำตำแหน่งเลขา ไปให้หัวหน้าพรรคการเมือง มีบทบาทหน้าที่อำนาจที่เกี่ยวเนื่องกับพรรคการเมือง และกิจกรรมพรรคการเมือง

ข่าวที่น่าสนใจ

“นายพีระพันธุ์ ได้รับตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และใช้ตำแหน่งหน้าที่ไปเอื้อประโยชน์ หรือทำอะไรที่เกี่ยวกับพรรคการเมือง เรื่องนี้ไม่สามารถแยกออกได้ ก็จะเข้าสู่ข้อกฎหมายตีความว่าเป็นไปเพื่อกิจกรรมของพรรคการเมือง ถือว่าครอบงำและชี้นำจากบุคคลภายนอก”

เมื่อถามถึงความคืบหน้าในการยื่นญัตติอภิปรายทั่วไป ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล นพ.ชลน่าน เผยว่า ฝ่ายค้านทำจะเสร็จเรียบร้อย วันที่ 26 ธันวาคม เป็นการตรวจสอบครั้งสุดท้ายว่าแต่ละพรรคต้องการเปลี่ยนแปลงแก้ไขอะไรหรือไม่ คาดว่าจะยื่นหลัง วันที่ 27-28 ธันวาคม หลังผ่านกระบวนการของรัฐสภา สภาฯ จะสอบถามไปที่รัฐมนตรีที่ถูกอภิปราย และจะต้องตอบภายใน 3-4 สัปดาห์ รวมทั้งต้องปรึกษาหารือวิปสามฝ่าย ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล และคณะรัฐมนตรี คาดว่าจะได้อภิปรายช่วงกลางเดือนมกราคม 2566 สภาฯ น่าจะยังอยู่

“การอภิปรายทั่วไปตามมาตรา 152 ไม่มีข้อกฎหมายใดมาห้ามยุบสภาฯ แต่หาก พล.อ.ประยุทธ์ เห็นญัตติที่เรายื่นต่อสภาฯ แล้ว และยุบสภาฯ นั่นหมายความว่าคุณหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจทั่วไป เรื่องนี้น่าอายกว่าหนีการตรวจสอบ แสดงว่าปิดกั้นการตรวจสอบเพื่อปิดบังซ่อนเร้นในสิ่งที่พรรคร่วมฝ่ายค้านจะนำมาเปิดเผยต่อประชาชนในสภาฯ”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นายอำเภอบางละมุง เตือนประชาชนและผู้ประกอบการ ระวังมิจฉาชีพ หลังถูกปลอมไลน์ เตรียมรวบรวมหลักฐานดำเนินคดีขั้นเด็ดขาด
กล้องหน้ารถจับภาพ! รถทัวร์เบียดจักรยานทำนักท่องเที่ยวต่างชาติแขนหัก
นักเรียนภาคเหนือแห่สมัคร "Kid Dee camp" ล้นหลาม "สนง.สลากฯ-มูลนิธิยังมีเรา" จัดเต็ม เปิดรับจำนวนเด็กค่ายเพิ่มเท่าตัว ขยายโอกาส แบ่งปันการเรียนรู้
“กบน.” ขยับขึ้นราคาดีเซล 50 สต.ต่อลิตร ดันขายปลีกทะลุลิตรละ 31.44 บาท
รมต.-ทูตอิสราเอล รุมสับ-แซะไบเดน หลังขู่หยุดส่งอาวุธ
"สุดาวรรณ" เข้าปฏิบัติงานกระทรวงวธ.วันแรก ผลักดันวัฒนธรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ตั้งเป้า 1 ภาค 1 มรดกโลก
วิเคราะห์แล้ว คลิปโดรนปริศนาล้วงตับเรือรบญี่ปุ่น ของจริง (คลิป)
คนชลบุรี ค้านเลือกตั้งซ่อม สจ.เขต 5 ศรีราชา หลังสจ.คณะก้าวหน้าลาออก ชี้รัฐต้องเสียงบ 3 ล้าน
อัปเดตล่าสุด คุมเพลิงได้แล้ว เหตุไฟไหม้ถังเก็บสารเคมี นิคมอุตฯมาบตาพุด
จีน ทัวร์ชิมของอร่อยดันธุรกิจอาหารเติบโตช่วงหยุดยาว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น