ลากไส้พฤติกรรม “เจี๊ยบ ก้าวไกล” ก่อนติดโควิดที่เยอรมัน จุดไฟเผาบ้านตัวเอง

ลากไส้พฤติกรรม “เจี๊ยบ ก้าวไกล” ก่อนติดโควิดที่เยอรมัน จุดไฟเผาบ้านตัวเอง ฟ้องปัญหา 112 อ้างไทยละเมิดสิทธิมนุษยชน ขับไล่ผู้ลี้ภัยเมียนมา แถมจี้ต่างชาติกดดันแผ่นดินเกิด

จากกรณีที่นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.พรรคก้าวไกล เปิดเผยว่าตนเองติดโควิด-19 หลังกลับจากเยอรมนี ซึ่งงานนี้ชาวเน็ตบางส่วนถึงขั้นเป็นกำลังให้กับกับโควิด-19

ทั้งนี้เรามาย้อนตรวจสอบว่า นางอมรัตน์เดินทางไปเยอรมนีเพื่อไปทำอะไร โดยนางอมรัตน์ได้เปิดเผยผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า ได้เดินทางไปเยอรมนีในฐานะคณะกรรมาธิการพัฒนาการเมืองการสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาฯ ร่วมกับ นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานกรรมาธิการ และกรรมาธิการคนอื่นๆ ตามคำเชิญของมูลนิธิฮันส์ ไซเดล ที่เชิญและสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเดินทางไปเยอรมนี ระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน ถึงวันที่ 4 ธันวาคม เพื่อประชุมร่วมและศึกษาดูงานระบอบสหพันธรัฐและระบบนิติบัญญัติ

จากนั้นนางอมรัตน์ ได้โพสต์อัพเดตความเคลื่อนไหวผ่านทวิตเตอร์ภารกิจของตัวเองและกรรมาธิการที่เยอรมนีทุกวัน เริ่มตั้งแต่ 29 พฤศจิกายน ช่วงเช้าประชุมกับรองประธานสภาผู้แทนฯ ที่รัฐสภาแห่งมลรัฐบาวาเลีย ช่วงบ่ายกับประธานมูลนิธิฮันส์ ไซเดลและสมาชิกรัฐสภายุโรป ร่วมศึกษาแลกเปลี่ยนปัญหาระบบเลือกตั้ง รวมทั้งแลกเปลี่ยนสถานการณ์ทางการเมืองเรื่องระดับพัฒนาการประชาธิปไตยในประเทศไทย

ข่าวที่น่าสนใจ

29 พฤศจิกายน ช่วงเช้านางอมรัตน์และกรรมาธิการ ได้เข้าเยี่ยมชมรัฐสภาของมลรัฐบาวาเลียก่อนร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการรัฐธรรมนูญกฎหมายและการปรับปรุงงานรัฐสภาแห่งมลรัฐ

ต่อมาวันที่ 1 ธันวาคม นางอมรัตน์โพสต์ภาพพร้อมระบุข้อความว่า ส.ส.จากเมืองมิวนิค ชวนสนทนาเรื่องที่เข้าใจตรงกัน ในงานเลี้ยงอาหารค่ำตามคำเชิญสถานทูตไทยกรุงเบอร์ลิน เยอรมนีทั้งนี้ก็มีผู้เข้ามาสอบถามนางอมรัตน์ว่า ได้เล่าเรื่อง 112 ให้สมาชิกรัฐสภาเยอรมันฟังด้วยหรือไม่ ซึ่งนางอมรัตน์ก็ได้ตอบว่า เล่าค่ะ ไม่พลาดอยู่แล้ว

จากนั้นวันที่ 2 ธันวาคม นางอมรัตน์และกรรมาธิการได้ประชุมร่วมกับกรรมาธิการเพื่อปฎิรูปการเลือกตั้งและความทันสมัยของกิจการสภาผู้แทนราษฎรเยอรมนี โดยเปิดเผยว่า ตนเองได้บอกเล่าถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในไทย -การสลายการชุมนุมอย่างผิดกฎหมาย -การรัฐประหาร -การผลักดันผู้ลี้ภัยเมียนมาร์ในไทยต่อผู้แทนกระทรวงต่างประเทศเยอรมนีในช่วงแลกเปลี่ยนสถานการณ์ทางการเมือง

 

นางอมรัตน์ ยังเปิดเผยว่า ตนเองได้สอบถาม ดร.Rainer Grote แห่งสถาบัน Max Planck ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายมหาชนและกฎหมายระหว่างประเทศถึงมาตรการการกดดันจากภายนอก และบทลงโทษต่อประเทศไทยที่ลงนามไว้ แต่ไม่ปฎิบัติตามพันธสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนสากลกรณีการละเมิดผู้ใช้สิทธิชุมนุม และผลักไสผู้ลี้ภัยเมียนมาร์

ก่อนที่ล่าสุดวันนี้เจ้าตัวจะโพสต์ภาพตัวเองรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล เพราะติดโควิด-19

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"โฆษกกองทัพบก" แจงกมธ.มั่นคง ยืนยัน ทบ. ไม่มี IO ปัดทำเพจด้อยค่า "นักการเมือง" ย้ำหากเจอแจ้งดำเนินคดีได้เลย
"พิพัฒน์" ร่วมวันแรงงานฯ มอบของขวัญ โครงการ “ทุนอาชีพ”ดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 1.2 แสนล้าน เอื้อนายจ้าง-ลูกจ้าง สร้างโอกาส อาชีพใหม่ เพิ่มรายได้
"ไทย-กัมพูชา" ประชุมจีบีซี ครั้งที่ 17 สานสัมพันธ์ 2 ประเทศ ส่งเสริมเศรษฐกิจ ใช้มาตรการเข้มแนวชายแดน ร่วมมือแก้ปัญหาคอลเซ็นเตอร์
"เบนซ์ เรสซิ่ง" แจ้งจับมือดีตัดต่อคลิป ชักชวนเล่นพนัน
ตร.จ่อแจ้ง 2 ข้อหาหนัก "ผอ.รพ." เมาซิ่งชน "2 ผู้ช่วยช่างภาพทีวี" เจ็บสาหัส
"เครือข่ายปชช." ยื่นหนังสือถึงกองทัพ ก่อนประชุม GBC แนะเจรจาปมเขตแดนก่อน ขอรบ.ยึดมั่นประโยชน์ประเทศ
ไฟไหม้ตลาดเสื้อผ้าชื่อดังกลางเมืองหลวงจอร์เจีย
“พล.ท.นันทเดช” ชี้กฎกรรมเริ่มทำงาน คนผิดไม่มีทางหลุดพ้น เชื่อไม่รอดถึงตั้งกาสิโน
ปชช.หลั่งไหลวัดโสธรพาครอบครัวขอพรวันแรงงาน
ผู้การแปดริ้ว มอบใบประกาศเกียรติการปฏิบัติงานดีเด่นด้านงานปราบปรามสถานีตำรวจภูธรแสนภูดาษ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น