“นักวิชาการ” ยันผนึก TRUE-DTAC ไม่ใช่ผูกขาด ห่วงผลเสียถ้ากสทช.ล่าช้า

รองคณบดีฝ่ายวิจัยฯ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.สวนสุนันทา โพสต์ 4 ข้อคิดปมควบรวมทรู-ดีแทค ยันไม่ใช่ “การผูกขาด” เพราะประชาชน มีทางเลือกหลายทาง

สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ ผศ. ดร.พรภวิษย์ บุญศรีเมือง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ม.ราชภัฎสวนสุนันทา หนึ่งในนักวิชาการที่เข้าร่วมให้ความเห็นกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เกี่ยวกับการรวมธุรกิจระหว่าง บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TRUE และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทีมข่าว TOPNEWS ถึงมุมมองความเห็นเรื่องการรวมธุรกิจของ 2 บริษัท ว่า ควรปล่อยให้การควบรวมเป็นไปตามกลไกตลาด เนื่องจากแนวคิดรวมธุรกิจที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากความต้องการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีปัจจุบันให้เป็นเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งจะต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ขณะที่ผลจากการควบรวมนั้น จะทำให้ภาคเอกชนความเข้มแข็งด้านเงินทุน รวมถึงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในระยะยาว และธุรกิจโทรคมนาคมของไทย

ล่าสุด ผศ. ดร.พรภวิษย์ โพสต์เฟซบุ๊กแสดง 4 ข้อคิดเห็นสนับสนุนการควบรวมกิจการทรูและดีแทค โดยระบุว่า

1 . ถ้า Dtac ไม่ลงทุนต่อ เศรษฐกิจของประเทศจะเกิดการสูญเสีย
– Dtac ไม่กล้าลงทุนเองเพราะต้นทุนสูงและมีความเสี่ยง การควบรวมคือทางออก
– ถ้า Dtac ควบรวม เท่ากับมีเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศซึ่งส่งผล ต่อ GDP

 

ข่าวที่น่าสนใจ

2 การทำธุรกิจมีได้มีเสียการถูกประวิงเวลาไปจะมีผู้ได้ประโยชน์
– ถ้าไม่ควบรวมจะทำให้เบอร์ 1 ได้ประโยชน์มากสุด เพราะเบอร์ 2 กับ เบอร์ 3 สู้ไม่ไหว เบอร์ 4 ลอยตัว (เพราะมีรัฐคอยอุ้ม)แพล็ตฟอร์มอื่นๆ (OTT) ก็ได้ประโยชน์และกำลังมาแชร์ตลาดทางอ้อม โดยไม่ต้องลงทุนเครือข่าย

3 กสทช. รอบคอบและเป็นธรรมได้ทั้งแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการมือถือ
– กสทช. ดำเนินการอย่างรอบคอบในการจ้างจุฬาฯและส่งให้กฤษฎีกาตีความ
– แต่ต้องดูแลให้เป็นธรรมกับทั้งฝั่งผู้บริโภคและ Operator เพราะ Operator ก็มีต้นทุนที่สูงจากการประมูลคลื่นความถี่ ต้องให้เขาอยู่ได้ด้วย

 

4 การควบรวมไม่ใช่การผูกขาด เพราะปชช. มีทางเลือกบริการหลายทาง
– การควบรวมไม่ใช่ปัญหา แต่ต้องกำกับเรื่องราคาที่เป็นธรรม (กสทช.มีกฎหมายคุมราคาอยู่แล้ว)
– ผู้บริโภคไม่ได้มีแค่การใช้บริการจากค่ายมือถือ แต่มีแพล็ตฟอร์มทางเลือกอื่นๆ ด้วย
– Operator ควรพัฒนาตัวเองเป็น Tech Company เพื่อดึงส่วนแบ่งตลาดและลูกค้ากลับมา
– ควบรวมแล้วจาก 4 เหลือ 3 ราย ที่มีขนาดไม่ได้ด้อยหรือน้อยไปกว่ากัน ทั้งทรัพยากรและคลื่นความถี่ที่ครอบครอง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ขนลุก! มูลนิธิร่วมกตัญญู จัดโต๊ะจีนเชิญดวงวิญญาณตึกสตง.ถล่ม "หนุ่มกู้ภัย" ร้องลั่น "หิว ช่วยด้วย"
"เอกสิทธิ์" เผยมาตรฐาน-คุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ ปัจจัยสำคัญสร้างเชื่อมั่นความปลอดภัย รองรับพิบัติภัยในอนาคต
"รมว.ท่องเที่ยว" ระดมภาครัฐ-เอกชน ถกปัญหาความปลอดภัย ฟื้นภาพลักษณ์เที่ยวไทย หลังเจอกระแสข่าวด้านลบ
นาทีชีวิต! ส่งเฮลิคอปเตอร์ EC-725 ช่วยผู้ป่วยวิกฤต ส่งถึงมือแพทย์ได้ทันเวลา
วธ. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระกุศล "เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ" วันคล้ายวันประสูติ
"สก.นภาพล" ซัดกระทู้ถาม "กทม." เมื่อไหร่จะจ่ายคืนหนี้ BTS ย้ำดอกเบี้ยเพิ่มวันละ 4.5 ล้าน แฉฟาดรายได้ค่าโดยสาร 3 เดือน กว่า 2 พันล้าน แต่ให้เอกชนแบกภาระวิ่งรถไฟฟ้า
จีนสั่งยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าบางประเภทจากสหรัฐ
"รองผอ." คดีฮั้วประมูล เผย "3 วิศวกร" รับลงชื่อตรวจงานสร้างตึกสตง.จริง เร่งสอบลายมืออีก 7 ราย ยังปฏิเสธ
"นายกฯ" รับมอบเงิน 5 ล้าน มูลนิธิเรนวูด ช่วยผู้ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว
"อดีตผู้พิพากษา" ชี้ตรง ป.ป.ช.-อสส.ไม่ทำหน้าที่โจทก์ เหตุศาลฎีกาฯ ต้องออกโรงไต่สวนเอง "ทักษิณ"ไม่ติดคุกจริงตามคำพิพากษา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น