logo

นักวิจัยไทย พบ 4 “สัตว์ชนิดใหม่” ของโลก ในจ.นครราชสีมา (คลิป)

สัตว์ชนิดใหม่, นครราชสีมา, มด, มดชุติมา, โคพีพอด, สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช, แตนเบียน, แมลง, ความหลากหลายทางชีวภาพ, ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่, แตนเบียนปิยะ, แตนเบียนสะแกราช, นักวิจัยไทย, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ข่าวดี นักวิจัยไทย ค้นพบ 4 "สัตว์ชนิดใหม่" ของโลก ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จ.นครราชสีมา บ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ในพื้นที่

ข่าวดี! นักวิจัยไทยค้นพบ 4 “สัตว์ชนิดใหม่” ของโลก ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จ.นครราชสีมา บ่งชี้ถึงความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

 

 

 

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เผยข่าวดี! เมื่อนักวิจัยไทยค้นพบ 4 “สัตว์ชนิดใหม่” ของโลก ในพื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จ.นครราชสีมา ได้แก่

  • มดชุติมา
  • แตนเบียนปิยะ
  • แตนเบียนสะแกราช
  • โคพีพอด

บ่งชี้ถึงความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ พร้อมผนึกกำลังความร่วมมือระหว่าง วว./อพวช. ร่วมศึกษา วิจัย และถ่ายทอดความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม นิเวศวิทยาป่าเขตร้อน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพให้ยั่งยืน

 

 

 

4 “สัตว์ชนิดใหม่” ของโลก

1. มดชุติมา

 

 

 

สัตว์ชนิดใหม่, นครราชสีมา, มด, มดชุติมา, โคพีพอด, สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช, แตนเบียน, แมลง, ความหลากหลายทางชีวภาพ, ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่, แตนเบียนปิยะ, แตนเบียนสะแกราช, นักวิจัยไทย, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

 

 

 

  • ค้นพบบริเวณยอดไม้สูงประมาณ 25-30 เมตร ในป่าดิบแล้งที่ค่อนข้างสมบูรณ์ในพื้นที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช
  • ดำเนินงานภายใต้โครงการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพของมดบนเรือนยอดไม้ บริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา
  • เพื่อเป็นเกียรติแก่ วว. และท่านผู้ว่าการ วว. ในฐานะเป็นหน่วยงานดูแลพื้นที่และสนับสนุนงานวิจัยทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพอย่างแข็งขัน จึงได้ตั้งชื่อมดชนิดใหม่ว่า มดชุติมา มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepisiota chutimae Jaitrong, Waengsothorn et Buddhakala, 2022
  • ลักษณะเด่น

– สีเหลืองทองตลอดทั้งตัว (ท้องมีสีเข้มกว่าอกเล็กน้อย)

– ผิวตัวเรียบเป็นเงามัน

– ท้ายส่วนอกและเอวมีหนามแหลม

  • มดชนิดนี้เป็นดัชนีบ่งชี้ความสมบูรณ์ของป่าดิบแล้งสะแกราชได้อีกทางหนึ่ง
  • ในประเทศไทยมีมดในสกุล Lepisiota จำนวน 8 ชนิด อาศัยอยู่บนดิน ยกเว้นเพียง มดชุติมา เท่านั้นที่ปรับตัวขึ้นไปอาศัยอยู่บนต้นไม้
  • เหตุผลในการปรับตัวที่แปลกไปจากมดชนิดอื่นในสกุลเดียวกันนักวิจัยอยู่ระหว่างค้นหาคำตอบ

 

 

 

 

 

 

2. แตนเบียนปิยะและแตนเบียนสะแกราช

 

 

 

สัตว์ชนิดใหม่, นครราชสีมา, มด, มดชุติมา, โคพีพอด, สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช, แตนเบียน, แมลง, ความหลากหลายทางชีวภาพ, ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่, แตนเบียนปิยะ, แตนเบียนสะแกราช, นักวิจัยไทย, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

 

 

 

  • ค้นพบบริเวณป่าดิบแล้งของสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564 ด้วยกับดักเต็นท์ หรือ Malaise Trap มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Physaraia sakaeratensis Chansri, Quicke & Butcher, 2022
  • ลักษณะเด่น ที่แตกต่างจากแตนเบียนสกุล Physaraia ชนิดอื่น ได้แก่

– หนามคู่ที่ส่วนท้องของลำตัวมีสีดำ ในขณะที่ชนิดอื่นหนามบริเวณนี้จะเป็นสีเดียวกับลำตัว

