“วาฬบรูด้า” วาฬอำแพง 3,380 ปี ขึ้นทะเบียนเป็นซากดึกดำบรรพ์

วาฬบรูด้า, วาฬอำแพง, บ้านแพ้ว, ซากดึกดำบรรพ์, กรมทรัพยากรธรณี, พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551, ฟอสซิลวาฬบรูด้า, โครงกระดูกวาฬอำแพง, กระดูกวาฬ

ฟอสซิล "วาฬบรูด้า" วาฬอำแพง บ้านแพ้ว ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นซากดึกดำบรรพ์ พบสภาพเกือบสมบูรณ์ มีอายุมากถึง 3,380 ปี

“วาฬบรูด้า” ฟอสซิล วาฬ อำ แพง แห่งอดีตทะเลบ้านแพ้ว ประกาศขึ้นทะเบียนซากดึกดำบรรพ์แล้ว หลังถูกค้นพบใต้ผืนดิน ห่างจากทะเล 15 กิโลเมตร เมื่อปี 2563 ที่ผ่านมา ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมา กรมทรัพยากรธรณี เผย ฟอสซิลวาฬบรูด้า วาฬอำแพง ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นซากดึกดำบรรพ์อย่างเป็นทางการ จำนวน 141 ชิ้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 มีอายุถึง 3,380 ปี

 

 

 

วาฬบรูด้า, วาฬอำแพง, บ้านแพ้ว, ซากดึกดำบรรพ์, กรมทรัพยากรธรณี, พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551, ฟอสซิลวาฬบรูด้า, โครงกระดูกวาฬอำแพง, กระดูกวาฬ

 

 

 

วาฬอำแพง ถูกค้นพบโดยนายจิตติ วัฒนสินธุ์ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ที่บ้านคลองหลวง ตำบลอำแพง อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ใต้ผืนดิน ห่างไกลทะเล 15 กิโลเมตร เป็นหลักฐานสำคัญว่าบ้านแพ้วเคยเป็นทะเลมาก่อน

 

 

โดยมีบริษัท ไบรท์ บลู วอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครอง  ได้มอบให้กับกรมทรัพยากรธรณี เพื่อนำไปศึกษาวิจัยต่อ ซึ่งปัจจุบันวาฬอำแพงเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี

 

 

 

วาฬบรูด้า, วาฬอำแพง, บ้านแพ้ว, ซากดึกดำบรรพ์, กรมทรัพยากรธรณี, พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551, ฟอสซิลวาฬบรูด้า, โครงกระดูกวาฬอำแพง, กระดูกวาฬ

 

 

 

 

 

 

ทั้งนี้ โครงกระดูกวาฬอำแพง ถูกพบใต้ผืนดินห่างจากทะเลถึง 15 กิโลเมตร พร้อมสัตว์ทะเลอื่น ๆ อาทิ

  • ฟันฉลาม
  • ฟันกระเบน
  • เปลือกหอย
  • ปูทะเล
  • เพรียงทะเล

เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นว่า ในอดีตบ้านแพ้วเคยเป็นทะเลมาก่อน จึงได้ตั้งชื่อว่าวาฬอำแพง ซึ่งมีอายุถึง 3,380 ปี คาดว่าอยู่ในช่วงยุคโฮโลซีนตอนปลาย

 

 

 

วาฬบรูด้า, วาฬอำแพง, บ้านแพ้ว, ซากดึกดำบรรพ์, กรมทรัพยากรธรณี, พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551, ฟอสซิลวาฬบรูด้า, โครงกระดูกวาฬอำแพง, กระดูกวาฬ

 

 

อย่างไรก็ตาม ชิ้นส่วนกระดูกวาฬที่ค้นพบ มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ พบส่วนสำคัญครบเกือบ 80-90% สะสมอยู่ในตะกอนดินเหนียวทะเลโบราณ เป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ถึงการรุกของน้ำทะเลเข้ามาในแผ่นดินเมื่อหลายพันปีก่อน อีกทั้งสามารถศึกษาประวัติและวิวัฒนาการของวาฬและสัตว์ทะเลในอดีต และได้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพจากการพบซากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ร่วมกับวาฬอีกด้วย

 

 

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : คลิกที่นี่

 

 

 

ข้อมูล : กรมทรัพยากรธรณี และ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

รูปภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ม.นเรศวร" สั่งเลิกจ้าง "ดร.พอล" โดนร้องทำผิดคดี 112 ตม.ยึดหนังสือเดินทาง เหตุถูกเพิกถอนวีซ่า
สศร. เผยโฉมทัพศิลปินไทย-ต่างชาติกลุ่มสอง 15 ศิลปิน "กลุ่มศิลปิน" ร่วมสร้างสรรค์งานศิลปะร่วมสมัยในงาน Thailand Biennale, Phuket 2025
"มหาดไทย" ขับเคลื่อนจัดรูปที่ดินนราธิวาส สุไหงโก-ลก พลิกโฉมเมืองชายแดน สู่การเติบโตที่ยั่งยืน
ยังไม่จบ "มาดามเมนี่" อัปเดตยังได้ของคืนไม่ครบ ยื่นคำขาด 10 วัน ลั่นขอเจรจา "ดิว อริสรา" ปมยืมของหรู
เปิดปฏิบัติการ "FOX Hunt" ทลายแก๊งหลอกลงทุน FOX Wallet ปลอม รวบ 8 สมาชิกจีนดำ-ไทยดำ ยึดทรัพย์กว่า 3 ล้านบาท
"บิ๊กต่าย" สั่งสอบ ตร.พาผู้ต้องหา ลักลอบนำข้อสอบฯ ออกจากโรงพัก ย้ำใครผิดว่าไปตามผิด
กรุงไทยนำเทรนด์! จับมืออินฟลูฯสายท่องเที่ยว สร้างปรากฏการณ์ TOURIST สู่ TOURICH ผ่าน Krungthai Travel Debit Card
สสจ.มุกดาหาร ยืนยันพบผู้ติดเชื้อ "แอนแทรกซ์" เพิ่ม 1 ราย รอผลตรวจกลุ่มเสี่ยงอีก 3 ราย
TPIPL จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568
เพราะทะเลคือชีวิต ซีพีร้อยเรียงความดีผนึกชุมชน ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 76 ล้านตัว สร้างความยั่งยืนให้ชายฝั่งตราด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น