วันที่5 ตุลาคม 2565 เวลา 14.00น. ที่ห้องประชุมศรีชลวิน โรงแรมอีสพาน่า ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ได้มี บริษัท บริษัท โดวะ เมทัลส์ แอนด์ ไมนิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียและชุมชนที่เกี่ยวข้อง
โดยบริษัท โดวะ เมทัลส์ แอนด์ ไมนิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัท เมื่อปี พ.ศ. 2555 ได้ก่อสร้างโรงงานในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง และทำการผลิตสังกะสีแท่ง สังกะสีผสม และลวดสังกะสี โดยมีกำลังการหลอมสังกะสี 48 ตัน/วัน ในปี พ.ศ. 2557 ต่อมา บริษัทฯ ได้ขยายกำลังการหลอมสังกะสีจาก 48 เป็น 69 ตัน/วัน จึงเข้าข่ายโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ ตามประกาศกระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พ.ศ. 2562) ที่ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง (รายงานอีเอชไอเอ) เสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และได้รับความเห็นชอบจาก สผ. เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เป็นครั้งแรก (อีเอชไอเอ 1/2561) ในครั้งนี้ บริษัทฯ ได้มีโครงการโรงงานผลิตสังกะสีแท่ง สังกะสีผสม และลวดสังกะสี (ส่วนขยาย) (ต่อไปจะเรียกว่า “โครงการฯ”) เพื่อเพิ่มกำลังการหลอมจาก 69 เป็น 90 ตัน/วัน จึงต้องทำรายงานอีเอชไอเอ ครั้งที่สอง (อีเอชไอเอ 2/2564) เสนอให้ สผ. พิจารณา และได้รับความเห็นชอบจาก สผ. เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ ทางโครงการฯ ได้ทำการทบทวนรายงานอีเอชไอเอ 2/2564 ที่ผ่านความเห็นชอบแล้ว และขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการฯ โดยจัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการฯ ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับสมบูรณ์) เสนอต่อหน่วยงานอนุญาต จำนวน 2 ครั้ง
ดังนี้
ครั้งที่ 1 เพื่อปรับปรุงให้อัตราการระบายมลสารทางอากาศอยู่ในเกณฑ์ของนิคมฯ ตามขนาดพื้นที่ของโครงการฯ โดยการติดตั้งระบบบำบัดมลพิษทางอากาศ แบบเปียก (Wet scrubber) เพิ่มเติม ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2564
ครั้งที่ 2 ปรับปรุงรูปแบบของกระบวนการผลิต และการเดินเครื่องจักรให้เป็นแบบต่อเนื่อง โดยกำลังการหลอมสังกะสีจะไม่เกิน 90 ตัน/วัน ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก กนอ. เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 ปัจจุบันโครงการฯ อยู่ในขั้นตอนการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียและชุมชนที่เกี่ยวข้อง ของ กนอ. ตามประกาศ กนอ.ที่ 115/2563 เรื่อง การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องต่อโครงการหรือกิจการที่อาจส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่ง
(2) การจัดการน้ำเสีย มีแหล่งกำเนิดน้ำเสียจากการดำเนินการในปัจจุบัน ได้แก่
1) น้ำเสียจากการอุปโภค-บริโภคของพนักงาน บำบัดขั้นต้นด้วยระบบบำบัดน้ำเสียสำเร็จรูป (Septic Tank) ร่วมกับน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากการล้างทำความสะอาดเครื่องกรองน้ำ (Sand Filter) ก่อนส่งไปยังระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางของนิคมฯ พร้อมติดตั้งเครื่องตรวจวัดน้ำแบบอัติโนมัติ (BOD online)
