เตือน! อินโดนีเซียอาจเจอโควิดกลายพันธุ์ที่แรงกว่าเดลต้า

ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกต่างจับตามองอินโดนีเซีย เตือนหากยังคุมการแพร่ระบาดของโควิดไม่ได้ อาจมีเชื้อกลายพันธุ์ของตัวเอง และรุนแรงกว่าเดลต้า

สำนักข่าวอัลจาซีราห์ รายงานว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อทั่วโลกเตือนว่า ความเร็วและขนาดของการระบาดของโควิดในอินโดนีเซียเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ชั้นดีของเชื้อสายกลายพันธุ์ตัวใหม่ ที่แพร่กระจายได้เร็วกว่าและอันตรายกว่าสายพันธุ์เดลตา

สัปดาห์ที่แล้ว อินโดนีเซียแซงหน้าอินเดียและบราซิลขึ้นเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อรายวัน
สูงที่สุดในโลก และเมื่อวันพฤหัสบดี (22 ก.ค.)อินโดนีเซียมีผู้ติดเชื้อกว่า 49,500 ราย
และเสียชีวิตอีก 1,449 ราย

ดิกกี บูดิแมน นักระบาดวิทยาชาวอินโดนีเซียที่กำลังวิจัยสายพันธุ์ Covid-19
ที่มหาวิทยาลัยกริฟฟิธของออสเตรเลียเผยว่าสายพันธุ์ใหม่จะเกิดขึ้นในภูมิภาค
หรือประเทศที่ไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาด ขณะที่องค์การอนามัยโลกบอกว่า
หากผลการตรวจหาเชื้อออกมาเป็นบวกมากกว่า 5% ของการตรวจถือว่าไม่สามารถ
ควบคุมการแพร่ระบาด แต่ในอินโดนีเซียมีผลการตรวจหาเชื้อเป็นบวกสูงกว่า 10%
มาตั้งแต่พบการระบาดเมื่อ 16 เดือนก่อน และตอนนี้มันสูงกว่า 30% จึงเป็นไปได้สูง
สำหรับอินโดนีเซียที่จะเกิดสายพันธุ์ใหม่ที่รุนแรงกว่า

อามิน โซแบนดริโอ ผู้อำนวยการสถาบันไอค์แมน ( Eijkman )ซึ่งเป็นองค์การของรัฐบาล
ที่ศึกษาโรคติดต่อเขตร้อนและโรคอุบัติใหม่เผยว่า อินโดนีเซียมีทั้งสายพันธุ์อัลฟา
ซึ่งพบครั้งแรกในอังกฤษ สายพันธุ์เบตาซึ่งพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ และสายพันธุ์เดลตา
ที่พบครั้งแรกในอินเดีย

ด้านซาฮิด จามีล นักไวรัสวิทยาชื่อดังของอินเดียและหัวหน้าทีมเฝ้าจับตาสายพันธุ์ Covid-19
กล่าวว่า สถานการณ์ของอินโดนีเซียคล้ายกับการระบาดระลอก 2 ของอินเดียมาก เนื่องจาก
มีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำ โดยชาวอินโดนีเซียฉีดวัคซีนครบโดสเพียง 8% เท่านั้น ส่วนตัวแทน
ของกลุ่มวิจัย Covid-19 ชั้นนำ 2 กลุ่มของสหรัฐกังวลว่าสถานการณ์ของอินโดนีเซียกำลังสุกงอม
สำหรับการอุบัติของเชื้อสายพันธุ์ใหม่

ด้าน อาลี โมกแดด ศาสตราจารย์จากสถาบันชี้วัดและประเมินผลด้านสุขภาพ (IHME) เผยว่า
ยิ่งมีการติดเชื้อในชุมชนยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะเกิดสายพันธุ์ใหม่ โรเบิร์ต บอลลินเจอร์
ศาสตราจารย์ด้านโรคติดเชื้อของวิทยาลัยการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์
เตือนว่า Covid-19 มีโอกาสกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ทุกครั้งที่ติดคนใหม่ ดังนั้นโอกาส
ที่จะเกิดสายพันธุ์ใหม่จึงสูงขึ้นในชุมชนหรือประเทศที่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่สูง รวมทั้งอินโดนีเซีย
พูดง่ายก็คือ เมื่อใดก็ตามที่คุณปล่อยให้ไวรัสแพร่กระจายไปทั่ว มันจะกลายพันธุ์
ไปเรื่อยๆ และโอกาสที่จะเกิดสายพันธุ์ใหม่ก็จะเพิ่มขึ้น

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สุดาวรรณ" อำลาตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม ก่อนรับตำแหน่ง รมว.อว. ด้าน ปลัดวธ. นำ ขรก. ขอบคุณนำทัพขับเคลื่อน Soft Power - เศรษฐกิจวัฒนธรรมเป็นรูปธรรม
"หมอพรทิพย์" จี้แทงใจดำ การเมืองไทยยึดผลประโยชน์ เหตุไร้ผู้นำที่ดีบริหารปท. สวนปาก #ingshin จะตำหนิใคร มองตัวเองก่อน
"วัดดังเพชรบูรณ์" จ้างแบคโฮรื้อ "โรงเจ" ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าขวาง เศษกระเบื้องหล่นใส่บาดเจ็บ ปมพิพาทยึดครองพื้นที่วัดนาน 10 ปี
"นกเพนกวิน 3 ตัว" มอบทุนการศึกษาผ่าน "มูลนิธิยังมีเรา-ท็อปนิวส์"
"กองทัพภาคที่ 2" แจงปมคลิปทหารเขมรโวยทหารไทย เป็นคลิปเก่า เหตุเรื่องเวลาเปิด-ปิด "ปราสาทตาเมือนธม" แต่ละฝ่ายไม่ตรงกัน
ต่างชาติจับตาไทยจะมีรัฐประหารอีกครั้งหรือไม่
"กรมวังผู้ใหญ่" ตรวจเยี่ยมโครงการกำลังใจ ณ เรือนจำจังหวัดนครศรีธรรมราช มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังทั้งด้านสุขภาพและอาชีพ
"มทภ.2" ชวนคนไทย เที่ยวปราสาทตาเมือนธม-ตาเมือนโต๊ด-ตาควาย ช็อปสินค้า กระตุ้นเศรษฐกิจชายแดนไทย
“อนุทิน” บอกไม่เกี่ยวแล้ว “ภูมิธรรม” สอบเขากระโดง ย้ำทำทุกอย่างทำตามขั้นตอน ตั้งแต่ก่อนนั่ง มท.1
โอละพ่อ ! ช่างก่อสร้าง อ้างถูกโกงค่าแรง ที่แท้เป็นแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น