– โดยบริเวณปลายของส่วนท้องที่มีหนาม คาดว่าจะช่วยในการวางไข่ของแดนเบียนเพศเมีย

  • แตนเบียนเป็นแมลงในอันดับ Hymenoptera เช่นเดียวกันกับผึ้ง ต่อ และแตนชนิดอื่น ๆ
  • อวัยวะวางไข่ของแตนเบียนเพศเมียไม่ได้มีไว้สำหรับต่อย แต่มีไว้ใช้วางไข่ในแมลงให้อาศัย (host) เมื่อแตนเบียนเพศเมียวางไข่แล้ว ตัวหนอนของแตนเบียนจะกัดกินแมลงให้อาศัยเป็นอาหาร ก่อนจะเจริญเป็นดักแด้และแตนเบียนตัวเต็มวัยต่อไป
  • ด้วยความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันระหว่างแตนเบียนและแมลงให้อาศัย ทำให้แตนเบียนหลายชนิดถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมประชากรของแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี (biological control)

 

 

 

4. โคพีพอด (Copepods)

 

 

 

สัตว์ชนิดใหม่, นครราชสีมา, มด, มดชุติมา, โคพีพอด, สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช, แตนเบียน, แมลง, ความหลากหลายทางชีวภาพ, ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่, แตนเบียนปิยะ, แตนเบียนสะแกราช, นักวิจัยไทย, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

 

 

 

  • ค้นพบบริเวณถ้ำงูจงอาง สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช เป็นพื้นลำธารที่เป็นลานหิน มีแอ่งน้ำนิ่งสลับกับน้ำไหล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Metacyclops sakaeratensis Athibai,Wongkamhaeng & Boonyanusith, 2022
  • ลักษณะเด่น

– ปลายของขาว่ายน้ำคู่ที่ 4 มี spine 1 อัน

– ด้านข้างของ caudal ramus มีหนาม

– ปล้องสืบพันธุ์มีร่องตามขวางทางด้านหลัง

  • มีลักษณะคล้ายกับเครือญาติจากกัมพูชา แต่ชนิดจากกัมพูชาไม่มีปล้องสืบพันธุ์มีร่องตามขวางทางด้านหลัง
  • โคพีพอดเป็นหนึ่งในแพลงก์ตอนสัตว์ ที่มีความสำคัญในระบบนิเวศแหล่งน้ำ มีความหลากหลายของสายพันธุ์สูง

 

 

 

 

ข้อมูล : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

29 กรกฎาคม "วันภาษาไทย" วันภาษาไทยแห่งชาติ มีความสำคัญอย่างไร เรื่องที่ควรรู้
รวบผัวเมียแก๊งคอลเซ็นเตอร์ รวบคาสถานีรถไฟ ลวงเหยื่อลงทุนซื้อขายสกุลเงินดอลล่าร์ 
อ่วมหนัก "พายุถล่ม จ.ตราด" คลื่นซัดเรือล่มหลายลำ ในท่าเทียบบ้านคลองมะขาม
"ดร.สามารถ" ถามตรงๆ รัฐอุ้มเอกชน ขยายสัมปทาน "ด่วนโทลเวย์" 2 ครั้ง 20 ปี ยังไม่พออีกเหรอ แนะมีวิธีแก้ปัญหาอื่นดีกว่า
ระวังพลาดสิทธิ “คารม” แนะ 5 ช่องทาง ยืนยันตัวตนแอปฯ “ทางรัฐ” สะดวก ปลอดภัย ประหยัดเวลา
รับมือหน้าฝน "กรมชลฯ" ยันอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ รับน้ำได้อีกมาก
"ตร.น้ำ-ประมงพื้นบ้าน" ล่า "ปลาหมอคางดำ" หลังพบอยู่ในสระน้ำกลางวัดสว่างอารมณ์
"กรมเจ้าท่าฯ" จัดล่องเรือฟรี รับส่งปชช.ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ "ในหลวง"
"นิด้าโพล" เปิดผลสำรวจ ปชช. เผย "ทักษิณ - เนวิน - ธนาธร" ผู้มีบารมีนอกพรรคการเมือง
เช็กเลย "ขสมก." จัดรถเมล์ฟรี 5 เส้นทาง ชมเห่เรือพระราชพิธี-จุดเทียนถวายพระพร "ในหลวง"

ดู LIVE รายการ

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น