2) น้ำจากกระบวนการผลิต ได้แก่ น้ำเสียจากการล้างทำความสะอาดระบบผลิต ทำการรวบรวมส่งไปยังบ่อพักน้ำทิ้ง (Sump pit) ร่วมกับน้ำเสียจากอาคารสำนักงาน และส่งไปยังระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางของนิคมฯ พร้อมติดตั้งเครื่องตรวจวัดน้ำแบบอัตโนมัติ (BOD online) น้ำทิ้งจากกระบวนการหล่อเย็นผลิตภัณฑ์ หมุนเวียนกลับไปใช้ในกระบวนการผลิตของโครงการ ในกรณีที่ตรวจพบค่าการนำไฟฟ้าสูงกว่าค่าที่ควบคุม ไว้ที่ 900 ไมโครซีเมนต์/เซนติเมตร จะทำการเปิดวาล์วเพื่อส่งน้ำทิ้งไปยัง บ่อพักน้ำทิ้งฉุกเฉิน (Emergency Pond) ขนาด 200 ลูกบาศก์เมตร ก่อนส่งไปยังระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางของนิคมฯ ส่วน น้ำเสียจากการล้างระบบ Wet Scrubber ส่งให้หน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมนำไปกำจัดต่อไป
กรณีพบว่าคุณภาพน้ำทิ้งไม่ผ่านเกณฑ์ที่นิคมฯ กำหนด โครงการจะเก็บกักน้ำเสียดังกล่าวไว้ที่ Sump pit ขนาด 9 ลูกบาศก์เมตร ก่อนสูบส่งกำจัดโดยหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมต่อไป
(3) การจัดการกากของเสีย กากตะกรัน (Slag) จากการใช้งานเตาหลอม โดยตะกรันขนาดใหญ่จะรวบรวมใส่ถัง 200 ลิตร บริเวณพื้นที่เตาหลอมนำมาร่อนแยกขนาดโดยเครื่องเขย่า ก่อนนำกลับไปเป็นวัตถุดิบในเตาหลอมของโครงการฯ ส่วนตะกรันขนาดเล็กและฝุ่นสังกะสีออกไซด์จากระบบบำบัดมลพิษทางอากาศทำการจัดเก็บของเสียในส่วนของขยะอันตรายขนส่งไปยังบริษัท โดวะ เมทัลส์ แอนด์ ไมนิ่ง (ประเทศญี่ปุ่น) เพื่อแปรรูปเป็นสังกะสีแคโทด ส่วนนำมันหล่อลื่นที่ไม่ใช้แล้ว ทำการจัดเก็บกากของเสีย (ส่วนขยะอันตราย) และอาคารเก็บกากของเสียภายนอกอาคารการผลิตส่งให้หน่วยงานรับกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมรับไปกำจัด
สำหรับลวดสังกะสี รวบรวมเก็บไว้ในถังขนาด 400 กิโลกรัม บริเวณพื้นที่จัดเก็บของกระบวนการผลิต (Zinc wire) และนำกลับไปเป็นวัตถุดิบในเตาหลอม เบ้าเซรามิกส์ของเตาผสม จะส่งจำหน่ายเพื่อเป็นวัตถุดิบตั้งต้นให้แก่บริษัทรับซื้อภายนอกที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม เศษไม้ เศษเหล็ก กระดาษ และภาชนะบรรจุวัตถุดิบผลิตภัณฑ์และสารเคมี ทำการจัดเก็บกากของเสีย (ส่วนขยะอันตราย) และอาคารเก็บกากของเสียภายนอกอาคารการผลิต ส่วนที่สามารถหมุนเวียนนำกลับมาใช้ใหม่ได้จะคัดแยกเพื่อขายให้ผู้รับซื้อภายนอก ส่วนขยะมูลฝอยที่สามารถนำกลับไปใช้ใหม่ได้ เช่น เศษกระดาษสำนักงาน เศษแก้ว เศษพลาสติก ขวดน้ำดื่ม กระป๋องน้ำอัดลม กล่องกระดาษ เป็นต้น รวบรวมส่งให้บริษัท อมตะฟาซลิตี้ เซอร์วิส จำกัด นำไปบริหารจัดการต่อไป ในส่วนกากของเสียทั่วไปของพนักงานที่จัดเป็นขยะอันตราย รวบรวมส่งให้บริษัท อีสเทิร์นซีบอร์ด เอนไวรอลเมนทอล คอมเพล็กซ์ จำกัด นำไปกำจัดต่อไป การประชาคมครั้งนี้ได้มีประชาชนกว่า350ราย ได้เข้ามาร่วมรับฟังและเสนอแนะในด้านต่างๆเพื่อให้ประชาชนที่พักอาศัยได้เกิดความเข้าใจในการดำเนินการดังกล่าว โดยมีการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายแพทย์กิจจา เรืองไทย ประธานกรรมการรับฟังคามคิดเห็น และวิทยากรต่างๆร่วมรับฟังและเสนอแนะในที่ประชุมในครั้งนี้
ชำนาญ ใจเอื้อ ผู้สื่อข่าวTOPNEWS ประจำ จ.ชลบุรี